ข่าวการศึกษา

ศธ. ร่วมลงนาม 6 หน่วยงาน พัฒนาคุณภาพการศึกษา จ.สระแก้ว

ศธ. ร่วมลงนาม 6 หน่วยงาน พัฒนาคุณภาพการศึกษา จ.สระแก้ว

วันที่ 14 มีนาคม 2565 นางสาวตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.) เป็นประธานในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) การพัฒนาคุณภาพการศึกษาจังหวัดสระแก้ว ระหว่าง สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา สำนักงานจังหวัดสระแก้ว กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา และมูลนิธิเพื่อทักษะแห่งอนาคต โดยมี นายปริญญา โพธิสัตย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสระแก้ว นายสุทิน แก้วพนา ผู้ช่วยปลัดกระทรวงศึกษาธิการ นายสุทธิชัย จรูญเนตร ที่ปรึกษา รมว.ศธ. นายชัยพฤกษ์ เสรีรักษ์ ที่ปรึกษา รมว.ศธ. นางสาวอรพินทร์ เพชรทัต เลขานุการ รมว.ศธ. นายอัมพร พินะสา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน นายสุเทพ แก่งสันเทียะ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ผู้แทนกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา ผู้แทนมูลนิธิเพื่อทักษะแห่งอนาคต และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมในพิธี ณ ห้องประชุมชั้น 1 องค์การบริหารส่วนจังหวัดสระแก้ว จ.สระแก้ว

นางสาวตรีนุช เทียนทอง รมว.ศธ. กล่าวว่า การลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) การพัฒนาคุณภาพการศึกษาจังหวัดสระแก้ว ในรูปแบบ sakeo model ในครั้งนี้ เป็นการบูรณาการเป้าหมาย และความร่วมมือเพื่อการบริหารจัดการ และการพัฒนาคุณภาพการศึกษาไปในทิศทางเดียวกันอย่างเป็นองค์รวมทั้งระบบ และเป็นการพัฒนาระบบการศึกษาภายใต้บริบทของพื้นที่ได้อย่างเหมาะสม ตั้งแต่การแก้ไขปัญหาเด็กตกหล่นจากระบบการศึกษา การลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา การสร้างความเสมอภาคทางการศึกษา การพัฒนาบุคลากรทางการศึกษาในทุกระดับ การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน ในลักษณะ Active Learning และสร้างนวัตกรรมทางการศึกษาใหม่ๆ สร้างการเรียนรู้ตลอดชีวิต รวมถึงการติดตาม และประเมินผลของความสำเร็จ โดยมีเป้าหมายเพื่อให้ผู้เรียนในทุกช่วงวัย สามารถเรียนรู้ได้เต็มตามศักยภาพ มีความรู้ความสามารถ มีทักษะต่างๆ ทั้งด้านทักษะอาชีพ และทักษะชีวิตที่สำคัญ เป็นผู้ที่มีขีดสมรรถนะ และเป็นบุคลากรคุณภาพที่สามารถนำความรู้ ทักษะต่างๆ มาใช้เพื่อการพัฒนาตนเอง ครอบครัว และชุมชนท้องถิ่นให้เจริญก้าวหน้า เติบโต และสร้างความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืนในมิติของสังคม และเศรษฐกิจให้กับประเทศได้ ในส่วนนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ ที่กำหนดไว้ 12 นโยบาย 7 วาระเร่งด่วน เป็นเพียงเข็มทิศให้การศึกษาของประเทศก้าวเดินไปข้างหน้า แต่ผลสำเร็จนั้น ย่อมขึ้นอยู่กับการลงมือปฏิบัติ ภายใต้การลงนามในบันทึกความร่วมมือของหน่วยงานทางการศึกษาในจังหวัดสระแก้วในวันนี้ ตนเห็นว่าเป็นโอกาสที่ดีที่ได้เห็นผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้มีประสบการณ์ และผู้ที่ทำงานด้านการศึกษามาอย่างยาวนาน ได้ร่วมพลังกาย พลังใจ และพลังสมอง ในการช่วยวางทิศทางในการพัฒนาการศึกษา ช่วยเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับการศึกษาในจังหวัดสระแก้วให้เกิดขึ้นได้อย่างแข็งแกร่ง จึงขอขอบคุณทุกฝ่ายที่ได้บูรณาการร่วมกัน และเชื่อมั่นว่าพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือในวันนี้ จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการพัฒนาการศึกษาของจังหวัดสระแก้วในอนาคตต่อไป

ติดตามข่าวอื่น ๆ ได้ที่เพจ : https://www.facebook.com/rukkroo

นางสาวตรีนุช กล่าวต่อไปว่า ในเรื่องของการศึกษา แต่ละพื้นที่จะมีบริบทที่ไม่เหมือนกัน ดังนั้นจึงอยากให้จ.สระแก้วเป็นโมเดลที่สร้างความร่วมมือระหว่างหน่วยงานต่างๆ อย่างเช่นวันนี้นอกจากหน่วยงานในกระทรวงศึกษาธิการ เรายังได้ลงนามความร่วมมือกับกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษาและมูลนิธิเพื่อทักษะแห่งอนาคต ซึ่งถือว่าเป็นที่แรกที่ได้มาทำ MOU กับจังหวัดสระแก้ว ในส่วนนี้เราก็ได้มาดูในบริบทภาพรวมจากหลายหน่วยงานเพื่อมาช่วยกันดูแลเรื่องของการศึกษา อย่างจ.สระแก้วจะมีเรื่องของการอ่านออกเขียนได้ ซึ่งได้มีการทำ SWOT Analysis ว่าจุดอ่อนจุดแข็งคืออะไร และเราจะแก้ปัญหาตรงจุดไหน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการอ่านออกเขียนได้ การพัฒนาเด็กให้สอดคล้องกับสมรรถนะ โดยแต่ละจังหวัดจะมีบริบทไม่เหมือนกัน มีจุดอ่อนจุดแข็งไม่เหมือนกัน แต่ละพื้นที่จะรู้ปัญหาได้ดีกว่าและรู้ว่าจังหวัดตัวเองต้องการจะพัฒนาอะไร ในส่วนนี้ทางพื้นที่ก็จะช่วยกันออกแบบการแก้ไขปัญหา และทางส่วนกลางก็จะเข้ามาช่วยสนับสนุนให้การแก้ไขปัญหาต่างๆ เป็นไปได้อย่างตรงจุด ซึ่งในทุกวันนี้โลกเรามีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นรวดเร็วมาก หากองค์กรพื้นที่มีความเข้มแข็งเพียงพอ แล้วทางส่วนกลางเข้ามาช่วยส่งเสริมสนับสนุน ก็จะทำให้การศึกษามีความยืดหยุ่น สามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างตรงจุดเหมาะสมกับความต้องการของพื้นที่

“ในวันนี้เรามีนโยบายที่ชัดเจนในการแก้ไขปัญหา ผนวกกับนโยบายที่เข้มแข็งของรัฐบาล เราก็จะมาดูว่าตรงจุดต่างๆ จะสามารถเพิ่มเติมอะไรได้อีกบ้าง ซึ่งเรามีตัวชี้วัดอยู่แล้ว ทั้งเรื่องของปัญหาเด็กตกหล่นจากระบบการศึกษา การสร้างคุณภาพของโรงเรียน หรือการสร้างอาชีพต่างๆ เราก็จะมาดูว่ามีความคืบหน้าอย่างไรบ้าง อีกทั้งการลงนามความร่วมมือครั้งนี้ในระดับจังหวัดถือว่าเป็นที่แรกในประเทศไทย เป็นสระแก้วโมเดลที่ได้รับความร่วมมือจากกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษาและมูลนิธิเพื่อทักษะแห่งอนาคต มาร่วมกันแก้ไขปัญหาโดยเจาะลงไปในพื้นที่เพื่อให้มีความเข้มข้นมากขึ้น และเราก็จะมาดูว่ามีความคืบหน้าอย่างไรบ้าง เพื่อเป็นโมเดลตัวอย่างให้กับจังหวัดอื่นสามารถนำไปเป็นรูปแบบในการพัฒนาพื้นที่ของตนเองได้” รมว.ศธ. กล่าว

ทางด้าน นายปริญญา โพธิสัตย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสระแก้ว กล่าวว่า ปัญหาเฉพาะตัวของสระแก้วคือเรามีพื้นที่ชายแดน ซึ่งเมื่อมองตัวชี้วัดจะเห็นว่ามีเด็กที่อ่านไม่ออกเขียนไม่ได้จำนวนมาก ในจุดนี้ต้องอย่าลืมว่าในพื้นที่ชายแดนมีเด็กต่างชาติอยู่ด้วย หากเราแยกเด็กต่างชาติออกไป จะเห็นว่าเด็กไทยส่วนใหญ่ที่ครูสอนจะอ่านออกเขียนได้เกือบทั้งหมด แต่ในภาพรวมเมื่อนับจำนวนเด็กในโรงเรียนแบบเป็นตัวเลข จะเห็นว่ายังมีเด็กที่อ่านไม่ออกเขียนไม่ได้อยู่พอสมควร ซึ่งข้อเท็จจริงคือเป็นเด็กต่างชาติที่เข้ามาเรียน อย่างเช่นในโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน ซึ่งการจัดการการศึกษาของสระแก้วมีหลากหลาย มีทั้งโรงเรียนในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ โรงเรียนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โรงเรียนของตชด. โรงเรียนเอกชน รวมถึงโรงเรียนพระปริยัติธรรม โดยสระแก้วตั้งเป้าว่าผลการศึกษาจะต้องอยู่ในมาตรฐานใกล้เคียงกัน ไม่ว่าจะวัดด้วย NT หรือวิธีใดก็ตามที่เป็นมาตรฐานของกระทรวงศึกษาธิการ นี่คือเป้าหมายสำคัญของจังหวัดสระแก้วครับ

แวดล้อมภายในและสภาพแวดล้อมภายนอก พบว่า จุดอ่อนด้านปัจจัยการบริหาร การสอนและคุณภาพผู้เรียน และด้านเทคโนโลยี พบปัญหาต่างๆ ได้แก่ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนต่ำกว่าระดับประเทศ ผู้เรียนที่จบการศึกษาขั้นพื้นฐานมีโอกาสเรียนต่อในระดับสูงขึ้นไปมีน้อย การจัดการศึกษาสายอาชีพไม่ครอบคลุมทุกพื้นที่ ทำให้นักเรียนเดินทางไกล ไม่เพียงพอต่อความต้องการของผู้เรียน อีกทั้งขาดการบูรณาการฐานข้อมูล ความเชื่อมโยง Big Data และขาดเครื่องมือการเข้าถึงเทคโนโลยีของผู้เรียน

จากปัญหาดังกล่าว จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องพัฒนาคุณภาพการศึกษาของจ.สระแก้ว โดยร่วมกันออกแบบแนวทางการพัฒนาคุณภาพการศึกษาในรูปแบบ SAKAEO Model ซึ่งเป็นแนวทางการพัฒนา 6 ขั้นตอน และทุกขั้นตอนใช้กระบวนการ PDCA ได้แก่

  • ขั้นตอนที่ 1 S : SWOT Analysis การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมและศักยภาพคุณภาพมาตรฐานของโรงเรียน
  • ขั้นตอนที่ 2 A : Assignment กำหนดผู้ร่วมรับผิดชอบและสร้างข้อตกลงร่วมกันจากทุกสังกัดการศึกษาจังหวัดสระแก้ว
  • ขั้นตอนที่ 3 K : Knowledge sharing การสร้างองค์ความรู้ แบ่งปันความรู้และวางแผนพัฒนา การยกระดับคุณภาพมาตรฐานการศึกษาจังหวัดสระแก้วร่วมกัน
  • ขั้นตอนที่ 4 A : Action การลงมือปฏิบัติตามแผนการพัฒนาและยกระดับคุณภาพมาตรฐานการศึกษาร่วมกัน
  • ขั้นตอนที่ 5 E : Evaluation การนิเทศก์กำกับติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผลการพัฒนาและยกระดับคุณภาพการศึกษา แลกเปลี่ยนเรียนรู้และสะท้อนคิดร่วมกัน
  • ขั้นตอนที่ 6 O : Optimum goals เป้าหมายสูงสุดของการพัฒนาและยกระดับคุณภาพมาตรฐานการศึกษาร่วมกัน

    “ทั้งนี้ ขั้นตอนการพัฒนาคุณภาพการศึกษาดังกล่าวได้มีการจัดทำประกาศจังหวัดสระแก้ว เรื่อง แนวทางการพัฒนาคุณภาพการศึกษาจังหวัดสระแก้วในรูปแบบ SAKAEO Model ให้หน่วยงานทางการศึกษาในจังหวัดสระแก้วได้นำไปใช้เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาจังหวัดสระแก้วให้เป็นไปในทิศทางเดียวกันต่อไป” เลขาธิการ กพฐ. กล่าว

ขอบคุณที่มาของข่าว : สพฐ.

เรื่องอื่นๆที่น่าสนใจ

Back to top button