ข่าวการศึกษา

หลักเกณฑ์และวิธีการสอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครูผู้ช่วย ที่กำหนดขึ้นใหม่

* หมายเหตุ ข้อความทั้งหมด อ่านเทียบจากรูป บางข้อความอาจจะมีตกหล่น รักครู.com แปลงภาพเป็นข้อความมาอีกทีหนึ่ง

หลักเกณฑ์และวิธีการสอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครูผู้ช่วย ที่กำหนดขึ้นใหม่

ติดตามข่าวอื่น ๆ ได้ที่เพจ : https://www.facebook.com/rukkroo

สวัสดีข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา และผู้อ่านทุกท่าน วันนี้สํานักงาน ก.ค.ศ. มีประเด็นที่น่าสนใจเกี่ยวกับ หลักเกณฑ์และวิธีการสอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตําแหน่งครูผู้ช่วย ที่กําหนดขึ้นใหม่ มานําเสนอ

ภายหลังจากการประชุมคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) ครั้งที่ 3/2563 เมื่อวันพุธที่ 8 เมษายน 2563 ที่ผ่านมา ก็มีประเด็นสําคัญที่ผู้ติดตามข่าวสารหลายท่านกังวลใจและตั้งข้อสังเกตในเรื่องของ หลักเกณฑ์และวิธีการสอบแข่งขัน เพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตําแหน่งครูผู้ช่วย ที่กําหนดขึ้นใหม่ ว่าจะมีขั้นตอน หรือวิธีการสอบแข่งขันฯ ในรูปแบบใด

ก่อนอื่นต้องอธิบายถึงแนวคิดและที่มาที่ไปในการกําหนดหลักเกณฑ์และวิธีการสอบแข่งขันฯ ตําแหน่งครูผู้ช่วย ที่กําหนดใหม่นี้ ให้ได้เข้าใจกันมากยิ่งขึ้นก่อน เนื่องจากหลักเกณฑ์นี้เป็นการปรับปรุงหลักเกณฑ์และวิธีการสอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งเป็น ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตําแหน่งครูผู้ช่วย (9 5/2561) ซึ่งเดิมได้กําหนดวิธีการสอบแข่งขันแบ่งออกเป็น 3 ภาค คือ ภาค ก และ ภาค ข ที่ใช้วิธีการสอบข้อเขียน ส่วนภาค ค ใช้วิธีการสอบสัมภาษณ์ แต่วิธีการนี้มีข้อจํากัดที่สําคัญ เช่น สถานศึกษา ไม่ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการคัดเลือกบุคคลเข้าสู่สถานศึกษา ไม่มีการวัดทักษะในการสอน รวมถึงไม่ได้มีการวัดทักษะด้านภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และทักษะด้านดิจิทัล ซึ่งเป็นทักษะสําคัญในยุคปัจจุบันที่ “ครู” จําเป็นต้องมีความรู้ ความเข้าใจ สามารถนําไปใช้ ในการจัดการเรียนการสอน และพัฒนาผู้เรียนยุคใหม่ได้

ประเด็นต่อมาก็คือ มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2562 ระบุให้องค์กรกลางบริหารงานบุคคลของข้าราชการประเภทต่าง ๆ ที่อยู่ภายใต้กํากับของฝ่ายบริหาร ปรับระบบการสอบวัดความรู้ความสามารถทั่วไปให้เป็นมาตรฐานเดียวกันสําหรับเจ้าหน้าที่ของรัฐ ทุกประเภท โดยนําหลักสูตรการสอบและเกณฑ์การตัดสินการสอบผ่านการสอบภาค ก ตามแนวทางของสํานักงาน ก.พ. มาปรับใช้ เป็นส่วนหนึ่งในหลักสูตรการสอบและการตัดสินการสอบผ่าน ซึ่งนั่นก็รวมถึงสํานักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากร ทางการศึกษา (สํานักงาน ก.ค.ศ.) ด้วย ดังนั้น สํานักงาน ก.ค.ศ. จึงต้องดําเนินการปรับระบบการสอบบรรจุครูผู้ช่วยให้สอดคล้อง กับมติคณะรัฐมนตรี และเพื่อให้สอดคล้องกับการที่คุรุสภากําหนดให้มีการสอบเพื่อขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู หลักเกณฑ์ และวิธีการสอบแข่งขันฯ ตําแหน่งครูผู้ช่วย ใหม่นี้ จึงได้วางแนวทางการสอบ ภาค ข ให้เป็นไปตามแนวทางตามมาตรฐานวิชาชีพ ของคุรุสภาด้วย

นอกจากนี้ สํานักงาน ก.ค.ศ. ยังได้ทําการศึกษาวิเคราะห์แนวทางในการคัดเลือกครูของประเทศต่าง ๆ ที่ประสบความสําเร็จในการจัดการศึกษา ตลอดจนข้อเสนอของงานวิจัย หน่วยงาน ภาคีเครือข่ายขอ ภาครัฐและเอกชนต่าง ๆ พบว่า การทดสอบการปฏิบัติการสอน และการให้สถานศึกษามีส่วนร่วมในการคัดเลือกครู เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพในการคัดเลือกครูที่มีความรู้ ความสามารถเหมาะสมที่จะทําการสอนได้ – สอดคล้องกับบริบทของสถานศึกษา จากแนวคิดดังกล่าว ก.ค.ศ. จึงได้กําหนดหลักเกณฑ์และวิธีการสอบ

แข่งขันฯ ตําแหน่งครูผู้ช่วย ออกเป็น 3 ภาค ดังนี้

ภาค ก ความรู้ความสามารถทั่วไป
ทดสอบเกี่ยวกับความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ทักษะภาษาอังกฤษ ความรู้และลักษณะการเป็นข้าราชการที่ดี ซึ่งสอดคล้อง กับการสอบวัดความรู้ความสามารถทั่วไป (ภาค ก) ของสํานักงาน ก.พ.

ภาค ข มาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ
ทดสอบเกี่ยวกับมาตรฐานความรู้ทั่วไปในการจัดการเรียนการสอน มาตรฐานความรู้ในเนื้อหาวิชาที่สอน (วิชาเอก) ความรอบรู้กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงาน และแนวทางการปฏิรูปการศึกษา ซึ่งสอดคล้องกับหลักสูตรการทดสอบ เพื่อขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู

ภาค ค ประเมินความเหมาะสมกับตําแหน่ง วิชาชีพ และการปฏิบัติงานในสถานศึกษา
โดยประเมินจากคุณลักษณะส่วนบุคคล (สัมภาษณ์) การพัฒนาตนเองและวิชาชีพ (แฟ้มสะสมผลงานเกี่ยวกับประวัติการศึกษา /ผลงานในวิชาเอกที่สําเร็จการศึกษา/การเข้าถึงชุมชนและมีจิตอาสา) และความสามารถด้านการสอน ซึ่งสอดคล้องกับแนวทาง การคัดเลือกครูที่เป็นสากล โดยในการประเมินความสามารถด้านการสอน มีหัวข้อในการประเมิน ดังนี้
1. การวิเคราะห์หลักสูตร การออกแบบและการวางแผuการจัดการเรียนรู้
2. ทักษะและวิธีการสอนที่เหมาะสมกับสาขาวิชาและบริบทของชั้นเรียน
3. ทักษะการใช้คําถามและการตอบสนองต่อพฤติกรรมผู้เรียน
4. การใช้สื่อ นวัตกรรม เทคโนโลยีในการจัดการเรียนรู้
5. การวัดและประเมินผลการจัดการเรียนรู้

วิธีการดําเนินการสอบ
1. ส่วนราชการกําหนดวัน เวลา ในการสอบ ภาค ก และภาค ข
2. กศจ. ประกาศรับสมัครจําแนกตําแหน่งว่างตามสาขาวิชาเอก
3. ส่วนราชการบริหารจัดการเกี่ยวกับการออกสอบ ภาค ก ภาค ข และกําหนดตัวชี้วัดการประเมินภาค ค ซึ่งต้องกําหนดเกณฑ์การประเมินและวิธีการให้คะแนนแบบรูบริค (Scoring Rubric)
4. กศจ. จัดสอบ ภาค ก และ ภาค ข
5. กศจ. ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเข้ารับการประเมิน ภาค ค โดยเรียงลําดับคะแนนจากมากไปหาน้อย โดยบัญชีผู้มีสิทธิเข้ารับการประเมิน ภาค ค นี้ จะมีอายุบัญชี 2 ปี
6. กศจ. กําหนดวัน เวลา ในการประเมิน ภาค ค และเรียกผู้มีสิทธิเข้ารับการประเมิน ภาค ค มาเข้ารับการประเมินตามสาขาวิชาเอกที่ประกาศรับสมัคร จํานวน 5 เท่าของตําแหน่งว่าง ตามลําดับที่ตามประกาศ
7. ให้ผู้ที่ได้รับการเรียกตัวตามข้อ 6 มาเลือกโรเรียนที่จะเข้ารับการประเมิน ภาค ค
8. คณะกรรมการที่ กศจ. ตั้ง จํานวน 5 คน ประกอบด้วย ผู้อํานวยการสถานศึกษาหรือผู้ที่ผู้อํานวยการสถานศึกษามอบหมายครูที่เชี่ยวชาญการสอนในประเภทวิชา หรือกลุ่มวิชา หรือทาง หรือสาขาวิชาเอกนั้น ศึกษานิเทศก์ หรือผู้ทรงคุณวุฒินอก สถานศึกษาที่มีประสบการณ์ หรือความเชี่ยวชาญในประเภทวิชา หรือกลุ่มวิชา หรือทาง หรือสาขาวิชาเอกนั้น ดําเนินการประเมินภาค ค จําแนกเป็นรายโรงเรียน โดยให้ประเมินตามองค์ประกอบและตัวชี้วัดที่ส่วนราชการกําหนด และประเมิน ณ สถานที่ที่ กศจ.กําหนด
9. กศจ. นําคะแนนภาค ค มารวมกับคะแนน ภาค ก และ ภาค ข และประกาศขึ้นบัญชีเป็นผู้สอบแข่งขันได้ โดยเรียงลําดับคะแนน
จากมากไปหาน้อย เป็นรายโรงเรียนในแต่ละสาขาวิชาเอก
10. ผู้มีอํานาจสั่งบรรจุและแต่งตั้งตามลําดับที่ที่ได้ประกาศไว้ตามข้อ 9 โดยอนุมัติ กศจ. และให้บรรจุและแต่งตั้งให้ครบตามจํานวน
ตําแหน่งว่างที่ประกาศรับสมัคร เมื่อบรรจุฯ ครบแล้ว บัญชีที่ประกาศตามข้อ 9 เป็นอันยกเลิก

หมายเหตุ

ผู้มีสิทธิเข้ารับการประเมินภาค ค ซึ่งอยู่ในลําดับที่ที่ถูกเรียกให้เข้ารับการประเมิน แต่ไม่ประสงค์จะเข้ารับการประเมิน หรือผู้ที่เข้ารับการประเมินแล้วแต่ไม่ได้รับการบรรจุและแต่งตั้ง ก็ยังคงมีสิทธิในการขึ้นบัญชีผู้มีสิทธิเข้ารับการประเมินภาค ก ในลําดับที่เดิมของ กศจ. นั้นต่อไป และมีสิทธิเข้ารับการประเมินภาค ค ไปจนกว่าจะมีการยกเลิกการขึ้นบัญชี ซึ่งจะทําให้ ผู้สอบแข่งขันมีโอกาสที่จะได้รับการบรรจุและแต่งตั้งเป็นครูผู้ช่วยมากยิ่งขึ้น
ทั้งนี้ ในแต่ละขั้นตอนของการสอบและการประเมิน ได้กําหนดมาตรการในการดําเนินการให้เกิดความโปร่งใส เป็นธรรม และตรวจสอบได้ ซึ่งจะสามารถสร้างความเชื่อมั่นได้ว่า ระบบใหม่นี้จะเป็นระบบการบริหารจัดการสอบแข่งขันที่สามารถสั่ง มอบครูดี มีองค์ความรู้ทั้งภาคทฤษฎีและมีทักษะในการสอน ให้กับผู้เรียนและสังคม ได้อย่างมีประสิทธิภาw โดยหลักเกณฑ์ และวิธีการฯ ที่กําหนดใหม่นี้ จะเป็นประโยชน์ต่อผู้เรียน สถานศึกษา และผู้ที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
1. สถานศึกษาได้ครูที่มีความรู้ความสามารถและทักษะที่เหมาะสมที่จะไปทําการสอนในบริบทของสถานศึกษาและชุมชน
2. ผู้สอบแข่งขันมีข้อมูลของสถานศึกษาและผู้เรียนที่ตนประสงค์จะไปบรรจุและแต่งตั้งเพื่อประกอบการตัดสินใจเลือกสถานศึกษาได้อย่างชัดเจน และได้รับโอกาสที่จะบรรจุและแต่งตั้งในสถานศึกษาตามความประสงค์ได้มากขึ้น
3. ครูและสถานศึกษามีพันธะสัญญา (commitment) ในการปฏิบัติงานร่วมกันตั้งแต่ต้น ครูมีความมุ่งมั่นปฏิบัติงาน
ที่สถานศึกษา อาจช่วยลดปัญหาการขอย้ายออกนอกพื้นที่
4. เป็นการกระจายอํานาจการบริหารงานบุคคลให้กับสถานศึกษาเตรียมพร้อมรองรับการเป็นนิติบุคคล
5. รองรับระบบการสอบภาค ก ของ ก.พ. ตามมติคณะรัฐมนตรี และการสอบใบอนุญาตประกอบวิชาชีพของคุรุสภา
ซึ่งจะเป็นการลดภาระงบประมาณในการสอบแข่งขันในอนาคต

สํานักงาน ก.ค.ศ. หวังเป็นอย่างยิ่งว่าหลายท่านจะได้คลายความกังวลใจ และเข้าใจถึงเจตนารมณ์ของ การปรับปรุงหลักเกณฑ์และวิธีการสอบแข่งขันฯ ตําแหน่งครูผู้ช่วย ที่กําหนดใหม่นี้มากยิ่งขึ้น

ดร.อัมพร  พินะสา เลขาธิการ ก.ค.ศ.

ที่มา : ก.ค.ศ.

หลักเกณฑ์และวิธีการสอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครูผู้ช่วย ที่กำหนดขึ้นใหม่ หลักเกณฑ์และวิธีการสอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครูผู้ช่วย ที่กำหนดขึ้นใหม่ หลักเกณฑ์และวิธีการสอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครูผู้ช่วย ที่กำหนดขึ้นใหม่

เรื่องอื่นๆที่น่าสนใจ

Back to top button