หนังสือคู่มือ

แนวทางการใช้เงินกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน 2566

แนวทางการใช้เงินกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน 2566

แนวทางการใช้เงินกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน เป็นเงินที่ได้รับอุดหนุน จาก สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ซึ่งเป็นเงินในการโอนมาคราวเดียวกันกับ  เงินอุดหนุนรายหัว ตาม แนวทางการใช้จ่ายเงินอุดหนุนรายหัว ประจำปีงบประมาณ 2566 ซึ่งจะขอแยกออกมาอธิบายเฉพาะ เงินกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน เพื่อความเข้าใจอีกครั้ง

ค่ากิจกรรมพัฒนาคุณภาพผู้เรียน เป็นเงินในหมวด ที่ 5 ของเงิน ตามโครงการสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการจัดการศึกษา ตั้งแต่ระดับอนุบาลจนจบการศึกษาขั้นพื้นฐาน  โดย งบประมาณค่ากิจกรรมพัฒนาคุณภาพผู้เรียน งบประมาณพัฒนากิจกรรมพัฒนาคุณภาพผู้เรียนต่อนักเรียน 1 คน คือ

ติดตามข่าวอื่น ๆ ได้ที่เพจ : https://www.facebook.com/rukkroo

  1. ระดับชั้นอนุบาล  ได้รับ  438 บาท ต่อคน/ต่อปี  แบ่งเป็นเทอม ๆ ละ 219 บาท
  2. ระดับชั้นประถมศึกษา ได้รับ  489 บาท ต่อคน/ต่อปี  ภาคเรียนที่ 2  ได้รับ 244 บาท  ภาคเรียนที่ 1 ได้รับ 245 บาท
  3. ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น  ได้รับ  897 บาท ต่อคน/ต่อปี ภาคเรียนที่ 2  ได้รับ 448 บาท  ภาคเรียนที่ 1 ได้รับ 449 บาท
  4. ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย  ได้รับ  969 บาท ต่อคน/ต่อปี ภาคเรียนที่ 2  ได้รับ 484 บาท  ภาคเรียนที่ 1 ได้รับ 485 บาท
  5. ระดับปวช. 1-3 ที่จัดโดยสถานประกอบการ  ได้รับ  897 บาท ต่อคน/ต่อปี ภาคเรียนที่ 2  ได้รับ 484 บาท  ภาคเรียนที่ 1 ได้รับ 485 บาท

แนวทางการดําเนินการกิจกรรมพัฒนาคุณภาพผู้เรียน
การจัดกิจกรรมพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ให้สถานศึกษาจัดกิจกรรมให้ครอบคลุม โดยวางแผน ดําเนินการในแผนปฏิบัติการประจําปีของสถานศึกษา ซึ่งมีกิจกรรมหลักในการดําเนินงาน ดังนี้

  1. กิจกรรมวิชาการ  เป็นกิจกรรมที่สถานศึกษาจัดเพิ่มเติมนอกจากการเรียนปกติในชั้นเรียน เพื่อให้นักเรียนทุกคนได้รับการพัฒนาเต็มตามศักยภาพ ส่งเสริมนักเรียนที่มีศักยภาพในการเรียนรู้สู่ความเป็นเลิศและแก้ไขข้อบกพร่องของนักเรียนที่มีศักยภาพในการเรียนรู้ต่ำให้มีศักยภาพสูงขึ้น เน้นกิจกรรมที่เสริมสร้างจินตนาการให้โอกาสนักเรียนได้เรียนรู้ ได้แก่ กิจกรรมพัฒนาคุณภาพผู้เรียนด้านประชาธิปไตย เป็นต้นทั้งนี้ เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะและการเรียนรู้ โดยพัฒนาความสามารถด้านการสื่อสาร ด้านการคิดและการพัฒนากรอบความคิดแบบเปิดกว้าง (Growth Mindset) ด้านการแก้ปัญหา ด้านการใช้เทคโนโลยีและทักษะการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการเรียนรู้ 8 กลมสาระการเรียนรู้และเพื่อเสริมสร้างทักษะการทำงาน การดำรงชีพ และทักษะชีวิตตอบสนองความสนใจ ความถนัดและความต้องการของผู้เรียนตามความแตกต่างระหว่าง บุคคล ฝึกการทำงานทักษะทางอาชีพ ทรัพย์สินทางปัญญา อยู่อย่างพอเพียงและมีวินัยทางการเงิน พัฒนาความสามารถด้านการใช้
    ทักษะชีวิตและสร้างเสริมสมรรถภาพทางกาย รวมทั้งการส่งเสริมการศึกษาอาชีพเพื่อการมีงานทำ
  2. กิจกรรมคุณธรรม จริยธรรม/ลูกเสือ/เนตรนารี/ยุวกาชาด/ผู้บําเพ็ญประโยชน์  ช่วยส่งเสริมให้นักเรียนมีคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยมที่ดีงามและคุณลักษณะที่พึงประสงค์ เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะที่ดีโดยปลูกฝังค่านิยมและจิตสำนึกการทำประโยชน์ต่อสังคม มีจิตสาธารณะและการให้บริการด้านต่าง ๆ ทั้งที่เป็นประโยชน์ต่อตนเองและส่วนรวม ปลูกฝังความรักชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม (มีวินัย ซื่อสัตย์ สุจริต เสียสละ อดทน มุ่งมั่นในการทำงาน ความกตัญู ปลูกฝังความภาคภูมิใจในความเป็นไทย และหวงแหนสมบัติของชาติ โดยมีสาระสำคัญดังต่อไปนี้
    1) กิจกรรมคุณธรรม จริยธรรม จิตอาสา ได้แก่ ค่ายเด็กดีของชุมชน ค่ายรักษ์โลก  ค่ายรักษ์สัตว์ ค่ายยุวชนคนดี ค่ายสันติวิธี กิจกรรมอาสาพัฒนา กิจกรรมอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  กิจกรรมเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมหลัก 12 ประการ เป็นต้น
    2) ลูกเสือ/เนตรนารี/ยุวกาชาด/ผู้บำเพ็ญประโยชน์ เป็นกิจกรรมภาคปฏิบัติ  ในการเรียนลูกเสือ/เนตรนารี/ยุวกาชาด/ผู้บำเพ็ญประโยชน์ โดยให้นักเรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง  ฝึกทักษะการจัดการเผชิญสถานการณ์การใช้ชีวิตร่วมกันเป็นหมู่คณะ ได้แก่ การเดินทางไกลการอยู่ค่ายพักแรมการผจญภัย (ไต่เขา ปีนต้นไม้ ฯลฯ)
  3. กิจกรรมทัศนศึกษา  กิจกรรมที่เน้นในเรื่องภูมิศาสตร์และประวัติศาสตร์ของชาติและท้องถิ่น และ/หรือทัศนศึกษาตามแหล่งเรียนรู้ต่าง ๆเพื่อสร้างเสริมประสบการณ์ตรงให้แก่นักเรียนที่เพิ่มเติมจากการเรียนในห้องเรียน เพื่อให้นักเรียนมีความรู้และประสบการณ์อย่างกว้างขวาง
  4. กิจกรรมการบริการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) สถานศึกษาจัดทำโครงการบริการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT)  ในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนี้เป็นกิจกรรมการให้บริการICT หรือบริการการเรียนรู้แก่นักเรียนเพิ่มเติมจาก การเรียนคอมพิวเตอร์พื้นฐานตามหลักสูตรปกติ เช่น กิจกรรมการเรียนรู้เข้าค่ายพัฒนาตนเองด้าน ICT กิจกรรมการออกแบบสร้างสรรค์ด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์กิจกรรมการให้บริการสืบค้นคว้ามรู้ ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต และกิจกรรมการให้บริการคอมพิวเตอร์ในการจัดทำสื่อรายงาน การนำเสนอข้อมูล เป็นต้น
  5. กิจกรรมการจัดการเรียนการสอนทางไกลในช่วง สถานการณ์การแพร่ระบาด ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) หรือโรคอุบัติใหม่ หรือเกิดสถานการณ์ที่สถานศึกษาไม่สามารถจัดการเรียนการสอนตามปกติได้ เช่น การผลิตสื่อการเรียนการสอน ใบงาน แบบฝึกหัดและค่าใช้จ่ายในการติดตามและเยี่ยมบ้านนี้กเรียน เพื่อเป็นค่าเบี้ยเลี้ยง ค่าพาหนะ ค่าน้ำมีนเชื่อเพลิงของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา สามารถนำไปใช้ในการจัดหาอินเทอร์เน็ตซิมหรือชั่วโมงอินเทอร์เน็ต สำหรับนักเรียน เพื่อใช้ในกิจกรรมการเรียนการสอน เป็นต้น

อนึ่ง หากมีสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) หรือ  โรคอุบัติใหม่ หรือเกิดสถานการณ์ที่สถานศึกษาไม่สามารถจัดการเรียนการสอนตามปกติได้ สถานศึกษา  สามารถพิจารณาเลือกจัดกิจกรรม โดยบูรณาการกิจกรรมให้เหมาะสมกับสถานการณ์ กรณีสถานศึกษามีความจำเป็นจะจัดซื้อวัสดุเวชภัณฑ์จะต้องมีงบประมาณเพียงพอไม่ส่งผลกระทบต่อการใช้งบประมาณในการดำเนินการจัดกิจกรรมพัฒนาคุณภาพผู้เรียน สถานศึกษาำเนินการปรับแผนปฏิบัติการประจำปี/แผนการใช้จ่ายงบประมาณ เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ โดยผ่านความเห็นชอบของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม โดยดาวน์โหลด แนวทางการใช้จ่ายเงินอุดหนุนรายหัว ประจำปีงบประมาณ 2566
ที่มา : สนผ.สพฐ.

เรื่องอื่นๆที่น่าสนใจ

Back to top button