การเรียนการสอน

เปลี่ยนพฤติกรรมนักเรียนและครู ด้วยกระบวนการจิตศึกษา พัฒนาปัญญาภายใน

จิตศึกษา คือการพัฒนาปัญญาภายในหรือความฉลาดด้านใน หมายรวมถึงความฉลาดทางด้านจิตวิญญาณ (Spiritual Quotient : SQ) และความฉลาดทางด้านอารมณ์ (EmotionalQuotient : EQ) ซึ่งได้แก่ การรับรู้อารมณ์และความรู้สึกของตนเอง (รู้ตัว) และผู้อื่น การเห็นคุณค่าในตัวเอง คนอื่น และสิ่งต่างๆ เพื่อการดำเนินชีวิตอย่างมีเป้าหมายและมีความหมาย การอยู่ด้วยกันอย่างภารดรภาพ ยอมรับในความแตกต่าง เคารพและให้เกียรติกัน การมีวินัย มีความรับผิดชอบต่อตนเองและส่วนรวมอยู่อย่างพอดีและพอใจได้ง่าย การมีสติอยู่เสมอ รู้เท่าทันอารมณ์เพื่อให้รู้ว่าต้องหยุด หรือไปต่อกับสิ่งที่กำลังเป็นอยู่ มีความคิดสามารถจัดการอารมณ์ตนเองได้ การเห็นความสัมพันธ์เชื่อมโยงระหว่างตนเองกับสิ่งต่างๆ นอบน้อมต่อสรรพสิ่งที่เกื้อกูลกันอยู่ และการมีจิตใหญ่มีความรักความเมตตามหาศาล (วิเชียร ไชยบัง. 2554)

ครูหลายท่านคงรู้สึกปวดหัวทุกทีกับการต้องรับมือกับเด็กๆ นักเรียน เมื่อเกิดพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ เช่น ดื้อ ไม่มีระเบียบวินัย ขาดความรับผิดชอบ  หรือแม้กระทั่งชอบรังแกเพื่อน วันนี้จะพาไปดู โรงเรียนนอกกะลา ที่พาทำกิจกรรมจิตศึกษา กัน

ติดตามข่าวอื่น ๆ ได้ที่เพจ : https://www.facebook.com/rukkroo

เปลี่ยนพฤติกรรมนักเรียนและครู ด้วยกระบวนการจิตศึกษา พัฒนาปัญญาภายใน

กระบวนการ จิตศึกษา เป็นกระบวนการที่ได้ผลในการ สร้างวินัยเชิงบวก ให้เกิดขึ้นแก่ตัวผู้เรียน ที่ได้ผล ไม่ว่าจะชั้นอนุบาล 1 หรือแม้กระทั่งชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 หรือ คุณครูด้วยกันเอง

เปลี่ยนพฤติกรรมนักเรียนและครู ด้วยกระบวนการจิตศึกษา พัฒนาปัญญาภายใน

จิตศึกษา ได้ถูกพัฒนากระบวนการจัดการเรียนการสอนใน โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา โดยเหตุผลว่า เพื่อเป็นแนวคิดในการพัฒนาผู้เรียนและยกระดับความเป็นครู เพื่อการเรียนรู้และความงอกงามจากด้านใน หรือจากจิตใจ

เปลี่ยนพฤติกรรมนักเรียนและครู ด้วยกระบวนการจิตศึกษา พัฒนาปัญญาภายใน

ในขั้นตอนกระบวนการของ จิตศึกษา เด็กได้จะได้พัฒนาทางด้านจิตใจ ขณะเดียวกัน ครูก็ได้ร่วมพัฒนาและขัดเกลาตัวเองไปด้วย จิตศึกษาจึงช่วยพัฒนาครู และยกระดับ จิตวิญญาณของความเป็นครูไปด้วย

เปลี่ยนพฤติกรรมนักเรียนและครู ด้วยกระบวนการจิตศึกษา พัฒนาปัญญาภายใน

การใช้กระบวนการจิตศึกษาในชั้นเรียน จึงเป็นกระบวนการอันน่าทึ่ง ที่คุณครูหลายๆท่าน ถวิลหา  ผู้เขียน (แอดมิน) ได้ลองกระบวนการนี้ในโรงเรียน พบว่า พฤติกรรมของเด็กที่ได้เข้าสู่กระบวนการมีสภาวะจิตที่นิ่ง รู้ตนเอง กล้าพูด กล้าเปิดใจ และมีพฤติกรรมเชิงบวกดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด เมื่อผ่านมาเพียง 1 เทอม

กระบวนการ จิตศึกษา ใช้เวลาประมาณ 15- 20 นาทีก่อนเริ่มการจัดการเรียนการสอนในวิชาการต่างๆ โดยส่วนมากนักเรียนทุกคนจะนั่งล้อมเป็นวงกลมและครูอยู่ในวงกลมนั้นด้วย กระบวนการและวิธีการจะอยู่ในไฟล์ที่ให้ดาวน์โหลดด้านล่าง  ตอนนี้ลองดูที่คลิปก่อนนะครับ

โรงเรียนที่ใช้จิตศึกษา ต้องเป็นโรงเรียนที่ไม่ขึ้นอยู่อยู่กับกระทรวงศึกษาธิการ จริงหรือไม่ ?   ผู้เขียนขอตอบตรงนี้เลยว่า ไม่จริง มีโรงเรียน สพฐ. โรงเรียนเอกชนต่างๆ นำกระบวนการเหล่านี้ไปใช้ในโรงเรียนและได้ผลดีมากทีเดียว คุณครูสามารถเข้าดูกิจกรรมต่างๆได้ที่เพจหรือกลุ่ม เช่น
โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา : https://www.facebook.com/lamplaimatpattanaschool/
กลุ่ม : โรงเรียนที่ใช้จิตศึกษา
เว็บไซต์โรงเรียน : http://www.lpmp.org/presentation
เครือข่ายโรงเรียนนอกกะลา : https://lpmpgroup.blogspot.com/

จริงๆแล้วมีความรู้อีกมากมายเกี่ยวกับกระบวนการจิตศึกษาในโรงเรียน คุณครูที่สนใจและใคร่จะทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในห้องเรียน หรือแม้กระทั่งโรงเรียนของตนสามารถ หาความรู้ได้โดยง่าย ผ่านช่องทางลิ้งก์ที่ แอดมินแปะไว้ให้ ขอเพียงแค่เปิดใจ ครูจะเห็นความเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้นของนักเรียนและครูเอง

ดาวน์โหลด
คู่มือจิตศึกษา ระดับชั้นอนุบาล
คู่มือจิตศึกษา ระดับชั้นประถมศึกษา
คู่มือจิตศึกษา ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น

เรื่องอื่นๆที่น่าสนใจ

Back to top button