นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการจัดการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ครั้งที่ 2/2560 เมื่อวันศุกร์ที่ 19 พฤษภาคม 2560 ณ ห้องประชุมสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
ติดตามข่าวอื่น ๆ ได้ที่เพจ : https://www.facebook.com/rukkroo
เห็นชอบ (ร่าง) ระเบียบฯ ว่าด้วยการตรวจราชการ การติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผล โดยแบ่งระบบติดตามตรวจสอบประเมินผล ออกเป็น 4 ระดับ
สาระสำคัญ คือ การปรับระบบติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการจัดการศึกษา แบ่งเป็น 4 ระดับ คือ
ระดับชาติ มีคณะกรรมการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการจัดการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ เป็นคณะกรรมการกลาง โดยผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ ทำหน้าที่ตรวจราชการ ในประเด็นการสื่อสาร การสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับนโยบาย
กระทรวง, การติดตามประเมินผลให้การบริหารงบประมาณสอดคล้องกับหลักการจัดการศึกษา, ศึกษา วิเคราะห์ วิจัยการประเมินผลระดับนโยบาย, เร่งรัดติดตามความก้าวหน้าการปฏิบัติงานตามแผนปฏิบัติราชการ ตลอดจนตรวจเยี่ยมรับฟังความคิดเห็นและช่วยเหลือแนะนำแก่ผู้ปฏิบัติงาน
– ทั้งนี้ ระเบียบฉบับนี้ได้ให้อำนาจผู้ตรวจราชการ ในการสั่งเป็นลายลักษณ์อักษรให้ผู้รับการตรวจปฏิบัติเรื่องใดเรื่องหนึ่งให้ถูกต้องตามกฎหมาย หรืองดเว้นการปฏิบัติงานใด ๆ ในระหว่างการตรวจไว้ก่อน หากเห็นว่าก่อให้เกิดความเสียหายแก่ทางราชการ หรือประโยชน์ของประชาชนอย่างร้ายแรง พร้อมให้รายงานผู้บังคับบัญชาทราบหรือพิจารณาโดยด่วน รวมทั้งสั่งให้หน่วยงานของรัฐและเจ้าหน้าที่ชี้แจง ให้ถ้อยคำ สามารถทำการสอบสวนข้อเท็จจริงกรณีมีการร้องเรียน ตลอดจนแต่งตั้งบุคคลหรือคณะทำงานสนับสนุนการดำเนินงานระดับภาค ให้สำนักงานศึกษาธิการภาค (ศธภ.) ทำหน้าที่กำหนดแนวทางการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการจัดการศึกษา และการใช้จ่ายงบประมาณ ให้สอดคล้องกับนโยบาย
กระทรวง และหน่วยงานการศึกษาในสังกัด, ศึกษา วิเคราะห์ สังเคราะห์ วิจัย นิเทศ ติดตาม และประเมินผลการบริหารจัดการศึกษา, ให้คำแนะนำเพื่อพัฒนาระบบบริหารจัดการศึกษาระดับภาค ตลอดจนรายงานผลการติดตามของสำนักงานศึกษาธิการจังหวัด ไปยังคณะกรรมการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการจัดการศึกษาของกระทรวงตามที่กำหนด ระดับจังหวัด ให้สำนักงานศึกษาธิการจังหวัด
(ศธจ.) ทำหน้าที่กำหนดแนวทางการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการจัดการศึกษาของหน่วยงานการศึกษาในระดับจังหวัด, ศึกษา วิเคราะห์ สังเคราะห์ วิจัย นิเทศ ติดตาม และประเมินผลการบริหารจัดการศึกษา, จัดทำข้อมูลสารสนเทศเพื่อใช้ประโยชน์ รวมทั้งรวบรวม ศึกษา วิเคราะห์ สังเคราะห์ ผลการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการจัดการศึกษาของหน่วยงานการศึกษาในสังกัด เพื่อสรุปรายงานเสนอขอความเห็นชอบต่อคณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัด (กศจ.) ก่อนรายงานศึกษาธิการภาค ระดับเขตพื้นที่การศึกษา ให้มีคณะกรรมการติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผล และนิเทศการศึกษาของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (สพท.) โดยผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพิจารณาแต่งตั้ง เพื่อทำหน้าที่ส่งเสริมสนับสนุนให้นำมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน มากำหนดเป็นแนวทางในการติดตาม ประเมินผล และนิเทศการบริหารงานของหน่วยงานและสถานศึกษาในสังกัด, กำหนดแนวทางการศึกษา วิเคราะห์ วิจัย การบริหารงานของหน่วยงานและสถานศึกษาในสังกัด, พิจารณาแผนการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลและนิเทศการศึกษา ตลอดจนติดตาม ประเมินผล และนิเทศให้เป็นไปตามแผน, รับทราบผลการติดตามพร้อมให้ข้อเสนอแนะเพื่อนำไปปรับปรุงพัฒนา, ประสานงานกับคณะกรรมการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการจัดการศึกษา และคณะกรรมการอื่นที่มีลักษณะงานเช่นเดียวกันทั้งหน่วยงานภายในและภายนอก รวมทั้งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการได้ตามความจำเป็น
● รับทราบข้อเสนอการพัฒนาระบบการตรวจ ติดตาม และประเมินผลการจัดการศึกษา
ที่ประชุมได้รับทราบข้อเสนอของผู้ทรงคุณวุฒิเกี่ยวกับการพัฒนาระบบการตรวจ ติดตาม และประเมินผลการจัดการศึกษาของกระทรวง ที่น่าสนใจหลายประการ เช่น
ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการศึกษาปฐมวัย เสนอให้มีระบบติดตามตรวจสอบเชิงคุณภาพบนกรอบของความเข้าใจที่ตรงกันทุกระดับ จัดการศึกษาระดับปฐมวัยโดยเน้นสัดส่วนนักเรียนกับครูและปฏิสัมพันธ์ภายในห้องเรียน ปรับเครื่องมือประเมินให้เป็นปัจจุบัน ประเมินสาระที่ควรเรียนรู้ ตลอดจนอ้างอิงเป้าหมายการจัดการศึกษาและดูแลเด็กปฐมวัยระดับสากล เช่น อาเซียน ยูเนสโก เป็นต้น
ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการศึกษาขั้นพื้นฐาน เน้นในเรื่องของข้อมูล ที่ต้องมีมิติการดำเนินงานครบทุกด้าน ทั้งโอกาส ความเสมอภาค คุณภาพการศึกษา และประสิทธิภาพการบริหารจัดการ โดยนำข้อมูลเดิมมาใช้บางส่วน เก็บข้อมูลเพิ่มเติม และศึกษาวิเคราะห์จากงานวิจัยด้วย โดยข้อมูลด้านคุณภาพการศึกษา ต้องชี้ให้เห็นทิศทางการพัฒนาผู้เรียนให้ครอบคลุมความรู้ คุณธรรม จิตสาธารณะ และทักษะการทำงาน ส่วนข้อมูลด้านอื่น ๆ ต้องมีการเปรียบเทียบระหว่างกลุ่ม ประเทศ และแนวโน้มที่เปลี่ยนแปลงไป นอกจากนี้ เสนอให้นำข้อมูลสะท้อนการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ของกระทรวงมาใช้ ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาครู บุคลากร และวิทยฐานะครูที่ผูกพันกับการยกระดับผู้เรียน, นโยบายประชารัฐ, การเพิ่มสัดส่วนผู้เรียนอาชีวศึกษา, การจัดหลักสูตรอาชีวศึกษาและอุดมศึกษาสนองตอบการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม, การจัดการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เป็นต้น
สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) หรือ สมศ. เสนอให้นำผลการประเมินคุณภาพภายนอกมาใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา เพื่อสะท้อนถึงข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับการวางแผน การดำเนินงาน ภาพความสำเร็จ ตลอดจนแผนงานเพื่อเติมเต็มต่อยอดหรือวิธีการปรับปรุงแก้ไขจุดบกพร่องในการดำเนินงานของสถานศึกษา
● รับทราบคำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ 2 ชุด
ที่ประชุมรับทราบคำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ ซึ่ง รมว.ศึกษาธิการ ได้ลงนามในคำสั่งแต่งตั้งเมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2560 ดังนี้
คณะอนุกรรมการติดตาม ตรวจสอบ การจัดการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ มีองค์ประกอบ ได้แก่ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการและปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เป็นที่ปรึกษา, รองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (กำกับสำนักตรวจราชการและติดตามประเมินผล สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ) เป็นประธาน, หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นรองประธาน, กรรมการ ได้แก่ ผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการทุกเขตตรวจราชการ รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน รองเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา รองเลขาธิการสภาการศึกษา รองเลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา รองเลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน รองเลขาธิการสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย โดยผู้อำนวยการสำนักตรวจราชการและติดตามประเมินผล เป็นกรรมการและเลขานุการ
– อำนาจหน้าที่ คือ กำหนดแนวทางวิธีการในการติดตาม ตรวจสอบ การจัดการศึกษาของกระทรวง รวมทั้งประเมินความเสี่ยงและเพิ่มคุณค่า ตลอดจนปรับปรุงแนวทางตามนโยบายการศึกษา, สอบทานผลการติดตาม ตรวจสอบการจัดการศึกษาของกระทรวง, ให้ความเห็น ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับแนวทางการติดตาม ตรวจสอบการจัดการศึกษาระดับกระทรวง ระดับภาค และระดับจังหวัด, พิจารณาให้ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายต่อคณะกรรมการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการจัดการศึกษาทุก 3 เดือนคณะอนุกรรมการประเมินผลการจัดการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ มีองค์ประกอบ ได้แก่ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการและปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เป็นที่ปรึกษา, หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธาน, นายประเสริฐ หอมดี ผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นรองประธาน กรรมการ ได้แก่ ผู้อำนวยการสำนักติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, ผู้อำนวยการสำนักติดตามและประเมินผล สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา, ผู้อำนวยการสำนักมาตรฐานและประเมินผลอุดมศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา, ผู้อำนวยการสำนักประเมินผลการจัดการศึกษา สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา, ผู้อำนวยการกลุ่มแผนงาน สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย, ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านส่งเสริมมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน โดยผู้อำนวยการสำนักตรวจราชการและติดตามประเมินผล เป็นกรรมการและเลขานุการ
– อำนาจหน้าที่ คือ กำหนดแนวทางการประเมินผลการจัดการศึกษาของกระทรวงตามนโยบายรัฐมนตรี, ดำเนินการประเมินผลการจัดการศึกษาของกระทรวง รวมทั้งพิจารณาผลการดำเนินงานการใช้จ่ายงบประมาณของหน่วยงานและสถานศึกษาในสังกัด เพื่อประเมินความเสี่ยงการใช้จ่ายและบริหารงบประมาณ, ให้ความเห็น ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับแนวทางการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการจัดการศึกษาระดับกระทรวง ระดับภาค และระดับจังหวัด, พิจารณาให้ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายต่อคณะกรรมการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการจัดการศึกษาทุก 3 เดือน
ที่มาของข่าวโดย
นวรัตน์ รามสูต, บัลลังก์ โรหิตเสถียร: สรุป/รายงาน
ยุทธพงศ์ เลือกกลั่นดี: ถ่ายภาพ
20/5/2560
ลิ้งก์ : http://www.moe.go.th/websm/2017/may/253.html