แบ่งปัน:
การแจ้งเตือน
ลบทั้งหมด

รายงานการประเมินโครงการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม ของนักเรียนโรงเรียนสตรีวัดมหาพฤฒาราม ในพระบรมราชินูปถัมภ์ โดย ผ.อ.อาลัย พรหมชนะ

1 โพสต์
1 ผู้ใช้
0 Likes
508 เข้าชม
เผยแพร่ผลงานทางวิชาการครู
โพสต์: 3
ตั้งหัวข้อเมื่อ
(@education)
สมาชิก
เข้าร่วม: 3 ปี ที่ผ่านมา

การประเมินโครงการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียนโรงเรียนสตรีวัดมหาพฤฒาราม  ในพระบรมราชินูปถัมภ์  ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อประเมินผลการดำเนินโครงการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียน โรงเรียนสตรีวัดมหาพฤฒารามในพระบรมราชินูปถัมภ์  ในด้านสภาพแวดล้อม  ด้านปัจจัย  ด้านกระบวนการ  และด้านผลผลิต  2) เพื่อประเมินความพึงพอใจของบุคลากรและผู้ที่เกี่ยวข้องกับโครงการที่มีผลต่อการดำเนินการตามโครงการ3) เพื่อประเมินผลเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของนักเรียนก่อนและหลังการดำเนินงานโครงการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียน โรงเรียนสตรีวัดมหาพฤฒาราม  ในพระบรมราชินูปถัมภ์

      กลุ่มเป้าหมาย ที่ใช้ในการประเมินทั้งสิ้น จำนวน 453 คน ประกอบด้วย 1) ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 2 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive Sampling) 2) ครูผู้สอน จำนวน 124 คน 3) นักเรียนและผู้ปกครองนักเรียน ตั้งแต่ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสตรีวัดมหาพฤฒาราม ในพระบรมราชินูปถัมภ์ ปีการศึกษา 2561 จำนวน 305 คน

               เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินโครงการ โดยใช้รูปแบบการประเมินโครงการ   แบบ CIPP  Model โดยแบบประเมิน มี 4 ด้านได้แก่ ด้านสภาพแวดล้อม ด้านปัจจัย ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต เครื่องมือในการเก็บรวมรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม มีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 5 ฉบับ คือ ฉบับที่ 1 แบบสอบถามความสอดคล้องของวัตถุประสงค์โครงการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียน กับนโยบายของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษา ขั้นพื้นฐาน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1 และของโรงเรียน ฉบับที่ 2 แบบสอบถามเกี่ยวกับความเหมาะสมหรือความเพียงพอของปัจจัยในการดำเนินงานตามโครงการ ฉบับที่ 3 แบบสอบถามกระบวนการดำเนินงานตามโครงการเกี่ยวกับการปฏิบัติงานตามขั้นตอน   การดำเนินงานตามโครงการ ฉบับที่ 4 แบบสอบถามผลการดำเนินงานตามโครงการ และฉบับที่ 5 แบบสอบถามความพึงพอใจของบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับโครงการ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่  ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบการประเมินโครงการด้านผลผลิต ระหว่างก่อนและหลังดำเนินโครงการโดยใช้ t –  test  แบบ Dependent Sample test นำเสนอข้อมูลโดยใช้ตารางประกอบการอธิบายและพรรณนาวิเคราะห์

               ผลการประเมินโครงการปรากฏ ดังนี้

                   1 ผลการประเมินด้านสภาพแวดล้อม  ด้านปัจจัย  ด้านกระบวนการ  และด้านผลผลิตของโครงการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียน โรงเรียนสตรีวัดมหาพฤฒาราม ในพระบรมราชินูปถัมภ์ ตามความคิดเห็นของคณะกรรมการบริหารโครงการ พบว่า ในภาพรวม มีความสอดคล้องอยู่ในระดับมากที่สุด

                   2 ผลการประเมินความพึงพอใจของบุคลากรและผู้ที่เกี่ยวข้องกับโครงการที่มีผลต่อการดำเนินการโครงการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียน โรงเรียนสตรีวัดมหาพฤฒาราม ในพระบรมราชินูปถัมภ์  ตามความคิดเห็นของ ครู นักเรียน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครองนักเรียน พบว่า ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

                   3 การเปรียบเทียบผลการประเมินโครงการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียน  โรงเรียนสตรีวัดมหาพฤฒาราม ในพระบรมราชินูปถัมภ์    ระหว่างก่อนและหลังการดำเนินโครงการด้านผลผลิต พบว่า มีผลการประเมินโครงการหลังดำเนินการ สูงกว่าก่อนดำเนินการ  อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 05

               ข้อเสนอแนะ 1) โครงการนี้เป็นโครงการที่มีประสิทธิภาพควรได้รับการสนับสนุน  อย่างต่อเนื่อง เพราะเป็นโครงการที่สามารถส่งเสริมงานด้านการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม    ของนักเรียนในโรงเรียนได้อย่างแท้จริง 2) ผู้บริหารโรงเรียนควรมีการจัดโอกาส ให้มีการประชุม  เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ในการดำเนินงานของโรงเรียน ที่เข้าร่วมโครงการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียน เพื่อพัฒนาโรงเรียนให้มีความยั่งยืนต่อไป 3) ควรประสานงานและร่วมกับคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของโรงเรียน และองค์กรบริหารส่วนท้องถิ่น เพื่อจัดหา  และสนับสนุนงบประมาณ ให้เหมาะสมและเพียงพอต่อการดำเนินโครงการ 4) จัดทำนโยบายและแผนกลยุทธ์เป็นนโยบายระดับชาติ โดยใช้          กลยุทธ์ของการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียน เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกำหนดแผนทั้งในระยะสั้นและระยะยาวให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และ 5) นำนโยบายมากำหนดกรอบในการปฏิบัติงานระดับจังหวัด อำเภอ และท้องถิ่น โดยให้บุคลากรที่เกี่ยวข้องทุกระดับร่วมกันสร้างความเข้าใจ กำหนดนโยบาย   ให้สอดคล้องกับท้องถิ่น จึงจะนำไปสู่ความสำเร็จ และเกิดผลในระยะยาว ผู้รับผิดชอบทุกระดับสามารถนำปัญหาและอุปสรรคที่ได้จากการวิจัย เพื่อปรับแผนงานหรือกลยุทธ์สู่ความสำเร็จในระยะยาว

 

แบ่งปัน: