ข่าวการศึกษา

ปี2560 เด็กหญิง ป.5 จะได้รับ ‘วัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก’ ทุกคน

 

ด้าน ศ.พญ.กุลกัญญา โชคไพบูลย์กิจ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวเสริมว่า มะเร็งปากมดลูก เป็นมะเร็งที่พบในอันดับต้นๆ ของผู้หญิงไทย และมีผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกรายใหม่เพิ่มขึ้นประมาณ 8,000 คน มีผู้ป่วยเสียชีวิตปีละประมาณ 4,000 คน เฉลี่ยอายุของผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกอยู่ที่ 30-60 ปี ซึ่งเป็นวัยที่มีคุณภาพของสังคม ถือเป็นอัตราการเสียชีวิตของผู้หญิงที่เป็นโรคนี้ค่อนข้างสูง ทั้งๆ ที่มีการส่งเสริมการตรวจแป๊ปสเมียร์อย่างกว้างขวางก็ตาม เพราะฉะนั้น ถ้าหากประเทศไทยสามารถทำให้เด็กผู้หญิงทุกคนในเจเนอเรชั่นใหม่ ช่วงอายุ 9-15 ปี ได้รับวัคซีนป้องกัน ก่อนจะมีเพศสัมพันธ์ พร้อมไปกับการตรวจคัดกรองที่ปฏิบัติอยู่ จะทำให้ผู้หญิงไทยรุ่นต่อไป ไม่ต้องเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งปากมดลูก และอัตราการเสียชีวิตของผู้หญิงจากโรคมะเร็งปากมดลูก ก็จะลดน้อยลงเรื่อยๆ ทุกปีด้วย

ติดตามข่าวอื่น ๆ ได้ที่เพจ : https://www.facebook.com/rukkroo

“มะเร็งปากมดลูก ติดต่อได้จากการมีเพศสัมพันธ์ ซึ่งผู้หญิงอาจจะไม่รู้ตัวว่าได้รับเชื้อมาแล้ว วัคซีนเอชพีวี สามารถเริ่มให้ได้ตั้งแต่อายุ 9-15 ปี ถ้าเทียบกับอายุเด็กหญิงไทย เท่ากับกำลังเรียนอยู่ชั้น ป.5 ซึ่งถือเป็นวัยที่เหมาะสมที่สุดในการได้รับวัคซีน เพราะเป็นวัยที่ยังไม่ค่อยเรียนรู้เรื่องเพศมากนัก ถ้าขึ้น ป.6 ก็อาจจะเริ่มมีแฟน พอเข้า ม.1 เปลี่ยนโรงเรียนใหม่ มีเพื่อนใหม่ มีเพื่อนผู้ชายใหม่ มีการคบหาเป็นแฟนกับเพื่อนชาย พอขึ้น ม.2 เทอมแรก ก็เริ่มให้ความสำคัญเพื่อนชายคนพิเศษมากขึ้น พอ ม.2 เทอมสอง เป็นช่วงที่มีอัตราการมีเพศสัมพันธ์เกิดขึ้น จากการสำรวจความเป็นไปได้ พบว่า ในช่วงเทอมสองมีช่วงเวลาเป็นใจในการมีเพศสัมพันธ์อยู่ 2 ช่วง คือ ลอยกระทง กับวาเลนไทน์ ซึ่งเสี่ยงต่อการมีเพศสัมพันธ์มาก หากมีเพศสัมพันธ์เมื่ออายุยังน้อย โอกาสเกิดโรคมะเร็งปากมดลูกก็มีมากขึ้น หวังเป็นอย่างยิ่งว่า ทั้งทางภาครัฐและเอกชนจะให้ความสำคัญกับโรคมะเร็งปากมดลูก และช่วยให้ผู้หญิงไทยทุกคนได้รับวัคซีนเอชพีในการป้องกันโรคนี้ด้วย” ศ.พญ.กุลกัญญา กล่าว

ปัญหาสำคัญของสุขภาวะของแม่และเด็ก ถือเป็นประเด็นสำคัญใน การประชุมวิชาการระบาดวิทยานานาชาติระดับภูมิเอเชีย ที่จัดโดย สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ องค์กรระบาดวิทยานานาชาติ (IEA) องค์การอนามัยโลก ยูนิเซฟ องค์กร JWF กระทรวงสาธารณสุข และ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ที่ประชุมได้นำเสนอปัญหา และทางออกด้านระบาดวิทยาทุกเรื่องที่กำลังส่งผลกระทบในครอบครัวและเด็กในระดับโลก เป็นเวทีแลกเปลี่ยนเชิงวิชาการสู่สังคมที่จะนำไปสู่การแสวงหาทางออกของประเทศในด้านสุขภาวะแม่และเด็ก ในยุคเทคโนโลยี รวมถึงการได้รับวัคซีนเอชพีวีของผู้หญิง

อ่านเนื้อหาข่าวโดยละเอียดได้ที่ : คมชัดลึก

เรื่องอื่นๆที่น่าสนใจ

Back to top button