แบ่งปัน:
การแจ้งเตือน
ลบทั้งหมด

การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์

1 โพสต์
1 ผู้ใช้
0 Likes
402 เข้าชม
เผยแพร่ผลงานทางวิชาการครู
โพสต์: 13
ตั้งหัวข้อเมื่อ
(@pordeecome)
สมาชิก
เข้าร่วม: 4 ปี ที่ผ่านมา

ชื่อเรื่อง        การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5

ผู้วิจัย           นางสาวอรวิมล  จันทร์พวง

ปีที่ศึกษา       2564

บทคัดย่อ

 

            การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อสำรวจปัญหา และความต้องการในการจัดการเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 และ 4) เพื่อประเมินความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/1  โรงเรียนเทศบาลขามใหญ่บ้านหนองไผ่ สังกัดกองการศึกษา เทศบาลตำบลขามใหญ่ อำเภอเมืองอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 1 ห้องเรียน จำนวน 23 คน ซึ่งได้มาด้วยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยของการสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้ง ได้แก่ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ และแบบทดสอบ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา วิเคราะห์เนื้อหา ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าทีในการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และทักษะการคิดวิเคราะห์

ผลการวิจัย พบว่า

  1. ผลการสำรวจปัญหาและความต้องการในการจัดการเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 พบว่า เนื้อหาบางเรื่องล้าสมัย ไม่ทันยุคทันเหตุการณ์ ทำให้นักเรียนขาดความสนใจ ขาดการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง ขาดกระบวนการคิดขั้นสูง ขาดการส่งเสริมทักษะด้านการคิดวิเคราะห์ ขาดกลวิธีการจัดการเรียนรู้ที่หลากหลายเพื่อกระตุ้นความสนใจของนักเรียน จึงต้องการให้การส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ ในเรื่องการอ่านจับใจความจากสื่อต่าง ๆ นำเสนอเนื้อหาที่ทันสมัยและทันเหตุการณ์เพื่อกระตุ้นความสนใจ  จัดกระบวนการเรียนรู้ที่ทำให้สามารถแสวงหาความรู้ด้วยตนเองและส่งเสริมกระบวนการคิดขั้นสูง             
  2. ผลการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมทักษะ การคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มี 4 องค์ประกอบ คือ ที่มาของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ จุดประสงค์ของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ กระบวนการของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ และการประเมินรูปแบบการจัดการเรียนรู้ โดยมีขั้นตอนการเรียนรู้แบบ 2P3S  5 ขั้นตอน คือ เตรียมความรู้ นำเสนอความรู้ แสวงหาความรู้ ฝึกทักษะ และสรุปความรู้และนำความรู้ไปใช้
  3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ปรากฏดังนี้

        3.1 การจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5               มีประสิทธิภาพเท่ากับ 84.62/84.20 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ 80/80

        3.2 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนระหว่างก่อนและหลังเรียน ตามรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

        3.3 ผลการทดสอบวัดทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนระหว่างก่อนและหลังเรียนตามรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระ        การเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

  1. ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยรวม มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก (x-bar = 4.43, S.D. = 0.57)
แบ่งปัน: