ข่าวการศึกษา

คืน อ.ก.ค.ศ เขตพื้นที่ กระทบครูที่กำลังยื่นวิทยฐานะ PA ไม่เสียสิทธิ์ แต่ผลพิจารณาอาจจะล่าช้ากว่าปกติ

คืน อ.ก.ค.ศ เขตพื้นที่ กระทบครูที่กำลังยื่นวิทยฐานะ PA ไม่เสียสิทธิ์ แต่ผลพิจารณาอาจจะล่าช้ากว่าปกติ

คืน อ.ก.ค.ศ เขตพื้นที่  คือ  พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 19/2560 เรื่อง การปฏิรูปการศึกษาในภูมิภาคของกระทรวงศึกษาธิการ ลงวันที่ 3 เมษายน พุทธศักราช 2560 พ.ศ. 2565 เดิมเป็นอำนาจของ กศจ. แต่เมื่อ พ.ร.บ. ฉบับนี้ ประกาศใช้แล้ว ต้องรอให้มีองค์คณะของ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่ฯ ก่อนจึงดำเนินการต่อได้ 

อย่างไรก็ตาม ผลกระทบที่เกิดจากร่าง พ.ร.บ. ฉบับนี้ จะเป็นเรื่องของ PA และ DPA เนื่องจากครูที่ยื่นวิทยฐานะมาก่อนหน้านี้จะต้องรอให้มีการตั้ง อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่ฯ ก่อน จึงจะอนุมัติได้ ซึ่งไม่ได้ทำให้เสียสิทธิ เพียงแต่ผลการพิจารณาอาจจะล่าช้ากว่าปกติ และกระบวนการที่เป็นอำนาจของ กศจ. ต้องรอให้มีองค์คณะของ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่ฯ ก่อนจึงดำเนินการต่อได้ อย่างไรก็ตาม ศธ.ได้ให้นโยบายเพื่อให้ทั้งสองส่วนทำงานร่วมกันในระหว่างนี้ได้ โดยคาดว่าจะดำเนินการแล้วเสร็จภายใน 31 มกราคม 2566

ข้อความจากข่าวของเว็บไซต์ ศธ 360 องศา ซึ่งได้เผยแพร่ไว้เมื่อ 9 พฤศจิกายน 2565 โดยข้อความทั้งหมดมีดังนี้

ติดตามข่าวอื่น ๆ ได้ที่เพจ : https://www.facebook.com/rukkroo

(9 พฤศจิกายน 2565) นางสาวตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายนที่ผ่านมา พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ที่ 19/2560 เรื่องการปฏิรูปการศึกษาในภูมิภาคของกระทรวงศึกษาธิการ ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา มีผลใช้บังคับเป็นกฎหมายแล้ว

ทั้งนี้ มีผลให้อำนาจหน้าที่ที่เกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาของคณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัด (กศจ.) ไปเป็นของคณะอนุกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาประจำเขตพื้นที่ (อ.ก.ค.ศ.) และ พ.ร.บ.ฉบับนี้ได้กำหนดให้คณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) ดำเนินการเพื่อให้ได้มาซึ่ง อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา และ อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ให้แล้วเสร็จภายใน 90 วัน นับตั้งแต่วันที่ พ.ร.บ.นี้บังคับใช้

ทั้งนี้ กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ได้เตรียมการรองรับ พ.ร.บ.ฉบับนี้มาอย่างต่อเนื่อง พร้อมเดินหน้าให้เป็นไปตามกฎหมาย และดำเนินการให้เสร็จเรียบร้อยภายในต้นเดือนกุมภาพันธ์ 2566 โดยที่ผ่านมาสำนักงาน ก.ค.ศ.ได้ยกร่างจำนวน องค์ประกอบ หลักเกณฑ์ และวิธีการได้มาซึ่ง อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่ฯ เพื่อนำเสนอให้ที่ประชุม ก.ค.ศ.พิจารณาแล้ว ขณะเดียวกันได้มอบหมายให้สำนักงานศึกษาธิการจังหวัด (ศธจ.) เตรียมดำเนินการถ่ายโอนภารกิจเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลไปยังสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาทุกเขตเตรียมการรองรับ โดยจัดเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานและอบรมให้มีความรู้ เพื่อให้ช่วงรอยต่อการถ่ายโอนการบริหารงานบุคคลไม่มีปัญหา

ส่วนการบริหารงานบุคคลในระหว่างนี้ มาตรา 11 ของ พ.ร.บ.ฉบับนี้ ได้ระบุไว้ว่าการดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งของ กศจ. ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการบริหารงานบุคคล ซึ่งกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากำหนดไว้ให้เป็นอำนาจของ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่ฯ ที่ค้างการดำเนินการอยู่ก่อนวันที่ พ.ร.บ.นี้ใช้บังคับ ให้ดำเนินการต่อไปตามคำสั่งหัวหน้า คสช.ที่ 19 /2560 เรื่อง การปฏิรูปการศึกษาในภูมิภาคของกระทรวงศึกษาธิการ ลงวันที่ 3 เมษายน พ.ศ.2560 จนกว่าจะมี อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่ฯ ตามพระราชบัญญัตินี้

นายประวิต เอราวรรณ์ เลขาธิการ ก.ค.ศ. กล่าวเพิ่มเติมว่า สำนักงาน ก.ค.ศ. ได้เตรียมการไว้ 2 เรื่องหลัก คือ 1) ผลกระทบที่จะเกิดขึ้นทันทีหลัง พ.ร.บ. ฉบับนี้ประกาศใช้ เช่น เรื่อง PA ที่จะต้องมีการปรับระบบต่าง ๆ 2) กระบวนการเตรียมการรองรับ รวมถึงเรื่องหลักเกณฑ์วิธีการสรรหา อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่ฯ ซึ่งก่อนหน้านี้ได้เตรียมการมาบ้างแล้ว ไม่ว่าจะเป็นการรับฟังความคิดเห็น หารือเกี่ยวกับปัญหาต่าง ๆ ที่ผ่านมา ตลอดจนความคาดหวังที่อยากให้เกิดขึ้น

ด้านองค์ประกอบของ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่ฯ ได้ข้อสรุปเบื้องต้นว่าจะมีผู้ทรงคุณวุฒิเป็นประธาน โดย ผอ.เขตพื้นที่ฯ เป็นเลขานุการ และองค์ประกอบไตรภาคี ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิ 3 คน ผู้แทนส่วนราชการต่าง ๆ 3 คน และผู้แทนข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา 3 คน รวมเป็น 11 คน โดยจะเน้นการทำงานที่มีประสิทธิภาพ คล่องตัว มีความโปร่งใส และไม่เป็นคณะที่ใหญ่มาก คาดว่าร่างหลักเกณฑ์วิธีการสรรหาฯ จะแล้วเสร็จในสัปดาห์หน้า พร้อมเสนอเข้าที่ประชุม ก.ค.ศ.พิจารณา ซึ่งเมื่อได้หลักเกณฑ์ใหม่แล้วก็พร้อมที่จะประกาศใช้และสรรหาได้ทันที

ในส่วนของกฎหมาย ก.ค.ศ.ได้ทำแผนปรับเปลี่ยนหลักเกณฑ์เบื้องต้นในระหว่างที่รอให้มี อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่ฯ คาดว่าจะแล้วเสร็จภายใน 2 เดือน ซึ่งผลที่เกิดขึ้นทันทีคือการใช้อำนาจตามมาตรา 53 ในการบรรจุ แต่งตั้ง โอนย้ายข้าราชการ จากอำนาจของศึกษาธิการจังหวัดไปเป็นอำนาจของ ผอ.เขตพื้นที่ฯ และ ผอ.สถานศึกษา ส่วนบางเรื่องที่ผ่านการพิจารณาของ กศจ. แล้ว แต่ยังไม่มีข้อสรุปว่าอยู่ในความรับผิดชอบของฝ่ายใดนั้น ทาง ก.ค.ศ. จะแจ้งแนวทางการปฏิบัติในเร็ว ๆ นี้ เพื่อให้เป็นแนวปฏิบัติไปในทิศทางเดียวกันทั่วประเทศ

ทั้งนี้ ผลกระทบที่เกิดจากร่าง พ.ร.บ. ฉบับนี้ จะเป็นเรื่องของ PA และ DPA เนื่องจากครูที่ยื่นวิทยฐานะมาก่อนหน้านี้จะต้องรอให้มีการตั้ง อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่ฯ ก่อน จึงจะอนุมัติได้ ซึ่งไม่ได้ทำให้เสียสิทธิ เพียงแต่ผลการพิจารณาอาจจะล่าช้ากว่าปกติ และกระบวนการที่เป็นอำนาจของ กศจ. ต้องรอให้มีองค์คณะของ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่ฯ ก่อนจึงดำเนินการต่อได้ อย่างไรก็ตาม ศธ.ได้ให้นโยบายเพื่อให้ทั้งสองส่วนทำงานร่วมกันในระหว่างนี้ได้ โดยคาดว่าจะดำเนินการแล้วเสร็จภายใน 31 มกราคม 2566

และ ท่าน เลขาธิการ ก.ค.ศ. ก็ได้หารือไว้ล่วงหน้าแล้ว ดังข่าว เลขาฯ ก.ค.ศ. การประชุมหารือแนวปฏิบัติการเข้าใช้งานระบบ DPA หลัง รัฐสภามีมติ คืนอำนาจบริหารงานบุคคลให้เขตพื้นที่ ฯ

ขอบคุณเนื้อข่าวจากเว็บไซต์ ศธ 360 องศา    rukkroo.com นำมาเพื่อให้ครูที่กำลังรอผลการประเมินวิทยฐานะได้ เข้าใจและคลายกังวลลงครับ

เรื่องอื่นๆที่น่าสนใจ

Back to top button