อุปสรรค “อย่างใหม่”การศึกษาไทย
อุปสรรค “อย่างใหม่”การศึกษาไทย
***คือ การใช้ O-net ผิดวัตถุประสงค์ และการนำผลการสอบไปใช้ผิดทาง*** อุปสรรคเก่า ที่ยังไม่สะสาง ยกตัวอย่าง เช่น..
ติดตามข่าวอื่น ๆ ได้ที่เพจ : https://www.facebook.com/rukkroo
>>>การเพิ่มภาระงานนอกการสอนนักเรียนทั้งทางตรงและทางอ้อม การประเมินสารพัดรูปแบบฯลฯ..ทำให้ครูมีเวลาสอนน้อย การแก้ปัญหาเรื่องการเรียนการสอน “ซึ่งเป็นธรรมชาติขิงการศึกษา” เป็นไปได้ยาก..
>>>ความเข้าใจผิด คิดว่าครูสอนไม่เป็น จึงถูกเรียกอบรมบ่อยๆ เข้าใจปัญหาการศึกษาคนละอย่าง ไม่ไว้ใจครูว่ารู้ปัญหาตามความเป็นจริง ทั้งๆที่ครูเห็นและเข้าใจปัญหาด้วยตนเอง รู้ความเปลี่ยนแปลงของโลกการศึกษาจาก ICT ทำให้ทุกคนเรียนทันกันหมด..เปรียบเหมือน “ตั้งใจจะสอนปลาให้ว่ายน้ำ เพราะนึกว่าตนเองรู้ดีกว่าปลา”…
>>>นโยบายการศึกษาที่จมปลักอยู่กับการบริหารแบบเก่าเมื่อร้อยปีก่อนของศตวรรษที่ 20 ซึ่งเป็นระบบสั่งการรวมศูนย์ที่ส่วนกลาง มันเคยได้ผลดีสำหรับยุคนั้น.. แต่ในวันนี้ “สถานการณ์ของสังคมและโลกพัฒนาไปจากเดิมถึง 100 ปี”..หลายๆเรื่อง “ตกยุค” และสวนทางเป็นอุปสรรคต่อการเรียนรู้แห่งศตวรรษที่ 21.ไปอย่างสิ้นเชิง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องการบริหารการศึกษา การเรียนการสอน และการวัดผลประเมินผล..
ฯลฯ…
อุปสรรคอย่างใหม่ตามมาอีก..
คือ การใช้ O-net ผิดวัตถุประสงค์ และการนำผลการสอบไปใช้ผิดทาง เพราะผลของมัน “กลายเป็นตัวกำหนด “อนาคต” ของ ผู้บริหาร ครู และนักเรียนอย่างช่วยไม่ได้..เป็นตัว “บีบบังคับ” ให้การเรียนการสอนจาก “การสอนคนให้มีคุณภาพ” ไปเป็นการสอนเพื่อ “ติว O-net” ให้สอบได้คะแนนมากๆ..O-net จึงกลายเป็น “ตัวปิดกั้น” การยกระดับการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาการศึกษาไทยอย่างสิ้นเชิง
***ขอเรียนว่า O-net เป็นของดี หากนำมาใช้ให้ถูกวิธี ใช้ถูกทาง และใช้ให้ตรงตรงกับวัตถุประสงค์***
O-NET มาจากคำว่า Ordinary National Educational Test มีวัตถุประสงค ดังนี้
1.เพื่อทดสอบ “ความรู้และความคิด” ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
2.เพื่อนำผลการทดสอบไปใช้เป็นองค์ประกอบหนึ่งในการจบการศึกษา ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551
3.เพื่อนำผลการทดสอบไปใช้ในการปรับปรุงคุณภาพการเรียนการสอนของโรงเรียน
4.เพื่อนำผลการทดสอบไปใช้ในการประเมินผลการเรียนรู้ของนักเรียนระดับชาติ
5.เพื่อนำผลการทดสอบไปใช้ในวัตถุประสงค์อื่น
น่าเสียดาย…
***ทั้งๆที่เรา กำลังมาถูกทางแล้ว “ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู่ หรือ Teach less..Learn More ตามปรัชญาการศึกษาแห่งศตวรรษที่ 21 เช่นเดียวกับการจัดการเรียนรู้ของอารยะประเทศที่เจริญทั้งหลาย***
หน่วยงานผู้รับผิดชอบ การศึกษาขั้นพื้นฐานของกระทรวงศึกษาธิการ กลับเอา “คะแนน O-net มาใช้อย่างผิดทาง และผิดวัตถุประสงค์ซะอีกแล้ว”..จึงนับว่า เป็นคราวเคราะห์กรรมของประเทศไทยจริงๆ
Experiential Learning การเรียนรู้ด้วยประสบการณ์..Child Centered ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง หรือ เรียนรู้ด้วยการลงมือทำ Learning by doing..การเรียนรู้เพื่อชีวิต Learn for life..หรือ การสอนเพื่อให้เกิดทักษะชีวิต Life Skill..หรือ ทักษะด้านอื่นๆ Other Skill..สำหรับการเรียนขั้นพื้นฐานพังพินาศทั้งระบบ..
อย่าเพิ่งพูดถึง การสอนเพื่อสร้างคุณภาพของคน “คิดเป็น ทำเป็น เรียนรู้เป็น และแก้ปัญหาเป็น”ตามวัตถุประสงค์แกนกลางของรายวิชาต่างๆนั้นเลย.. พับเก็บเอาไว้เถิด..คุณครูต้องไปติว O-net ก่อนแล้ว จะมีครูคนไหนกล้าทุบหม้อข้าวตนเองเล่าหนอ…
***มันน่าเสียใจเหลือเกินครับ ที่เด็กๆมีโอกาสเข้าโรงเรียนแล้ว.. “แต่ไม่มีโอกาสได้เรียนรู้”..ทำได้เพียงแค่ “จำ แล้ว นำไปสอบ” สอบเสร็จแล้วก็ลืม.. เท่านั้นเอง ครับ***
อยากวิงวอนให้กระทรวงศึกษาธิการ “รีบปฏิวัติ O-net” ป้องกันหายนะทางการศึกษาของชาติ.. ปฏิวัติให้ทันเวลา ในรัฐบาลชุดนี้นะ..ขอรับ