ข่าวการศึกษาข่าวสอบบรรจุครู

สพฐ. ลงพื้นที่ติดตามการสอบครูผู้ช่วยกรณีที่มีความจำเป็นหรือมีเหตุพิเศษ ครั้งที่ 2 ปี พ.ศ. 2560

วันที่ 16 ธันวาคม 2560 นายบุญรักษ์ ยอดเพชร เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาธิการ กพฐ.) พร้อมด้วย นายณรงค์ แผ้วพลสง รองเลขาธิการ กพฐ. และผู้บริหารของ สพฐ. ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมสนามสอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครูผู้ช่วย กรณีที่มีความจำเป็นหรือมีเหตุพิเศษ ครั้งที่ 2 ปี พ.ศ. 2560 ณ โรงเรียนสันติราษฎร์วิทยาลัย เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร

 

ติดตามข่าวอื่น ๆ ได้ที่เพจ : https://www.facebook.com/rukkroo

เลขาธิการ กพฐ. กล่าวว่า การสอบแข่งขันฯ ในครั้งนี้
– จัดสอบระหว่างวันที่ 16-17 ธันวาคม 2560 โดยแบ่งเป็น 3 ภาค คือ วันเสาร์ที่ 16 ธันวาคม 2560 สอบภาค ก ความรอบรู้ และความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความประพฤติและการปฏิบัติของวิชาชีพครู ภาค ข ความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่ง
– และวันอาทิตย์ที่ 17 ธันวาคม 2560 สอบภาค ค ความเหมาะสมกับตำแหน่งและวิชาชีพ ซึ่งจะใช้วิธีประเมินโดยการสอบสัมภาษณ์ เพื่อคัดเลือกผู้ที่เหมาะสมกับตำแหน่งครูผู้ช่วยในวิชาเอกต่าง ๆ จากนั้นจะ
– ประกาศผลการคัดเลือกภายในวันศุกร์ที่ 22 ธันวาคม 2560 ต่อไป

สำหรับส่วนกลางในเขตกรุงเทพมหานคร มีสนามสอบ 2 โรงเรียน คือ โรงเรียนสันติราษฎร์วิทยาลัย และโรงเรียนพิบูลประชาสรรค์ โดยสนามสอบโรงเรียนสันติราษฎร์วิทยาลัย มีผู้สมัครสอบทั้งหมด 621 คน มีตำแหน่งว่าง 252 ตำแหน่ง จาก 31 วิชาเอก ขณะที่โรงเรียนพิบูลประชาสรรค์ จะเป็นการจัดสอบสำหรับส่วนการศึกษาพิเศษ มีผู้สมัครสอบจำนวน 522 คน มีตำแหน่งว่าง 199 ตำแหน่ง จาก 35 วิชาเอก

ขณะที่ภาพรวมทั้งประเทศ มีผู้สมัครสอบทั้งสิ้น 19,201 คน มีตำแหน่งว่าง 4,680 ตำแหน่ง จาก 56 วิชาเอก ซึ่งได้จัดสนามสอบแข่งขันในโรงเรียนสังกัด สพฐ. กระจายกันไปทั้ง 18 เขตตรวจราชการทั่วประเทศ โดยในการสอบแข่งขันฯครั้งนี้

วิชาเอกที่มีผู้สมัครมากที่สุด 5 อันดับ ได้แก่ 1. คอมพิวเตอร์ 2. สังคมศึกษา 3. วิทยาศาสตร์ 4. ปฐมวัย 5. ภาษาอังกฤษ

ขณะที่เขตที่มีผู้สมัครสอบมากที่สุด คือ เขต 14 ซึ่งมีสนามสอบในจังหวัดนครราชสีมา ชัยภูมิ บุรีรัมย์ และสุรินทร์ มีผู้สมัครสอบทั้งสิ้นจำนวน 2,949 คน

เลขาธิการ กพฐ. กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับมาตรการป้องกันการทุจริตการสอบ จะมีการกำหนดให้หน่วยรับสมัครกรอกเลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก ของผู้สมัครในโปรแกรมผู้สมัครสอบครูผู้ช่วยของ สพฐ. เพื่อตรวจสอบบุคคลที่สมัครสอบมากกว่า 1 แห่ง และแจ้งผู้ดำเนินการคัดเลือกให้เฝ้าระวังว่าบุคคลนั้นเข้าสอบข้อเขียนที่หน่วยสอบใดและมีการเข้าสอบซ้ำซ้อนหรือไม่ จากนั้นจะมีการติดตามการคัดเลือกระหว่างสอบ โดยแต่งตั้งผู้แทน สพฐ. จากส่วนกลางไปสังเกตสถานการณ์ต่างๆ ร่วมกับประธาน Cluster หากพบเหตุการณ์ที่อาจสุ่มเสี่ยง หรือส่อไปในทางไม่สุจริตให้รายงานเลขาธิการ กพฐ. ทันที

นอกจากนั้น เพื่อให้การเข้าสอบดำเนินไปอย่างโปร่งใสและตรวจสอบได้อย่างรัดกุมที่สุด ก่อนเข้าห้องสอบจึงได้ให้ผู้เข้าสอบถอดนาฬิกาข้อมือ เข็มขัด โทรศัพท์มือถือ ไอแพด และเครื่องมือสื่อสารทุกชนิด โดยอนุญาตให้ผู้เข้าสอบนำบัตรประจำตัวผู้สอบ ขึ้นตึกสอบเท่านั้น “สนามสอบทุกแห่งเข้มงวดเรื่องการทุจริตตั้งแต่ก่อนสอบ ระหว่างสอบและหลังสอบ โดยเฉพาะสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาที่จัดสนามสอบเอง อีกทั้งผู้สมัครสอบทุกคนต้องฝากอุปกรณ์ทุกอย่างไว้ที่เจ้าหน้าที่ เพื่อป้องกันการนำเอาอุปกรณ์สื่อสารต่างๆ เข้าไปภายในห้องสอบ เพื่อความยุติธรรม โปร่งใส ตรวจสอบได้ ซึ่งจะเป็นการสร้างความเชื่อถือแก่สังคมทั้งในส่วนของ สพฐ. / สพท. และทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง” เลขาธิการ กพฐ. กล่าว

สพฐ. ลงพื้นที่ติดตามการสอบครูผู้ช่วยกรณีที่มีความจำเป็นหรือมีเหตุพิเศษ ครั้งที่ 2 ปี พ.ศ. 2560 สพฐ. ลงพื้นที่ติดตามการสอบครูผู้ช่วยกรณีที่มีความจำเป็นหรือมีเหตุพิเศษ ครั้งที่ 2 ปี พ.ศ. 2560 สพฐ. ลงพื้นที่ติดตามการสอบครูผู้ช่วยกรณีที่มีความจำเป็นหรือมีเหตุพิเศษ ครั้งที่ 2 ปี พ.ศ. 2560

ที่มา : สพฐ.

เรื่องอื่นๆที่น่าสนใจ

Back to top button