แบ่งปัน:
การแจ้งเตือน
ลบทั้งหมด

รายงานผลการประเมินโครงการการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โรงเรียนบ้านน้ำไคร้ โดยใช้กิจกรรมเล่นปนเรียน (Play & Learn) ตามรูปแบบ PLEARN Model

1 โพสต์
1 ผู้ใช้
0 Likes
712 เข้าชม
เผยแพร่ผลงานทางวิชาการครู
โพสต์: 1
ตั้งหัวข้อเมื่อ
(@teera)
สมาชิก
เข้าร่วม: 3 ปี ที่ผ่านมา

บทคัดย่อ

ชื่องานวิจัย : การประเมินโครงการการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โรงเรียนบ้านน้ำไคร้ โดยใช้กิจกรรมเล่นปนเรียน (Play & Learn) ตามรูปแบบ PLEARN Model

ชื่อผู้วิจัย : ธีระ เธียรกิตติกร

ปีการศึกษา : 2562

การประเมินโครงการครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินโครงการการยกระดับ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โรงเรียนบ้านน้ำไคร้โดยใช้กิจกรรมเล่นปนเรียน (Play & Learn) ตาม รูปแบบ PLEARN Model ในด้านบริบท ด้านปัจจัยน้าเข้า ด้านกระบวนการ ด้านผลผลิต ด้าน ผลกระทบ ด้านประสิทธิผล ด้านความยั่งยืน และด้านการถ่ายทอดส่งต่อ และประเมินความพึงพอใจ ต่อการดำเนินโครงการ ตามขั้นตอนการดำเนินงาน 6 ขั้นตอน คือการศึกษาสภาพปัญหาของนักเรียน (Problem : P) การเลือกวิธีแก้ปัญหาที่เหมาะสม เป็นไปได้(Likely : L) การจัดเตรียมองค์ประกอบ ในการจัดกิจกรรม (Element : E) การจัดกิจกรรมการเล่นและการเรียนรู้(Activity : A) การสรุป รายงานผลการเล่นและการเรียนรู้(Report : R) และ การอภิปรายผลการจัดกิจกรรมการเล่นและการ เรียนรู้ (Narrative : N) ตามรูปแบบการประเมิน CIPPIEST Model ของ Daniel L.Stufflebeam ประชากรคือ กรรมการสถานศึกษา ผู้ปกครอง ครูและนักเรียน โรงเรียนบ้านน้ำไคร้ปีการศึกษา 2562 จำนวน 106 คน กลุ่มตัวอย่างทุกกลุ่ม ใช้วิธีการคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive Selection) ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งหมด จ้านวน 90 คน ประกอบด้วย กรรมการสถานศึกษา 7 คน ผู้ปกครอง 41 คน ครู 4 คน และนักเรียน 38 คน โดยใช้เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม แบบ มาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ (Rating Scale) ของลิเคอร์ท (Likert) การวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีการ หาค่าร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ยเลขคณิต (x) และค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)

ผลการประเมินพบว่า การดำเนินโครงการการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โรงเรียนบ้าน น้ำไคร้ในปีการศึกษา 2562 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ซึ่งผลการพิจารณาเป็นรายด้าน ดังนี้

  1. ด้านสภาพบริบท (Context) พบว่า มีความสอดคล้องของวัตถุประสงค์ของโครงการกับ พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 นโยบายของหน่วยงานต้นสังกัดที่เกี่ยวข้อง และ วิสัยทัศน์ของโรงเรียน และสอดคล้องกับสภาพความต้องการของผู้ปกครองและชุมชน มีความจำเป็น ต่อการแก้ปัญหาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนและการพัฒนาคุณภาพนักเรียน มีความเป็นไปได้ ที่จะดำเนินงานให้บรรลุตามเป้าหมาย มีความเหมาะสมของแผนการดำเนินงานและกิจกรรม และมี ความเหมาะสมกับสภาพสังคมและสถานการณ์ปัจจุบัน
  2. ด้านปัจจัยนำเข้า (Input) พบว่า ปัจจัยการดำเนินโครงการตามหลักการใช้ทรัพยากรใน การบริหาร (4 M’s) ด้านบุคลากร (Man) มีความพร้อมอยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนด้านการบริหาร จัดการ (Management) ด้านงบประมาณ (Money) และด้านวัสดุอุปกรณ์ อาคารสถานที่ (Material) มีความพร้อมอยู่ในระดับมาก
  3. ด้านกระบวนการ (Process) พบว่า กระบวนการดำเนินโครงการตามหลักการบริหาร เชิงระบบ (PDCA) ในภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยขั้นตอนการเตรียมการ (Plan : P) ขั้นตอนดำเนินงาน (Do : D) และ ขั้นการติดตามประเมินผล (Check : C) อยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนขั้นการสรุปและนำไปใช้ (Act : A) อยู่ในระดับมาก
  4. ด้านผลผลิต (Product) พบว่าผลการจัดกิจกรรมเล่นปนเรียน (Play & Learn) ตาม รูปแบบ PLEARN Model ทั้ง 6 กิจกรรม ในภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยที่ การศึกษาสภาพปัญหาของนักเรียน (Problem : P) การเลือกวิธีแก้ปัญหาที่เหมาะสม เป็นไปได้ (Likely : L) การจัดเตรียมองค์ประกอบในการจัดกิจกรรม (Element : E) การจัดกิจกรรมการเล่น และการเรียนรู้(Activity : A) มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนการสรุปรายงานผลการเล่น และการเรียนรู้(Report : R) และ การอภิปรายผลการจัดกิจกรรมการเล่นและการเรียนรู้ (Narrative : N) มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก
  5. ด้านผลกระทบ (Impact) พบว่ามีผลกระทบเชิงบวกต่อนักเรียน ในประเด็นนักเรียน ขยัน มุ่งมั่น ตั้งใจเรียนมากขึ้น นักเรียนมีความสุขกับการเรียนรู้ และนักเรียนมีความสัมพันธ์ภาพที่ดี กับผู้อื่น อยู่ในระดับมากที่สุด มีผลกระทบเชิงบวกต่อโรงเรียน ในประเด็นโรงเรียนได้รับรางวัลจาก หน่วยงานต่างๆ และโรงเรียนได้รับความไว้วางใจ เชื่อมั่น ศรัทธา จากหน่วยงานอื่นๆ และชุมชน อยู่ในระดับมากที่สุด มีผลกระทบเชิงบวกต่อครู ในประเด็นครูผู้สอนมีความสัมพันธ์ที่ดีกับนักเรียน และ ครูผู้สอนได้รับการยอมรับนับถือจากนักเรียนและผู้ปกครอง อยู่ในระดับมาก มีผลกระทบเชิงบวกต่อผู้ปกครอง ในประเด็นผู้ปกครองมีความสบายใจ ไม่กังวลเรื่องการเรียนของนักเรียนอยู่ในระดับมาก
  6. ด้านประสิทธิผล (Effectiveness) พบว่าประสิทธิผลของการจัดกิจกรรมเล่นปนเรียน (Play & Learn) ตามรูปแบบ PLEARN Model ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยที่ประสิทธิผล ด้านนักเรียนได้รับความรู้และทักษะจากกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้บทบาทสมมุติ นักเรียนได้รับความรู้ และทักษะจากกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้สถานการณ์จำลอง อยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนประเด็นนักเรียน ได้รับความรู้และทักษะจากกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้เกม และนักเรียนได้รับความรู้และทักษะจากกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้คำคล้องจอง อยู่ในระดับมาก
  7. ด้านความยั่งยืน (Sustainability) พบว่า มีความยั่งยืนอยู่ในระดับมากที่สุด โดยเฉพาะ การดำเนินโครงการยกระดับผลสัมฤทธิ์มีขั้นตอนปฏิบัติอย่างเป็นระบบ และการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ แบบเล่นปนเรียนของครูผู้สอนทุกวิชาเป็นประจำวันทุกวัน อยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนการจัดกิจกรรมต่างๆได้ดำเนินการอย่างต่อเนื่องทุกปี โรงเรียนมีนโยบายสนับสนุนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบเล่นปนเรียนทุกปีและโรงเรียนจัดสรรงบประมาณในการจัดกิจกรรมอย่างเพียงพอทุกปีอยู่ในระดับมาก
  8. ด้านการถ่ายทอดส่งต่อ (Transportability) พบว่า มีการถ่ายทอดส่งต่ออยู่ในระดับมาก โดยที่โรงเรียนนำเสนอ เผยแพร่ผลการดำเนินโครงการการยกระดับผลสัมฤทธิ์นักเรียน และโรงเรียนมี การสร้างเครือข่ายกับโรงเรียนอื่นๆในการยกระดับผลสัมฤทธิ์นักเรียน อยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนประเด็นโรงเรียน มีการสร้างเครือข่ายกับหน่วยงานอื่นๆในการยกระดับผลสัมฤทธิ์นักเรียน มีสถานศึกษาหรือหน่วยงานอื่นมาศึกษาดูงานด้านการยกระดับผลสัมฤทธิ์นักเรียนที่โรงเรียนเป็นประจำ และโรงเรียนขยายผลโครงการการยกระดับผลสัมฤทธิ์นักเรียนไปยังสถานศึกษาอื่นๆ อยู่ในระดับมาก สำหรับความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมเล่นปนเรียน (Play & Learn) ตาม รูปแบบ PLEARN Model ทั้ง 6 กิจกรรม มีความพึงพอใจเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด
แบ่งปัน: