หลักเกณฑ์และวิธีการกําหนดสถานศึกษาในพื้นที่พิเศษ เพื่อใช้เป็นเงื่อนไขในการลดระยะเวลาการขอมีวิทยฐานะหรือเลื่อนวิทยฐานะ ว26/2565
หลักเกณฑ์และวิธีการกําหนดสถานศึกษาในพื้นที่พิเศษ เพื่อใช้เป็นเงื่อนไขในการลดระยะเวลาการขอมีวิทยฐานะหรือเลื่อนวิทยฐานะ
หลักเกณฑ์และวิธีการกําหนดสถานศึกษาในพื้นที่พิเศษ เพื่อใช้เป็นเงื่อนไขในการลดระยะเวลาการขอมีวิทยฐานะหรือเลื่อนวิทยฐานะ สําหรับสายงานการสอนและสายงานบริหารสถานศึกษา (ส่งพร้อมหนังสือสํานักงาน ก.ค.ศ. ที่ ศธ 0206.4/ว26 ลงวันที่ 11 ตุลาคม 2565 )
1. ในหลักเกณฑ์และวิธีการนี้
ติดตามข่าวอื่น ๆ ได้ที่เพจ : https://www.facebook.com/rukkroo
“สถานศึกษาในพื้นที่พิเศษ” หมายความว่า สถานศึกษา สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ที่ได้รับการประกาศเป็นสํานักงานในพื้นที่พิเศษตามประกาศกระทรวงการคลัง หรือ สถานศึกษา ในพื้นที่พิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ จังหวัดยะลา ปัตตานี นราธิวาส และสงขลา (เฉพาะพื้นที่ อําเภอเทพา สะบ้าย้อย นาทวี และจะนะ) หรือเหตุอื่นที่ ก.ค.ศ. กําหนด
“พื้นที่สูง” หมายความว่า สถานศึกษาที่ตั้งอยู่ในพื้นที่เนินเขา ภูเขา เทือกเขาที่มี ความสูงกว่าระดับน้ําทะเลปานกลาง 500 เมตรขึ้นไป หรือตั้งอยู่ในพื้นที่เนินเขา ภูเขา เทือกเขาสูงกว่า ความสูงเฉลี่ยของจังหวัด หรือ สถานศึกษาที่ตั้งอยู่ในหุบเขาระหว่างภูเขาที่มีเส้นทางคมนาคม จากศาลากลางจังหวัดถึงที่ตั้งของสถานศึกษา ผ่านเนินเขา ภูเขา เทือกเขาความสูงเฉลี่ยมากกว่า ระดับน้ําทะเลปานกลาง 500 เมตรขึ้นไป
พื้นที่เกาะ” หมายความว่า สถานศึกษาที่ตั้งอยู่บนพื้นที่ที่มีน้ําล้อมรอบโดยตลอด พื้นที่มีลักษณะตัดขาดตลอดปี และต้องเดินทางสัญจรโดยทางเรือหรือทางอากาศเท่านั้น ไม่สามารถสัญจร โดยทางถนนได้
“พื้นที่ห่างไกลทุรกันดาร” หมายความว่า สถานศึกษาที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ห่างไกลความเจริญ และมีความสําคัญด้านความมั่นคงชายแดน
2. การพิจารณาสถานศึกษาในพื้นที่พิเศษ เพื่อใช้เป็นเงื่อนไขในการลดระยะเวลาการขอมีวิทยฐานะ หรือเลื่อนวิทยฐานะสําหรับสายงานการสอนและสายงานบริหารสถานศึกษา ดังนี้
2.1 สถานศึกษาที่ได้รับการประกาศเป็นสํานักงานในพื้นที่ พิเศษตามประกาศ กระทรวงการคลัง พิจารณาจากสถานศึกษาในพื้นที่พิเศษซึ่งมีที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ที่มีความยากลําบาก โดยเป็นพื้นที่ที่เป็นเกาะ หรือบนภูเขาสูง หรือหุบเขา หรือเชิงเขา ที่ไม่สามารถเดินทางด้วยพาหนะใด ๆ ได้สะดวกตลอดปีและได้รับการประกาศเป็นสํานักงานในพื้นที่พิเศษตามประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง กําหนดสํานักงานในพื้นที่พิเศษ โดยให้ส่วนราชการเสนอรายชื่อสถานศึกษาที่ได้รับการประกาศ เป็นสํานักงานในพื้นที่พิเศษ ไปยังสํานักงาน ก.ค.ศ. ทุกปีงบประมาณที่ได้รับการประกาศฯ เพื่อเสนอ ก.ค.ศ. พิจารณาต่อไป
2.2 สถานศึกษาในพื้นที่พิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ จังหวัดยะลา ปัตตานี นราธิวาส และสงขลา (เฉพาะพื้นที่อําเภอเทพา สะบ้าย้อย นาทวี และจะนะ) พิจารณาจากสถานศึกษาที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ที่มีความเสี่ยงต่อความมั่นคงของประเทศ ในพื้นที่พิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ จังหวัดยะลา ปัตตานี นราธิวาส และสงขลา (เฉพาะพื้นที่อําเภอ เทพา สะบ้าย้อย นาทวี และจะนะ) โดยให้ส่วนราชการเสนอรายชื่อสถานศึกษาในพื้นที่พิเศษเฉพาะกิจจังหวัด ชายแดนภาคใต้ฯ ไปยังสํานักงาน ก.ค.ศ. เพื่อเสนอ ก.ค.ศ. พิจารณาต่อไป
2.3 เหตุอื่นที่ ก.ค.ศ. กําหนด สถานศึกษาที่มีความยากลําบากของการคมนาคมและมีความยุ่งยากในการบริหาร จัดการศึกษา พิจารณาดังนี้
2.3.1 ความยากลําบากของการคมนาคม พิจารณาจาก สภาพที่ตั้งของสถานศึกษา ซึ่งตั้งอยู่ในพื้นที่สูง หรือพื้นที่เกาะ หรือพื้นที่ห่างไกลทุรกันดาร
2.3.2 ความยุ่งยากในการบริหารจัดการศึกษา พิจารณาจาก ลักษณะการบริหารจัดการ และการจัดการเรียนการสอนที่มีความยุ่งยากลําบากมากกว่าสถานศึกษาที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ปกติ อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่าง ดังนี้
1) มีสาขาหรือห้องเรียนสาขา หรือมีศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขา “แม่ฟ้าหลวง”
2) มีนักเรียนบ้านไกลในเขตพื้นที่บริการมาพักนอนในสถานศึกษา ทั้งนี้ ไม่รวมถึงสถานศึกษาในลักษณะที่มีนักเรียนประจํา หรือสถานศึกษาที่จัดการศึกษาเพื่อความเป็นเลิศ เฉพาะด้าน หรือสถานศึกษาสังกัดสํานักบริหารงานการศึกษาพิเศษ
4) มีนักเรียนกลุ่มชาติพันธุ์ ซึ่งเป็นกลุ่มคนที่มีจุดกําเนิดของบรรพบุรุษร่วมกัน มีขนบธรรมเนียมประเพณีเดียวกัน และพูดภาษาเดียวกันที่ไม่ใช้ภาษาไทยเป็นภาษาหลักในการสื่อสาร รวมทั้งมีความหลากหลายทางชาติพันธุ์
4) มีความขาดแคลนระบบสาธารณูปโภค
โดยให้ส่วนราชการเสนอรายชื่อสถานศึกษาที่มีองค์ประกอบตามข้อ 2.3.1 และ ข้อ 2.3.2 ไปยังสํานักงาน ก.ค.ศ. เพื่อเสนอ ก.ค.ศ. พิจารณาต่อไป ทั้งนี้ การพิจารณาเหตุอื่น ก.ค.ศ. สามารถกําหนดเพิ่มเติมได้
3. สถานศึกษาใดมีรายชื่อตามข้อ 2.1 หรือ ข้อ 2.2 หรือ ข้อ 2.3 ข้อใดข้อหนึ่งแล้ว ไม่ต้องแจ้งรายชื่อสถานศึกษานั้นซ้ําอีก
ที่มา : สำนักงาน ก.ค.ศ.