สพฐ.ขับเคลื่อนโรงเรียนประชารัฐ ระยะที่ 2 ปีงบประมาณ 2560
ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี 385/2560
สพฐ.
บูรณาการ
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน วางแผนขับเคลื่อนโรงเรียนประชารัฐ ระยะที่ 2 ปีงบประมาณ 2560 จัดประชุมผู้รับผิดชอบในการพัฒนาระบบบริหารจัดการโครงการและพัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศ โดยบูรณาการโรงเรียนดีใกล้บ้าน-โรงเรียนแม่เหล็ก-โรงเรียนขนาดเล็ก เข้าร่วมโครงการในปีนี้พร้อมเปลี่ยนชื่อเป็น “โรงเรียนประชารัฐ” จำนวน 4,081 โรงเรียน อันจะส่งผลโรงเรียนประชารัฐเพิ่มขึ้นจากปัจจุบันเป็น 7,423 โรงเรียน
ติดตามข่าวอื่น ๆ ได้ที่เพจ : https://www.facebook.com/rukkroo
เมื่อวันศุกร์ที่ 21 กรกฎาคม 2560
•
ม.ล.ปริยดา ดิศกุล กล่าวว่า การประชุมสัมมนาดังกล่าวเพื่อวางแผนขับเคลื่อนการบริหารจัดการและการกำกับติดตามโครงการ ซึ่ง
ทั้งนี้ ที่ผ่านมามีปัญหาเรื่องระบบข้อมูลของกระทรวงศึกษาธิการเป็นอย่างมาก ทั้งข้อมูลไม่ตรงกัน ไม่เป็นปัจจุบัน การรับรายงานที่ล่าช้า จึงต้องการให้มีการพัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศของ สพฐ. เพราะ “ข้อมูล” ถือว่าเป็นแม่บทที่สำคัญก่อนที่จะวางแผนการทำงานในทุกด้านหรือการจัดสรรงบประมาณลงไป หากข้อมูลคลาดเคลื่อนย่อมส่งผลถึงประสิทธิภาพในการวางแผนและการขับเคลื่อนโครงการ
จึงฝากให้ศึกษานิเทศก์มีส่วนร่วมที่สำคัญในการดำเนินงานโครงการ เช่น ดูพิกัดพื้นที่และความเหมาะสมในการจัดตั้งโรงเรียนประชารัฐที่จะเป็นโรงเรียนแม่เหล็ก เพื่อให้บริการกับโรงเรียนอื่น ๆ ซึ่งโรงเรียนแม่เหล็กจะได้รับการจัดสรรทรัพยากรและงบประมาณลงไป รวมทั้งให้ Shopping List ที่โรงเรียนสามารถเลือกเพื่อนำไปพัฒนาได้เอง โดยไม่ได้เป็นการสั่งการจากส่วนกลางลงไป ส่วนผู้บริหารโรงเรียนในโรงเรียนขนาดเล็กที่มีนักเรียนต่ำกว่า 100 คน ก็ไม่ต้องกลัวที่จะควบรวมหรือไม่มีอัตรา เพราะสามารถเกลี่ยอัตราไปในโรงเรียนอื่น ๆ ได้อีกจำนวนมาก เนื่องจากแต่ละปีมีอัตราเกษียณอายุราชการผู้บริหารโรงเรียนกว่า 2,000 อัตรา ทั้งนี้ จากผลการควบรวมโรงเรียนขนาดเล็ก เช่น โรงเรียนที่มีนักเรียนเพียง 2 คน เมื่อควบรวมกับโรงเรียนอื่นแล้ว ทำให้เด็กมีเพื่อน มีอุปกรณ์การเรียนการสอน สื่อการเรียนการสอนที่ดี ๆ ซึ่งทำให้เด็กมีความสุขมากกว่าที่จะเรียนกันเองตามลำพังไม่กี่คน ผู้ปกครองและชุมชนก็มีความสุขที่ลูกหลานได้มีโอกาสได้เรียนในโรงเรียนที่ดีมีความพร้อม แม้ก่อนหน้านั้นจะวิตกก็ตาม
จึงฝากให้ที่ประชุมได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้และประสบการณ์ในการบริหารจัดการโรงเรียน การพัฒนาสื่อและนวัตกรรมที่เหมาะสมสำหรับห้องเรียนประชารัฐ ให้มีการพัฒนาระบบข้อมูลที่ครบถ้วน โปร่งใส ซึ่งเป็นเรื่องที่สำคัญมาก เพราะที่ผ่านมาเรามีเงินเยอะ แต่ใช้ผิดที่ จึงต้องบริหารจัดการงบประมาณให้มีประสิทธิภาพสูงที่สุด
ที่มา : ข่าวสำนักงานรัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการ