ข่าวการศึกษา

ผลประชุมองค์กรหลัก 17/2560

ดร.กมล รอดคล้าย เลขาธิการสภาการศึกษา ในฐานะโฆษกกระทรวงศึกษาธิการ เปิดเผยผลการประชุมองค์กรหลัก ครั้งที่ 17/2560 เมื่อวันอังคารที่ 2 พฤษภาคม 2560 ณ ห้องประชุมสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา โดย นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานการประชุม รวมทั้ง พล.อ.สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ และ ม.ล.ปนัดดา ดิศกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เข้าร่วมประชุม

ดร.กมล รอดคล้าย เลขาธิการสภาการศึกษา ในฐานะโฆษกกระทรวงศึกษาธิการ เปิดเผยผลการประชุมองค์กรหลัก ครั้งที่ 17/2560 เมื่อวันอังคารที่ 2 พฤษภาคม 2560 ณ ห้องประชุมสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา โดย นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานการประชุม รวมทั้ง พล.อ.สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ และ ม.ล.ปนัดดา ดิศกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เข้าร่วมประชุม

ติดตามข่าวอื่น ๆ ได้ที่เพจ : https://www.facebook.com/rukkroo

แนวทางการผลิตครู ให้มีมาตรฐานเดียวกันทั้งประเทศ

นายกรัฐมนตรีได้มีดำริถึงการผลิตครูว่า จากการไปดูงานที่สิงคโปร์เห็นว่ามีหน่วยงานที่ดูแลการผลิตครูเพียงแห่งเดียว ในขณะที่ไทยมีสถาบันอุดมศึกษาหลากหลายแห่ง แต่การที่มีหลากหลายแห่งก็ควรจะมีเพียงมาตรฐานเดียวในการผลิต ที่ประชุมองค์กรหลักจึงมอบคุรุสภาไปพิจารณา ซึ่งคุรุสภาก็ได้แจ้งที่ประชุมในเบื้องต้นว่าได้เตรียมพัฒนาไว้แล้ว หลังจากที่ได้มีการประชุมเพื่อพัฒนากรอบมาตรฐานสมรรถนะครูในอาเซียน (High Officials Meeting on the Development of Regional Competency Framework for Teachers in Southeast Asia) เมื่อวันจันทร์ที่ 24 เมษายนที่ผ่านมา ที่โรงแรมเดอะ สุโกศล

ดังนั้น คุรุสภาจะเป็นหน่วยงานหลักในการกำหนดกรอบการผลิตครูให้แล้วเสร็จ เพื่อให้สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) แจ้งสถาบันอุดมศึกษาทุกแห่งที่ผลิตครูได้ดำเนินการตามกรอบที่คุรุสภากำหนด อาจเป็น 4 หรือ 5 ปี แต่จะต้องเป็นมาตรฐานเดียวกันทั้งประเทศต่อไป

แนวทางการส่งเสริมให้เด็กมีเส้นทางสายอาชีพตั้งแต่ต้น

นายกรัฐมนตรีได้ปรารภเพิ่มเติมด้วยว่า สิงคโปร์มีเส้นทางการเรียน (Education Path) สำหรับนักเรียนได้เลือกเรียนตามความถนัดตั้งแต่ต้นอย่างชัดเจนทั้งสายสามัญและสายอาชีพ ที่ประชุมจึงมอบให้ สพฐ. พิจารณากระบวนการให้เด็กทุกคนรู้เกี่ยวกับ Education Path ใน 4 ขั้นตอนที่สำคัญ คือ

  • ให้มีการจัดระบบการแนะแนวที่เหมาะสม

  • ให้ สพฐ.จัดทำหลักสูตรเสริมให้เด็กมีประสบการณ์ทำงาน (Work Experience) โดยเริ่มจากนักเรียนชั้น ม.3 ทุกคน ต้องไปเรียนรู้หรือฝึกงานหรือค้นหาอาชีพในสถานที่เด็กสนใจ เพื่อให้เด็กทดลองด้วยตัวเองก่อนว่าชอบหรือไม่ชอบในเส้นทางอาชีพนั้น ก่อนที่จะตัดสินใจเลือกศึกษาต่อในสาขาวิชานั้น ๆ ต่อไปในอนาคต โดยคาดว่าจะเริ่มต้นได้ภายในภาคปลาย ปีการศึกษา 2560

  • ให้มีระบบเสริมอาชีพในโรงเรียน เช่น
    โครงการห้องเรียนกีฬา ซึ่ง พล.อ.สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ รมช.ศึกษาธิการ รับผิดชอบดำเนินการในขณะนี้ โดย รมว.ศึกษาธิการ ได้ขอให้ดำเนินการอย่างเต็มที่จากปัจจุบันซึ่งมี 4 แห่ง คือ ภาคเหนือ ที่โรงเรียนสุโขทัยวิทยาคม จ.สุโขทัย, ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่โรงเรียนสารคามพิทยาคม จ.มหาสารคาม, ภาคใต้ ที่โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย กระบี่ จ.กระบี่, ภาคกลาง ที่โรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ สมุทรสาคร ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี จ.สมุทรสาคร
    ซึ่งอาจขยายเพิ่มห้องเรียนกีฬามากกว่า 1 ห้องเรียนก็ได้ โดยคำนึงถึงคุณภาพเป็นสำคัญ
    โครงการห้องเรียนดนตรี ซึ่ง พล.อ.สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ รมช.ศึกษาธิการ รับผิดชอบโครงการห้องเรียนดนตรีในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยได้ทำการเปิดรับสมัครนักเรียนเข้าเรียนในระดับชั้น ม.1 และ ม.4ตั้งแต่ปีการศึกษา 2560 จำนวน 3 โรงเรียน ได้แก่ โรงเรียนเบญจมราชูทิศ จ.ปัตตานี, โรงเรียนสุไหงโกลก จ.นราธิวาส และโรงเรียนคณะราษฎรบำรุง จ.ยะลา

  • ให้โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาขั้นพื้นฐาน เป็นโรงเรียนที่สอนอาชีพให้มากขึ้น

 

ข่าวโดย
บัลลังก์ โรหิตเสถียร
สรุป/รายงาน/กราฟิก

3/5/2560

ที่มา : ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงศึกษาธิการ

เรื่องอื่นๆที่น่าสนใจ

Back to top button