ผลการประชุม ก.ค.ศ. ครั้งที่ 8/2559
พล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เปิดเผยผลการประชุมคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) ครั้งที่ 8/2559 เมื่อวันพุธที่ 7 กันยายน 2559 ว่า ที่ประชุมได้มีการพิจารณาเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการบริหารงานบุคคลของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ในประเด็นที่สำคัญ ดังนี้
การเสนอขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ สายสะพาย
ติดตามข่าวอื่น ๆ ได้ที่เพจ : https://www.facebook.com/rukkroo
รมว.ศึกษาธิการ กล่าวว่า ที่ประชุมคณะกรรมการตรวจสอบร่างกฎหมายและร่างอนุบัญญัติที่เสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 2 ซึ่งมีนายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ได้พิจารณาเหตุผลความจำเป็นเรื่อง
ซึ่งที่ประชุมดังกล่าวเห็นด้วยในหลักการ โดยในปีงบประมาณ 2559 ขอให้กระทรวงศึกษาธิการเสนอรายชื่อของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่ง ผู้อำนวยการและรองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา, ผู้อำนวยการและรองผู้อำนวยการสำนักงาน กศน.จังหวัด/กรุงเทพมหานคร, ผู้อำนวยการและรองผู้อำนวยการสำนักงานการศึกษาเอกชนจังหวัด ที่มีวิทยฐานะชำนาญการพิเศษ ได้รับเงินเดือนขั้นสูง หรือไม่ต่ำกว่าขั้นสูงของอันดับ คศ.3 และได้เครื่องราชอิสริยาภรณ์ ท.ช. มาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปีบริบูรณ์ ที่เกษียณและยังไม่เกษียณอายุราชการในปีงบประมาณ 2559 โดยให้เสนอรายชื่อไปยังสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี เพื่อเสนอขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นสายสะพาย ป.ม. ต่อไป
ทั้งนี้ ข้อมูลปัจจุบันของ ผอ./รอง
อนุมัติจัดสรรอัตราว่างจากผลการเกษียณอายุราชการของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา เมื่อสิ้นปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 ให้แก่ส่วนราชการ
สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สถาบันวิทยาลัยชุมชน) ตำแหน่งครูผู้ช่วย 4 อัตรา
สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
รวม 4 อัตรา แบ่งเป็นตำแหน่งครูผู้ช่วย 1 ตำแหน่ง บุคลากรทางการศึกษาอื่นตามมาตรา 38 ข. (5) 3 ตำแหน่ง สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน
รวม 3 อัตรา แบ่งเป็นตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักงานการศึกษาเอกชนจังหวัด 1 อัตรา รองผู้อำนวยการสำนักงานการศึกษาเอกชนอำเภอ 2 อัตรา สำนักงาน กศน.
รวม 101 อัตรา แบ่งเป็นตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักงาน กศน. จังหวัด 4 อัตรา ผู้อำนวยการสถานศึกษา 3 อัตรา รองผู้อำนวยการสถานศึกษา 52 อัตรา ครูผู้ช่วย 34 อัตรา ศึกษานิเทศก์ 4 อัตรา บุคลากรทางการศึกษาอื่นตามมาตรา 38 ค. (2) 4 ตำแหน่ง สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
รวม 761 อัตรา แบ่งเป็นผู้อำนวยการสถานศึกษา 38 อัตรา รองผู้อำนวยการสถานศึกษา 95 อัตรา ครูผู้ช่วย 625 อัตรา บุคลากรทางการศึกษาอื่นตามมาตรา 38 ค. (2) 3 ตำแหน่ง สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
รวม 22,519 อัตรา แบ่งเป็นตำแหน่ง ผอ.สพท. 27 อัตรา รอง ผอ.สพท. 47 อัตรา ผู้อำนวยการสถานศึกษา 2,050 อัตรา รองผู้อำนวยการสถานศึกษา 513 อัตรา ครูผู้ช่วย 19,249 อัตรา ศึกษานิเทศก์ 281 อัตรา บุคลากรทางการศึกษาอื่นตามมาตรา 38 ค. (2) 352 ตำแหน่ง สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์
รวม 37 อัตรา แบ่งเป็นตำแหน่งรองผู้อำนวยการสถานศึกษา 2 อัตรา อาจารย์ 3 อัตรา ครูผู้ช่วย 31 อัตรา บุคลากรทางการศึกษาอื่นตามมาตรา 38 ค.(2) 1 อัตรา
ทั้งนี้ ให้ทุกส่วนราชการดำเนินการเกลี่ยอัตรากำลังที่ได้รับอนุมัติไปกำหนดในหน่วยงานการศึกษา ตามหลักเกณฑ์ ดังนี้
1) ให้กำหนดจำนวนและประเภทตำแหน่งตามเงื่อนไขที่คณะกรรมการกำหนดเป้าหมายและนโยบายกำลังคนภาครัฐ (คปร.) กำหนดโดยเคร่งครัด
2) ตำแหน่งที่กำหนดจะต้องมีจำนวนและประเภทตำแหน่งตามที่ ก.ค.ศ. กำหนด
3) ให้กำหนดตำแหน่งในหน่วยงานการศึกษาที่มีอัตรากำลังไม่เกินกรอบอัตรากำลังหรือเกณฑ์มาตรฐานอัตรากำลังที่ ก.ค.ศ. กำหนด
4) ในการใช้อัตราที่ได้รับการจัดสรรคืนอัตราว่างจากผลการเกษียณอายุราชการเมื่อสิ้นปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 ให้ใช้อัตรากำลังได้ไม่ก่อนวันที่ 1 ตุลาคม 2559
นอกจากนี้ ที่ประชุมได้อนุมัติจัดสรรอัตราว่างจากผลการเกษียณอายุราชการของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา เมื่อสิ้นปีงบประมาณ พ.ศ. 2556-2559 ของสถาบันการพลศึกษา โดยได้จัดสรรคืนอัตราเกษียณอายุราชการไปยังหน่วยงานการศึกษาเดิมและหน่วยงานการศึกษาที่ขาดแคลนอัตรากำลัง รวมทั้งสิ้น191 อัตรา แบ่งเป็นตำแหน่งครูผู้ช่วย 18 อัตรา อาจารย์ 160 อัตรา และบุคลากรทางการศึกษาอื่นตามมาตรา 38 ค.(2) 13 อัตรา โดยมีเงื่อนไขการเกลี่ยอัตรากำลังเช่นเดียวกัน
แนวคิดการผลิตครูในระบบปิด
รมว.ศึกษาธิการ ได้สอบถามที่ประชุม ก.ค.ศ. เกี่ยวกับแนวคิดการผลิตครูในระบบปิด ซึ่งมีหลักการที่จะให้สถาบันอุดมศึกษาที่ผลิตครู ได้ผลิตนักศึกษาที่จะเข้าสู่วิชาชีพครู ในสาขาตามแต่ละสถาบันมีความถนัด เพื่อให้นักศึกษามีความเชี่ยวชาญเฉพาะทาง และได้รับการบรรจุแต่งตั้งเป็นข้าราชการครูฯ ได้ตรงตามสาขา รวมทั้งเพื่อให้นักศึกษามีความมั่นใจว่าเมื่อจบแล้วจะได้รับการบรรจุแต่งตั้งเป็นครูผู้ช่วยอย่างแน่นอน
ที่ประชุมได้พิจารณาแล้ว เห็นชอบให้สำนักงาน ก.ค.ศ. พิจารณาตั้งคณะทำงานขึ้นมาชุดหนึ่ง เพื่อศึกษารายละเอียดและสำรวจจำนวนและสาขาข้าราชการครูที่จะเกษียณอายุราชการในปีงบประมาณ 2560 และมีแนวคิดที่จะใช้อัตราเกษียณอายุราชการบรรจุเป็นครูผู้ช่วยในอัตราสัดส่วน 40 – 25 – 35 กล่าวคือ บรรจุจากนักศึกษาที่เรียนวิชาชีพครู 40% จากโครงการผลิตครูเพื่อพัฒนาท้องถิ่น 25% และสอบแข่งขันทั่วไป 35%
รับทราบรายงานผลการรับสมัครสอบแข่งขันครูผู้ช่วย ครั้งที่ 1/2559
ที่ประชุมได้รับทราบรายงานผลการรับสมัครสอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการครูฯ ตำแหน่งครูผู้ช่วย สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ครั้งที่ 1 ปี พ.ศ.2559 สรุปดังนี้
คณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัด (กศจ.) ที่เปิดสอบแข่งขัน มีจำนวนทั้งสิ้น 60 จังหวัด รวมทั้งสังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ อีก 1 แห่ง
ตำแหน่งว่างที่ประกาศรับสมัคร 2,561 อัตรา
กลุ่มวิชาที่ประกาศรับสมัคร จำนวน 55 สาขาวิชา
ผู้สมัครสอบ มีจำนวนทั้งสิ้น 134,795 คน
จำนวนผู้สมัครมากที่สุด 5 อันดับแรก คือ
– กศจ.บุรีรัมย์ 7,273 คน
– กศจ.ชลบุรี 6,623 คน
– กศจ.อำนาจเจริญ 6,368 คน
– กศจ.นครศรีธรรมราช 4,799 คน
– กศจ.กาญจนบุรี 4,721 คนจำนวนกลุ่มวิชาที่มีผู้สมัครมากที่สุด 5 อันดับแรก คือ
– ปฐมวัย/อนุบาลศึกษา 17,290 คน
– คอมพิวเตอร์ 15,228 คน
– สังคมศึกษา 14,375 คน
– ภาษาอังกฤษ 12,959 คน
– คณิตศาสตร์ 10,928 คน
รมว.ศึกษาธิการ กล่าวด้วยว่า ที่ประชุมได้ขอให้กลับไปทบทวนรายละเอียดร่างหลักเกณฑ์ 2 ฉบับ ที่เสนอให้ที่ประชุมครั้งนี้ได้พิจารณา คือ 1) หลักเกณฑ์และวิธีการสอบคัดเลือกตำแหน่งรองผู้อำนวยการและผู้อำนวยการสำนักงาน กศน.จังหวัด/กรุงเทพมหานคร 2) หลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือกบุคคลเพื่อบรรจุและแต่งตั้งเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งบุคลากรทางการศึกษาอื่น ตามมาตรา 38 ค.(2) ตำแหน่งประเภททั่วไป ระดับปฏิบัติงาน กรณีที่มีความจำเป็นหรือมีเหตุพิเศษ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อต้องการให้พนักงานราชการ ลูกจ้าง พนักงานจ้างเหมาบริการ หรือลูกจ้างชั่วคราวจากเงินงบประมาณหรือเงินรายได้ของสถานศึกษา ซึ่งได้ปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับงานของตำแหน่งบุคลากรทางการศึกษาอื่น ตามมาตรา 38 ค.(2) ในสถานศึกษา ได้รับโอกาสในการคัดเลือกและสอบแข่งขันได้ โดยขอให้คณะอนุกรรมการที่เกี่ยวข้องนำร่างหลักเกณฑ์ทั้งสองไปปรับปรุงแก้ไขตามความเห็นจากที่ประชุม แล้วนำกลับมาให้ที่ประชุมพิจารณาครั้งต่อไป
ที่มา : ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงศึกษาธิการ