ข่าวการศึกษา

สรุปการประชุมข้อมูลนักเรียนซ้ำซ้อน แก้ปัญหานักเรียนไม่มีตัวตนจริงในห้องเรียน

ดาวน์โหลดสรุป

ติดตามข่าวอื่น ๆ ได้ที่เพจ : https://www.facebook.com/rukkroo

ประชุมการรายงานข้อมูลนักเรียนรายบุคคลซ้ำซ้อน และแก้ปัญหานักเรียนไม่มีตัวตนจริงในห้องเรียนผ่านระบบวิดีโอคอนเฟอร์เรนท์

เริ่มประชุม 10.16 น. ณ ห้องปฏิบัติงานกลุ่มส่งเสริมการศึกษาทางไกล เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

1.ให้เขตพื้นที่เปรียบเทียบจำนวนนักเรียน 10 มิถุนายน กับ 10 พฤศจิกายน 2561

2.นักเรียนมีตัวตนจริงๆ เท่าไหร่ มีการย้ายออกนักเรียนเท่าไหร่

3.นับนักเรียนที่มีตัวตน ภายในวันที่ 3 ธันวาคม 2561

นิยามของนักเรียนไม่มีตัวตน

๑. มีชื่อในทะเบียนแต่ไม่มีตัวตน

๑.๑ มีชื่อแต่ไม่มาเรียน

๑.๒ ขาดเรียนอย่างต่อเนื่อง

๑.๓ สมรส

๑.๓.๑ สมรสแล้วไม่มาเรียนและประสงค์จะเรียน

๑.๓.๒ สมรสแล้วขอพักการเรียนชั่วคราว

๑.๔ ตาย

๑.๕ อพยพย้ายถิ่น ขาดการติดต่อ

๑.๖ เรียนที่อื่นแต่ไม่แจ้งย้าย

๑.๗ นักเรียน ม.๓ ไม่จบหลักสูตร ไม่แจ้งย้ายออก ไม่แก้ผลการเรียน (แขวนลอย)

๑.๘ นักเรียน ม.๖ ไม่จบหลักสูตร ไม่แจ้งย้ายออก ไม่แก้ผลการเรียน (แขวนลอย)

๑.๙ ขาดเรียนนานแต่สงวนสิทธิ์ไว้รับวุฒิการศึกษา

๑.๑๑ รับเด็กย้ายจากโรงเรียนอื่น โดยทะเบียนแต่ไม่มีตัวตนเข้าเรียน

๑.๑๒ แจ้งย้ายแล้วแต่โรงเรียนปลายทางไม่ตอบรับ

๑.๑๓ กรณีเด็กพิการเรียนร่วมมาเรียนบ้างไม่มาเรียนบ้างแต่ส่วนใหญ่ไม่มาเรียน

แขวนลอย  หมายถึง ไม่แก้ผลการเรียน จึงไม่จบการศึกษา และไม่จำหน่วยออก

๒. ซ้ำซ้อนกับหน่วยงานอื่น

๒.๑ นักเรียนอนุบาลซ้ำกับ สช. / อปท. เพราะนักเรียน อบ.๑ กับ สช / อปท. แล้วย้ายมาเรียน อบ.๒-๓ กับ สพฐ โดยไม่แจ้งย้ายหรือได้รับการจำหน่วยออกจากทะเบียนของโรงเรียนสังกัด สช / อปท.

๒.๒ มีชื่อในทะเบียนสังกัด สพฐ. ไปลงทะเบียนเรียนกับ กศน./เอกชน/อปท/อาชีวะ โดยไม่แจ้งย้ายออกจากโรงเรียนสังกัด สพฐ.

วิธีแก้ไขปัญหา

๑. ใช้ระเบียบการจำหน่ายนักเรียน

กรณีที่ ๑ นักเรียนย้ายสถานศึกษา (๑.๗ ๑.๑๒ ๒.๒ ๑.๑๓)

กรณีที่ ๒ นักเรียนถึงแก่กรรม ๑.๕

กรณีที่ ๓ หยุดเรียนติดต่อกันเป็นเวลานาน ไม่มีตัวตนของผู้ปกครองและนักเรียนไม่อยู่ในพื้นที่ และไม่แจ้งย้ายที่อยู่ ๑.๒/ ๑.๓ /๑.๖ /๑.๗ /๑.๑๐ /๑.๑๑ /๑.๑๓

กรณีที่ ๔ นักเรียนอายุพ้นเกณฑ์การศึกษาภาคบังคับ ผู้ปกครองไม่ประสงค์จะให้เรียนต่อ ให้จำหน่ายนักเรียนออกจากทะเบียน ๑.๓ /๑.๘ /๑.๑๓

กรณีที่ ๕ นักเรียนจบการศึกษา จบ ป.๖ ม.๓

๕.๑ จบ ป.๖ โรงเรียนที่ไม่มี ม.๑ ให้จำหน่วยออกจากทะเบียน

๕.๒ จบการศึกษาได้รับอนุมัติผลการตัดสินผลการเรียนที่เรียนจบ ม.๓

กรณีที่ ๖ (เพิ่มเติม) นักเรียน ม.๖

๖.๑ จบการศึกษาได้รับอนุมัติผลการตัดสินผลการเรียนที่เรียนจบ ม.๖

๖.๒ ไม่จบการศึกษาและไม่แก้ผลการเรียน “๐”  “ร”  “มส” ภายในปีการศึกษานั้น ๆ หรือก่อนวันที่ ๑๐ มิถุนายนของปีถัดไป (จะได้จำหน่ายนักเรียนออก /ให้จำหน่ายออกจากทะเบียน (๑.๙)

หมายเหตุ   นักเรียนที่ถูกจำหน่ายด้วยกรณี ๖.๒  สามารถที่จะให้สมัครเข้าเรียนต่อได้

มาตรการในการแก้ปัญหา

๑. ให้โรงเรียนดำเนินการจำหน่ายนักเรียนตามแนวทางที่กำหนด วันที่ ๑๕-๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๖๑

๒. ให้ตั้งคณะกรรมการตรวจนับจำนวนนักเรียนระดับโรงเรียน ประกอบด้วย

๒.๑ ผู้แทนผู้ปกครอง

๒.๒ ผู้แทนกรรมการสถานศึกษา

๒.๓ ผู้แทนเขตพื้นที่การศึกษาที่ได้รับมอบหมาย

๒.๔ ผู้อำนวยการโรงเรียน ในวันที่ ๓ ธันวาคม ๒๕๖๑ โดยพร้อมเพรียงกัน

๓. ให้กรอกข้อมูลนักเรียนในระบบ DMC   เพื่อยืนยันข้อมูลภายในวันที่ ๑๐ ธันวาคม ๒๕๖๑

๔. ให้โรงเรียนรายงานจำนวนนักเรียนที่ตรงกับข้อมูล DMC วันที่ ๑๐ ธันวาคม ๒๕๖๑ โดยจำแนกจำนวนนักเรียนที่มีความจำเป็นขอรับการจัดสรรงบประมาณ และจำนวนนักเรียนที่ไม่ประสงค์ขอรับการจัดสรรงบประมาณ เนื่องจากไม่มีตัวตนและยังไม่สามารถจำหน่ายออกจากทะเบียนได้

๕. ให้เขตพื้นที่การศึกษาตั้งคณะกรรมการกลั่นกรองจำนวนนักเรียนและรับรองยืนยันความถูกต้องเพื่อใช้รับการจัดสรรงบประมาณสำหรับภาคเรียนที่ ๒/๒๕๖๑   ภายในวันที่ ๑๔ ธันวาคม ๒๕๖๑

๖. สำนักนโยบายและแผนการศึกษาขั้นพื้นฐาน จัดสรรเงินงบประมาณให้กับโรงเรียนตามข้อมูลที่ได้รับรายงานในข้อ ๔ และได้รับการรับรองตามข้อ ๕ ในกรณีที่มีนักเรียนเพิ่ม/ลด จากข้อมูล ณ วันที่ ๑๐ มิถุนายน ๒๕๖๑ จะหักลบหรือเพิ่ม/ลด ตามข้อมูลนักเรียนจริง

แนวปฏิบัติเกี่ยวกับการจำหน่ายนักเรียน

เรื่องอื่นๆที่น่าสนใจ

Back to top button