ข่าวการศึกษา

ผลสำรวจพบนร.ญี่ปุ่นไม่มีความสุข เด็กไทยสุดชิลล์ แม้ผลการเรียนตกต่ำ

องค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา หรือ OECD จัดการสำรวจความพึงพอใจในชีวิตของบรรดาเด็กวัยรุ่น การสำรวจนี้ได้สอบถามเยาวชนวัย 15 ปีจำนวน 540,000 คนใน 72 ประเทศและดินแดน มีนักเรียนโรงเรียนมัธยมปลายญี่ปุ่นราว 6,600 คนเข้าร่วมในการสำรวจนี้

การสำรวจดำเนินการตั้งแต่ปี 2015 และประกาศผลเมื่อเดือนเมษายน ปี 2017 โดยนักเรียนญี่ปุ่นมีผลการเรียนสูงกว่าค่าเฉลี่ยของ OECD ในทุกด้าน ทั้งวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และการอ่าน และศักยภาพในการเรียนอยู่ในระดับเกือบสูงที่สุดในบรรดากลุ่มประเทศทั้งหมด

ติดตามข่าวอื่น ๆ ได้ที่เพจ : https://www.facebook.com/rukkroo

แต่ข้อด้อยของนักเรียนญี่ปุ่น คือ ความเท่าเทียมระหว่างนักเรียนผู้ชายและนักเรียนหญิงต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของ OECD โดยนักเรียนชายของญี่ปุ่นมีผลการเรียนที่ดีกว่านักเรียนหญิงอย่างมาก

ปัญหาใหญ่ของนักเรียนญี่ปุ่น คือ เด็กนักเรียนส่วนใหญ่บอกว่าไม่พึงพอใจในชีวิตของตนเอง โดยการสำรวจให้นักเรียนประเมินความพึงพอใจในชีวิตโดยใช้มาตรวัดจาก 0 ถึง 10 โดยนักเรียนญี่ปุ่นมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 6.8 ในขณะที่ค่าเฉลี่ยของนานาชาติอยู่ที่ 7.3 ความพึงพอใจในชีวิตของนักเรียนญี่ปุ่นยังรั้งท้ายในอยู่ในอันดับที่ 43 จากทั้งหมด 47 ประเทศและดินแดนที่เข้าร่วมการสำรวจ

ผลการสำรวจชี้ว่าเด็กในกลุ่มประเทศแถบลาตินอเมริกามีค่าความพึงพอใจสูงกว่า โดยเด็กจากสาธารณรัฐโดมินิกันมีความพึงพอใจสูงที่สุดที่ 8.5 ตามด้วยเด็กจากเม็กซิโกที่ 8.3

ผลสำรวจพบนร.ญี่ปุ่นไม่มีความสุข เด็กไทยสุดชิลล์ แม้ผลการเรียนตกต่ำ

องค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา หรือ OECD จัดการสำรวจความพึงพอใจในชีวิตของบรรดาเด็กวัยรุ่น การสำรวจนี้ได้สอบถามเยาวชนวัย 15 ปีจำนวน 540,000 คนใน 72 ประเทศและดินแดน มีนักเรียนโรงเรียนมัธยมปลายญี่ปุ่นราว 6,600 คนเข้าร่วมในการสำรวจนี้

การสำรวจดำเนินการตั้งแต่ปี 2015 และประกาศผลเมื่อเดือนเมษายน ปี 2017 โดยนักเรียนญี่ปุ่นมีผลการเรียนสูงกว่าค่าเฉลี่ยของ OECD ในทุกด้าน ทั้งวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และการอ่าน และศักยภาพในการเรียนอยู่ในระดับเกือบสูงที่สุดในบรรดากลุ่มประเทศทั้งหมด

 แต่ข้อด้อยของนักเรียนญี่ปุ่น คือ ความเท่าเทียมระหว่างนักเรียนผู้ชายและนักเรียนหญิงต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของ OECD โดยนักเรียนชายของญี่ปุ่นมีผลการเรียนที่ดีกว่านักเรียนหญิงอย่างมาก

 ปัญหาใหญ่ของนักเรียนญี่ปุ่น คือ เด็กนักเรียนส่วนใหญ่บอกว่าไม่พึงพอใจในชีวิตของตนเอง โดยการสำรวจให้นักเรียนประเมินความพึงพอใจในชีวิตโดยใช้มาตรวัดจาก 0 ถึง 10 โดยนักเรียนญี่ปุ่นมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 6.8 ในขณะที่ค่าเฉลี่ยของนานาชาติอยู่ที่ 7.3 ความพึงพอใจในชีวิตของนักเรียนญี่ปุ่นยังรั้งท้ายในอยู่ในอันดับที่ 43 จากทั้งหมด 47 ประเทศและดินแดนที่เข้าร่วมการสำรวจ

ผลการสำรวจชี้ว่าเด็กในกลุ่มประเทศแถบลาตินอเมริกามีค่าความพึงพอใจสูงกว่า โดยเด็กจากสาธารณรัฐโดมินิกันมีความพึงพอใจสูงที่สุดที่ 8.5 ตามด้วยเด็กจากเม็กซิโกที่ 8.3

ผลสำรวจพบนร.ญี่ปุ่นไม่มีความสุข เด็กไทยสุดชิลล์ แม้ผลการเรียนตกต่ำ

สื่อมวลชนญี่ปุ่นวิเคราะห์ว่า สาเหตุที่นักเรียนญี่ปุ่นไม่มีความสุขในชีวิต เพราะการเรียนเคร่งเครียดมาก นักเรียนต้องแข่งขันอยู่ตลอดเวลา การทดสอบมีมากเกินไป นักเรียนญี่ปุ่นมีการบ้านแม้แต่ในช่วงปิดเทอม และนักเรียนมัธยมปลายเกือบทั้งหมดต้องไปเรียนกวดวิชาเพื่อให้สอบเข้ามหาวิทยาลัยดีๆได้

นอกจากนี้ เศรษฐกิจญี่ปุ่นที่ตกต่ำต่อเนื่องหลายสิบปี ทำให้นักเรียนญี่ปุ่นคิดว่า “เรียนไปก็เท่านั้น” คือ ไม่มีความหวังว่าการศึกษาจะทำให้ชีวิตดีขึ้น เพราะเมื่อเรียนจบก็หางานที่มั่นคงได้ยาก บริษัทต่างๆ ล้วนแต่เผชิญความยากลำบากทางการเงิน และใช้การจ้างลูกจ้างชั่วคราวหรือสัญญาจ้าง แทนที่จะจ้างพนักงานประจำ

ผลสำรวจพบนร.ญี่ปุ่นไม่มีความสุข เด็กไทยสุดชิลล์ แม้ผลการเรียนตกต่ำ
ผลการเรียนวิทยาศาสตร์, คณิตศาสตร์ และการอ่านของเด็กไทยเทียบกับญี่ปุ่น

 เทียบศักยภาพและความสุขของนักเรียนไทย-ญี่ปุ่น

จากรายงานของOECD พบว่า ศักยภาพด้านการเรียนของเด็กไทยด้อยกว่าค่าเฉลี่ยในทุกด้านทั้งวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และการอ่าน โดยเฉพาะเรื่องการอ่าน เด็กไทยตกต่ำลงมากนับตั้งแต่การสำรวจเมื่อปี 2006

อย่างไรก็ตาม ในเรื่องของ “ความเท่าเทียม” เด็กไทยมีมาตรฐานที่ดี คือ ระหว่างนักเรียนชาย-หญิง หรือไม่ว่าจะมีภูมิหลังทางสังคมหรือฐานะอย่างไร เด็กไทยค่อนข้างจะเท่าเทียมกันเมื่ออยู่ในโรงเรียน
ผลสำรวจพบนร.ญี่ปุ่นไม่มีความสุข เด็กไทยสุดชิลล์ แม้ผลการเรียนตกต่ำ
ความเท่าเทียมทางสังคมของนักเรียนไทยเทียบกับญี่ปุ่น

  ถึงแม้ศักยภาพในการเรียนของเด็กไทยจะแพ้เด็กญี่ปุ่นอย่างไม่เห็นฝุ่น แต่เด็กไทยกลับมีความพึงพอใจในชีวิต และมีความสุขที่โรงเรียนมากกว่า โดยเกณฑ์วัดผลของ OECD เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ระหว่างเพื่อนและครู, สภาพแวดล้อมทางครอบครัว และการใช้เวลาว่าง

 เด็กนักเรียนไทยเมื่อเทียบกับนักเรียนญี่ปุ่นแล้ว รู้สึกว่าชีวิตของตัวเองไม่ได้ทุกข์ร้อนอะไร, การรังแกกลั่นแกล้งในโรงเรียนน้อยกว่า, มีความเครียดเรื่องการบ้านน้อยกว่า และปมด้อยเรื่องความแตกต่างทางฐานะก็น้อยกว่าเช่นกัน

ผลสำรวจพบนร.ญี่ปุ่นไม่มีความสุข เด็กไทยสุดชิลล์ แม้ผลการเรียนตกต่ำ

ความพึงพอใจในชีวิตของนักเรียนไทยเทียบกับญี่ปุ่น

ผลสำรวจพบนร.ญี่ปุ่นไม่มีความสุข เด็กไทยสุดชิลล์ แม้ผลการเรียนตกต่ำ

        OECD ยังเตือนว่า ยุคดิจิตอลสร้างปัญหาเรื่อง “การใช้อินเตอร์เน็ตมากเกินไป” กับเด็กนักเรียน โดยนักเรียนมากกว่า 1 ใน4 ของที่ทำการสำรวจ ระบุว่า ใช้เวลากับโลกออนไลน์มากกว่า 6 ชั่วโมงต่อวัน การใช้อินเตอร์เน็ตที่มากเกินไป นอกจากจะทำให้ศักยภาพในการเรียนด้อยลงแล้ว ยังทำให้เด็กขาดการมีส่วนร่วมในสังคม รู้สึกโดดเดี่ยว มาโรงเรียนสายบ่อย และอาจทำให้ไม่มีความสุขกับการเรียน หรือไม่อยากเรียนหนังสือต่อไป.

ขอบคุณที่มา : ผู้จัดการออนไลน์

เรื่องอื่นๆที่น่าสนใจ

Back to top button