สาระความรู้

รัฐบาลทำทุกมิติ แก้หนี้ครัวเรือน ลดดอกเบี้ยเงินกู้ครู ข้าราชการ และสหกรณ์

รัฐบาลทำทุกมิติ แก้หนี้ครัวเรือน ลดดอกเบี้ยเงินกู้ครู ข้าราชการ และสหกรณ์

เพจ Live NBT2HD ได้นำเสนอข่าวผ่านเพจมีข้อความ ที่กล่าวถึงการ ลดดอกเบี้ยเงินกู้ครู ข้าราชการ และสหกรณ์ ดังนี้ว่า
รัฐบาล ทำทุกมิติ แก้หนี้ครัวเรือนวางรากฐานเศรษฐกิจ (ระยะยาว)

📌 ผลงานที่ผ่านมา “ปัญหาหนี้ครัวเรือน”
– ก่อนปี 2557 มีอัตราเพิ่มขึ้นเดือนละ 88,000 ล้านบาท
– หลังจากปี 2557 ถึงปัจจุบัน มีการเพิ่มขึ้นเดือนละ 50,000 ล้านบาท

ติดตามข่าวอื่น ๆ ได้ที่เพจ : https://www.facebook.com/rukkroo

📌 ปัญหาหนี้ในภาพรวม/กลุ่มใหญ่ๆ (ในปัจจุบัน)
– หนี้ กยศ. 3.6 ล้านคน และผู้ค้ำประกัน 2.8 ล้านคน
– หนี้ครู/ข้าราชการ 2.8 ล้านบัญชี
– หนี้เช่าซื้อรถยนต์และมอเตอร์ไซค์ 27.7 ล้านบัญชี
– หนี้บัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคล 49.9 ล้านบัญชี
– หนี้สินอื่นๆ อีก 51.2 ล้านบัญชี

✅ มาตรการแก้ปัญหาหนี้สินของรัฐบาล
(1) มาตรการระยะเร่งด่วน
– ลดภาระดอกเบี้ย (สินเชื่อรายย่อย PICO และ NANO)
– ลดดอกเบี้ยเงินกู้ (ครู ข้าราชการ และสหกรณ์)
– ปรับรูปแบบการชำระหนี้+ให้ความเป็นธรรม (ผู้เช่าซื้อรถยนต์/รถจักรยานยนต์)
– ทบทวนเพดานอัตราดอกเบี้ย (โดย ธปท.)
– กำกับดูแลบัตรเครดิต สินเชื่อส่วนบุคคล และสินเชื่อจำนำทะเบียน (โดย ธปท.)
– ช่วยเหลือในการไกล่เกลี่ยปัญหาหนี้สิน
– เพิ่มช่องทางการเข้าถึงแหล่งทุน และเพิ่มจำนวนโรงรับจำนำ/โรงรับจำนอง
(2) มาตรการระยะต่อไป
– เร่งส่งเสริมการแข่งขันให้อัตราดอกเบี้ยถูกลง
– ช่วยเหลือเด็กรุ่นใหม่/คนเกษียณที่มีภาระหนี้สิน โดยลดภาระค่าใช้จ่ายเรื่องที่อยู่อาศัย/ค่าเดินทาง
– จัดตั้งหน่วยงานขึ้นมาใหม่ เพื่อกำกับดูแลสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ และสินเชื่อรายย่อยเป็นการเฉพาะ
– จัดตั้งศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาททางธุรกิจและการเงิน เพื่อชะลอการฟ้องและอำนวยความสะดวกให้การฟื้นฟูหนี้รายบุคคลที่มีเจ้าหนี้หลายราย  เป็นต้น

✅ การแก้ปัญหาอย่างยั่งยืน (ที่ผ่านมา)
(1) กฎหมายขายฝาก…ช่วยคุ้มครอง ให้ความเป็นธรรม ไม่ให้ผู้จำนองถูกยึดที่ดินเหมือนในอดีต
(2) กฎหมายทวงหนี้…เพื่อคุ้มครองสิทธิ์ลูกหนี้ และขจัดวงจรผู้มีอิทธิพล
(3) กฎหมายปรับปรุงอัตราดอกเบี้ยและวิธีคิดดอกเบี้ย…ที่ใช้มาแล้ว 95 ปี (พ.ศ.2468 จนถึงปัจจุบัน) เพื่อไม่ให้ลูกหนี้ถูกเอาเปรียบ และสอดคล้องกับเศรษฐกิจในปัจจุบัน เช่น…
– กรณีที่สัญญาเงินกู้ไม่ได้ระบุอัตราดอกเบี้ยไว้ เดิมสามารถคิดดอกเบี้ยอัตราคงที่ 7.5% ต่อปี ให้แก้เป็น 3% ต่อปี
– กรณีผิดนัดชำระหนี้ เดิมคิดดอกเบี้ยอัตราคงที่ 7.5% ต่อปี แก้เป็น 5% ต่อปี โดยให้คำนวณดอกเบี้ยจากเงินต้น เฉพาะงวดที่ผิดนัดเท่านั้น ไม่ใช่คิดดอกเบี้ยจากเงินต้นที่ค้างอยู่ทั้งหมด

👍 วิสัยทัศน์ นายกฯ ด้านเศรษฐกิจ-การเงิน-การคลัง เช่น…
(1) สนับสนุน…การทำบัญชีครัวเรือน
(2) ผลักดัน…กองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) เพราะอยากให้ทุกคนมีบำนาญใช้ตลอดชีวิต
(3) ผลักดัน…กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) เพิ่มเติมจากเดิมที่เคยมีกองทุนเงินให้กู้ยิมเพื่อการศึกษา (กยศ.) เพื่อเป็นการเพิ่มโอกาสทางการศึกษาในรูปแบบเงินสนับสนุน ไม่ใช่เงินกู้ สำหรับคนยากจนจริงๆ ไม่ให้หลุดจากระบบการศึกษา
(4) ผลักดัน…การขับเคลื่อนประเทศไปสู่สังคมไร้เงินสด (Cashless Society) ภายใต้แผนยุทธศาสตร์ “ระบบการชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติ” (National e-Payment) โดยร่วมกับธนาคารพาณิชย์และธนาคารเฉพาะกิจของรัฐ (SFIs) ซึ่งประโยชน์ระยะยาว ได้แก่…
– คนไทยรู้จักและคุ้นเคยกับบริการรับโอนเงินรูปแบบใหม่ หรือ พร้อมเพย์ (Prompt pay) ตั้งแต่ปี 2560 ซึ่งมีค่าธรรมเนียมถูกมากๆ
– รัฐบาลยังประหยัดค่าใช้จ่ายปีละหลักหมื่นล้านบาท ในการขนส่งเงิน การรักษาความปลอดภัย การผลิตเงิน เป็นต้น
– ยามวิกฤตโควิดนี้ โครงการต่างๆ เช่น เราชนะ คนละครึ่ง ยิ่งใช้ยิ่งได้ รวมทั้งการค้าขายออนไลน์ ซึ่งเป็นการขยายผลมาจากการใช้เงินดิจิทัล ซึ่งโปร่งใส ตรวจสอบได้ ขจัดการทุจริต
– คนไทยก็เริ่มปรับตัวใช้จ่ายเงินดิจิทัลมากเป็นอันดับต้นๆ ของโลก

(+)โรงรับจำนำ/จำนอง…ดีอย่างไร?
– เป็นที่พึ่งสำหรับผู้มีรายได้น้อย หรือปานกลาง
– เป็นแหล่งเงินกู้ระยะสั้น เงื่อนไขน้อย
– ดอกเบี้ยต่ำเพียง 0.25% ถึง 1.25% ต่อเดือน
– ช่วยแก้ปัญหาเฉพาะหน้า เช่น ช่วงเปิดเทอม ยามป่วยไข้ ขายของขาดทุน หรือลงทุนเพิ่ม
– ลดการพึ่งพาหนี้นอกระบบ
– ลดวงจรนายทุนปล่อยเงินกู้ขูดรีด

ขอบคุณที่มาของข่าว : Live NBT2HD

เรื่องอื่นๆที่น่าสนใจ

Back to top button