การประเมินเพื่อการเรียนรู้ การตั้งคำถามและการให้ข้อมูลย้อนกลับเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ โดย สวก.สพฐ.

การประเมินเพื่อการเรียนรู้ การตั้งคำถามและการให้ข้อมูลย้อนกลับเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ โดย สวก.สพฐ.
การประเมินนี้เป็นองค์ประกอบที่สำคัญในกระบวนการเรียนรู้และกระบวนการสอนการประเมินเพื่อเรียนรู้เป็นการประเมินผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ซึ่งมุ่งเน้นไปที่ผู้เรียนเป็นสำคัญและใช้กรวัดและประเมินผลเป็นสิ่งขับเคลื่อนในกระบวนกรจัดกรเรียนรู้ดังนั้น กรปฏิรูปการวัดและการประเมินในระดับชั้นเรียนจึงมีความสำคัญต่อกรพัฒนคุณภาพการศึกษโดยเฉพะอย่งยิ่งกรตั้งคำถามที่มีประสิทธิภพและกรให้ข้อมูลกระตุ้นกรเรียนรู้สำหรับเอกสาร
“การประเมินเพื่อเรียนรู้ : การตั้งคำถามและการให้ข้อมูลย้อนกลับที่ส่งเสริมการเรียนรู้” เล่มนี้ได้เรียบเรียงขึ้นจากการสังเคราะห์เอกสาร ตำราและจากการวิจัยและพัฒนา เพื่อให้ครูผู้สอนได้ใช้ศึกษาเพื่อเพิ่มพูนความรู้เกี่ยวกับเทคนิคการตั้งคำถามเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียน แนวคิด หลักการ ทฤษฎีการให้ข้อมูลย้อนกลับที่มีประสิทธิภาพ รวมถึงตัวอย่างการนำเทคนิคการตั้งคำถามและการให้ข้อมูลย้อนกลับสู่ชั้นเรียน การประเมินคุณภาพผู้เรียนในการจัดการเรียนรู้เป็นส่วนสำคัญที่ครูต้องดำเนินการ
ตลอดเวลาซึ่งกระบวนทัศน์การประเมินผลการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 เน้นการประเมินเพื่อปรับปรุงและพัฒนาการเรียนรู้ (Improve student learning) โดยเฉพะการประเมินเพื่อเรียนรู้ (Assessment for learning) โดยเอกสารเล่มนี้มีจุดเน้น 2 เรื่อง ได้แก่
1) การตั้งคำถามกระตุ้นการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างการคิดขั้นสูง การตั้งคำถมที่ดีและมีประสิทธิภาพต้องเป็นคำถามที่ทรงพลัง (Power questions) ซึ่งเป็นคำถามกระตุ้นการคิดและนำไปสู่การเรียนรู้สอดคล้องกับ จุดมุ่งหมายของการเรียนรู้
2) การให้ข้อมูลที่กระตุ้นการเรียนรู้ของผู้เรียน
แบ่งได้ 3 ลักษณะ ได้แก่ การให้ข้อมูลกระตุ้นการเรียนรู้ (Feed-up) การให้ข้อมูลย้อนกลับ (Feedback) และการให้ข้อมูลเพื่อการเรียนรู้ต่อยอด (Feed forward)
ดาวน์โหลดหนังสือคู่มือดีๆ นี้ได้ที่ >> : การประเมินเพื่อการเรียนรู้ การตั้งคำถามและการให้ข้อมูลย้อนกลับเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้
ติดตามข่าวอื่น ๆ ได้ที่เพจ : https://www.facebook.com/rukkroo