ศธ.มีหนังสือซักซ้อมความเข้าใจ การปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัด (กศจ.)
กระทรวงศึกษาธิการ มีหนังสือแจ้งซักซ้อมความเข้าใจ
รศ.นพ.กำจร ตติยกวี ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ในฐานะกรรมการและเลขานุการคณะกรรมการ
ติดตามข่าวอื่น ๆ ได้ที่เพจ : https://www.facebook.com/rukkroo
ตามที่หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้สั่งให้มีคณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัด
เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ของ กศจ.เป็นไปด้วยความเรียบร้อย คณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการในภูมิภาค ในการประชุมครั้งที่ 2/2559 วันที่ 8 เมษายน 2559 (โดยมี พล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานประชุม) จึงได้มีมติให้ซักซ้อมความเข้าใจมายัง กศจ.ทุกจังหวัด ดังนี้
1. ขอความอนุเคราะห์ให้ กศจ.แต่ละจังหวัด จัดให้มีการประชุมโดยทันทีที่สามารถดำเนินการได้ เพื่อเร่งพิจารณางานที่เกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาของแต่ละจังหวัด โดยเฉพาะงานที่มีกรอบระยะเวลาจำกัด เช่น การพิจารณาเลื่อนเงินเดือน การพิจารณาบรรจุ แต่งตั้ง โยกย้าย เป็นต้น
2. การปฏิบัติหน้าที่ของ กศจ. ตามข้อ 1. หากเป็นงานที่ผ่านการพิจารณากลั่นกรองมาโดยชอบแล้ว ก็ให้ดำเนินการเสนอ กศจ.พิจารณาต่อไป โดยไม่จำเป็นต้องจัดให้มีการกลั่นกรองใหม่ เว้นแต่ กศจ.เห็นว่าการพิจารณาเรื่องใดหรือรายใดมีเหตุที่อาจจะทำให้เกิดความไม่เป็นธรรมและจำเป็นต้องกลั่นกรองอีกครั้ง
3. การแต่งตั้งคณะอนุกรรมการต่างๆ เพื่อทำหน้าที่ช่วยเหลือหรือกลั่นกรองงานให้กับ กศจ.แต่ละแห่งนั้นตามคำสั่งหัวหน้า คสช.กำหนดให้เป็นอำนาจของคณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการในภูมิภาคในการแต่งตั้งตามข้อเสนอของ กศจ. ดังนั้นในระยะแรกจึงเห็นควรให้ กศจ.เสนอแต่งตั้ง อกศจ. จำนวนไม่เกิน 3 คณะ ได้แก่ อกศจ.ที่รับผิดชอบงานทางด้านวินัย, อกศจ.ที่รับผิดชอบงานเกี่ยวกับวิทยฐานะหริอสิทธิประโยชน์ต่างๆ และ อกศจ.ที่รับผิดชอบงานเกี่ยวกับการบรรจุ แต่งตั้ง และโยกย้าย โดยในขั้นตอนการเสนอแต่งตั้ง อกศจ.นั้น ขอให้ระบุอำนาจหน้าที่ให้ชัดเจนด้วย
4. สำหรับองค์ประกอบของ อกศจ.ที่ กศจ.จะเสนอแต่งตั้งเพื่อช่วยเหลือการปฏิบัติงานของ กศจ.ในแต่ละด้านนั้น ขอให้พึงยึดองค์ประกอบตามที่กำหนดไว้ในข้อ 8 ของคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 10/2559 เรื่อง
4.1 มีสัญชาติไทย
4.2 มีอายุไม่ตำกว่า 35 ปีบริบูรณ์ และไม่เกิน 70 ปีบริบูรณ์
4.3 ไม่เป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
4.4 ไม่เป็นบุคคลล้มละลาย
4.5 ไม่เป็นบุคคลวิกลจริตหรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ เป็นคนเสมือนไร้ความสามารถ
4.6 ไม่เป็นสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น
4.7 ไม่เป็นเจ้าหน้าที่ ที่ปรึกษา หรือผู้มีตำแหน่งบริหารในพรรคการเมือง
4.8 เป็นผู้ที่ได้รับการยอมรับในเรื่องความซื่อสัตย์ ความสุจริต และไม่เคยมีประวัติเสื่อมเสียทางจริยธรรม จรรยาบรรณ และการประกอบอาชีพ
4.9 ไม่เป็นผู้อยู่ระหว่างถูกสั่งพักราชการ หรือถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อน ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการหรือพนักงานรัฐวิสาหกิจหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ
4.10 เป็นผู้ที่ได้รับการยอมรับของคนทั่วไปว่าเป็นผู้ที่มีคุณธรรมจริยธรรมอันดี และต้องไม่เป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองหรือผู้บริหารท้องถิ่นหรือสมาชิกสภาท้องถิ่น รวมทั้งสมาชิกพรรคการเมือง
ที่มา : ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงศึกษาธิการ