Growth Mindset กับการปฏิรูปการศึกษา
ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี 173/2560
การประชุม
นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานเปิดการประชุม “กล้าก้าว (Growth Mindset) : เติบโตด้วยศรัทธา เติบกล้าด้วยแรงใจ” และบรรยายทางวิชาการในหัวข้อ “Growth Mindset กับการปฏิรูปการศึกษา” จัดโดยสำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน (สสค.) ร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ศูนย์จิตวิทยาการศึกษา มูลนิธิยุวสถิรคุณ และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อวันอาทิตย์ที่ 2 เมษายน 2560 ณ โรงแรมแมนดาริน (สามย่าน) กรุงเทพฯ โดยมีนายบุญรักษ์ ยอดเพชร รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, คุณหญิงกษมา วรวรรณ ณ อยุธยา ประธานคณะกรรมการกำกับทิศทางโครงการวิจัยปฏิบัติการโรงเรียนพัฒนาคุณภาพต่อเนื่อง (School Quality Improvement Program : sQip), นพ.สุภกร บัวสาย ผู้จัดการสำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน, รศ.ดร. ปัทมาวดี โพชนุกูล รองผู้อำนวยการด้านการวิจัยเชิงยุทธศาสตร์ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย ตลอดจนผู้อำนวยการโรงเรียน ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาและมัธยมศึกษา ศึกษาธิการจังหวัด เครือข่ายสนับสนุนทางวิชาการ และผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จำนวนกว่า 300 คน เข้าร่วมการประชุม
ติดตามข่าวอื่น ๆ ได้ที่เพจ : https://www.facebook.com/rukkroo
ความเป็นมาของการประชุมครั้งนี้ ที่เน้น “
รศ.ดร.ปัทมาวดี โพชนุกูล กล่าวว่า
ซึ่งการคัดเลือกโรงเรียนดังกล่าว
วางเป้าให้ sQip
ทั้งนี้ โครงการ sQip มีจุดมุ่งหมายที่จะส่งเสริมการพัฒนาโรงเรียน โดยเฉพาะคุณภาพการเรียนการสอน ที่ต้องอาศัยความร่วมมือร่วมใจของบุคลากรประจำโรงเรียนเป็นหลัก ผ่านกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันทั้งองค์กร (Learning Organization) โดยมีโค้ชคุณภาพ หรือ Q-Coach เป็นพี่เลี้ยง มีการพัฒนาแบบ Professional Learning Community (PLC) ที่เสริมด้วยการเรียนรู้ระหว่างเครือข่ายโรงเรียน (Q-Network) ผู้บริหารรู้จักและมีข้อมูลสารสนเทศเกี่ยวกับเด็ก (Q-Info) แต่ละโรงเรียนกำหนดเป้าหมายของการพัฒนาตนเอง ร่วมกับการค้นหาวิธีปรับปรุงระบบงานภายในเพื่อให้สามารถบรรลุตามเป้าหมาย การพัฒนาดังกล่าวจะดำเนินการควบคู่กับการวิจัยของคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่จะนำไปสู่การพัฒนาเครื่องมือทางวิชาการสำหรับการรับรองคุณภาพที่ได้รับการยอมรับในระดับชาติ และระดับนานาชาติในระยะต่อไป
สำหรับโครงการ sQip มีคุณหญิงกษมา วรวรรณ ณ อยุธยา อดีตปลัดกระทรวงศึกษาธิการและเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เป็นประธานคณะกรรมการกำกับทิศทางโครงการฯ โดยมีสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ร่วมเป็นหน่วยงานภาคีหลัก ร่วมเรียนรู้กับสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) หรือ สมศ.
คาดภายใน 2 ปี
สกว. และ สสค. คาดหวังว่าโครงการในระยะ 2 ปี จะสร้างการเรียนรู้ที่เป็นประโยชน์ในการพัฒนาระบบรับรองโรงเรียน และขยายผลโครงการในระยะ 3-5 ปีต่อไป อันจะทำให้โรงเรียนของไทยเป็นโรงเรียนคุณภาพ สร้างผลสัมฤทธิ์ คือ เด็กไทยได้รับการพัฒนาศักยภาพอย่างเต็มกำลังและเหมาะสมกับแต่ละคน
อีกทั้งมุ่งหวังให้โรงเรียนที่ผ่านการคัดเลือกเข้าร่วมโครงการทั้ง 202 แห่ง จาก 14 จังหวัด เกิดการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาในเรื่องของ Growth Mindset ซึ่งถือเป็นเครื่องมือขับเคลื่อนคุณภาพสถานศึกษาที่สำคัญ โดยสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้บริหารสถานศึกษา ครูและบุคลากรในโรงเรียน ว่าโรงเรียนสามารถพัฒนาตนเองได้ ครูและนักเรียนที่แม้จะอยู่ในพื้นที่ยากลำบาก แต่ก็สามารถพัฒนาได้ ซึ่ง Q-Coach จะส่งเสริมและกระตุ้นผู้บริหารสถานศึกษา ครูและบุคลากรของโรงเรียนให้สามารถนำเทคนิคดังกล่าวไปพัฒนาการจัดการเรียนรู้ในสถานศึกษาร่วมกับมาตรการอื่น ๆ ที่คิดร่วมกับโรงเรียนต่อไป
การจัดประชุมครั้งนี้มีผู้เข้าร่วมงาน ประกอบด้วยผู้บริหาร สพฐ. ผู้อำนวยการโรงเรียนที่สมัครใจเข้าร่วมโครงการและได้รับคัดเลือก จำนวน 202 คนจาก 14 จังหวัด เครือข่ายสนับสนุนทางวิชาการ ได้แก่ นักวิจัยและนักวิชาการจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยนเรศวร มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา และศูนย์จิตวิทยาการศึกษา มูลนิธิยุวสถิรคุณ รวมถึงศึกษาธิการจังหวัด ผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาและมัธยมศึกษาจาก 49 เขต และคณะโค้ชคุณภาพ จำนวน 26 คน
“ธีระเกียรติ” ย้ำถึงความสำคัญ
ย้อนให้กลับทบทวนคุณภาพการศึกษาไทยว่า เหตุใดจึงต้องส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิด
ในการวัดคุณภาพการศึกษา ท้ายที่สุดต้องดูที่ผลลัพธ์ (Outcome) ยกตัวอย่างจากการทดสอบ PISA ที่มิใช่การทดสอบความรู้พื้นฐานตามหลักสูตร แต่เป็นการวัดความรู้ความสามารถของผู้เรียนที่มีอายุ 15 ปี ในการนำความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และการอ่านไปประยุกต์ใช้ในชีวิตจริง ซึ่งแตกต่างจากการสอบ O-NET ของไทยการทดสอบ PISA เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2543 ซึ่งประเทศไทยเข้าร่วมการทดสอบตั้งแต่ครั้งแรก และมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 420 คะแนน ในขณะที่เวียดนามเข้าร่วมการทดสอบ PISA ในปี 2558 เป็นครั้งที่ 2 โดยครั้งแรกเวียดนามอยู่ในอันดับที่ 17 และครั้งนี้อยู่อันดับที่ 8 ทั้งนี้ ได้มีการวิเคราะห์ค่าเฉลี่ย OECD ของประเทศที่พัฒนาแล้วอยู่ที่ประมาณ 500 คะแนน สามารถคำนวณออกมาได้ว่า ทุกๆ 30 คะแนน จะแปลงเป็นระยะห่างทางการศึกษา (Education Year Gap) ประมาณ 1 ปี และเมื่อนำมาเปรียบเทียบกับคะแนน PISA ของไทย ปรากฏว่าไทยมีค่าเฉลี่ย PISA ต่างจากประเทศพัฒนาแล้ว 80 คะแนน หรือมีระยะห่างทางการศึกษาจากประเทศพัฒนาแล้วประมาณ 3 ปี อีกทั้งกลุ่มโรงเรียนของไทยที่นักเรียนมีคะแนนสูงสุด คือ 550-560 คะแนน ส่วนกลุ่มนักเรียนที่มีคะแนนต่ำสุด
จากความเหลื่อมล้ำดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า การปฏิรูปการศึกษาที่ดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2543 ไม่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงใด ๆ ดังนั้น หากต้องการลดระยะห่างทางการศึกษาของนักเรียนในประเทศ จะต้องทำให้กลุ่มโรงเรียนที่นักเรียนมีคะแนนต่ำได้คะแนนสูงขึ้น ไม่ใช่ส่งเสริมให้กลุ่มโรงเรียนที่นักเรียนมีคะแนนสูงได้คะแนนสูงขึ้นไปอีก เนื่องจากคะแนนของนักเรียนกลุ่มนี้ สูงเกินค่าเฉลี่ย OECD และเกือบติดเพดานคะแนนของการทดสอบแล้ว อีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้การปฏิรูปไม่เกิดการเปลี่ยนแปลง คือ การเปลี่ยนผู้บริหารของกระทรวงบ่อยเกินไป ทำให้ไม่สามารถดำเนินการตามนโยบายได้อย่างต่อเนื่อง
ฝาก
นพ.ธีระเกียรติ ได้กล่าวถึงหนังสือ “A World-Class Education” เขียนโดย Vivien Stewart ซึ่งระบุถึงองค์ประกอบสามัญของระบบการศึกษาที่ดี 8 ประการ ที่ช่วยขับเคลื่อนการศึกษาของประเทศไปสู่การเป็นประเทศชั้นนำของโลก ดังนี้
1) การมีวิสัยทัศน์และภาวะความเป็นผู้นำที่เข้มแข็ง (Vision and Leadership) คือ ผู้นำที่มีวิสัยทัศน์กว้างไกล กล้าทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลง เช่น นายลี กวน ยู อดีตนายกรัฐมนตรีของสิงคโปร์
2) การตั้งมาตรฐานระดับสูง (Ambitious Standards) ด้วยการกำหนดมาตรฐานหรือเป้าหมายสูงในทุกเรื่อง เช่น นักเรียน ครู สถานศึกษา หรือแม้แต่หลักสูตร โดยมีความเชื่อมั่นว่าทุกฝ่ายสามารถทำได้
3) ความมุ่งมั่น ตั้งใจ ลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา (Commitment to Equity) ต้องมีความมุ่งมั่นในการลดความเหลื่อมล้ำระหว่างโรงเรียนในต่างจังหวัดและโรงเรียนในเมืองให้ได้ หากจะเรียนรู้จากประเทศชั้นนำด้านการศึกษา เช่น สิงคโปร์ หรือ ฟินแลนด์ จะต้องไม่มองแค่ผลลัพธ์ในปัจจุบัน แต่ให้มองย้อนไปถึงประวัติศาสตร์ว่าแต่ละประเทศเริ่มปฏิรูปการศึกษาจากอะไร และทำอย่างไร เพราะการจะปฏิรูปการศึกษาได้สำเร็จอาจต้องใช้เวลามากถึง 10 ปี
4) การได้มาและการคงไว้ซึ่งครูและผู้บริหารสถานศึกษาที่มีคุณภาพ (High–Quality Teachers and Leaders)
5) ความร่วมมือในการทำงานของทุกภาคส่วนที่สอดคล้องกัน (Alignment and Coherence) การดำเนินงานของทุกภาคส่วนจะต้องมีความสอดคล้องกัน ทั้งผู้ที่รับผิดชอบเรื่องการประเมิน การจัดทำหลักสูตร และการจัดการ และเป็นเรื่องน่ายินดีที่ขณะนี้ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) และสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติฯ (สทศ.) จะประสานความร่วมมือกันในวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ โดย สสวท.จะร่วมกับ สพฐ.ในการร่างหลักสูตร เพื่อให้ สพฐ.นำหลักสูตรไปใช้ และ สทศ.จะรับผิดชอบในการออกข้อสอบ
6) การบริหารจัดการที่ดีและการมีความรับผิดชอบ (Management Accountability)
7) การสร้างแรงจูงใจแก่เด็กนักเรียน (Student Motivation) ซึ่งถือเป็นองค์ประกอบที่สำคัญมาก แต่เมื่อพูดถึงการปฏิรูปการศึกษา ส่วนใหญ่จะเน้นไปที่หน่วยงาน และบุคลากร
8) การมุ่งเน้นพัฒนาเพื่ออนาคตในระดับโลก (Global and Future Orientation) ประเทศที่พัฒนาแล้วมักจะมองโลกในอนาคต มองไปข้างหน้า เนื่องจากโลกมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ดังนั้น หลักสูตรการเรียนการสอนจึงต้องเปลี่ยนไปด้วย
นโยบายการปฏิรูปการศึกษา ต้องทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลก และต้องให้เด็กอยากเรียน
พร้อมวางรากฐาน “ระบบ
นอกจากการพัฒนาครูในด้านต่าง ๆ การคัดสรรครู และการจัดทำคูปองสำหรับครูประจำการแล้ว กระทรวงศึกษาธิการได้ดำเนินการซึ่งถือเป็นความก้าวหน้าที่สำคัญที่สุด ได้แก่ การแก้ไขกฎกระทรวงที่เกี่ยวกับการประกันคุณภาพ โดยจัดทำแนวทางการประเมินและการประกันคุณภาพการศึกษาขึ้นใหม่ เนื่องจากมีการใช้คำว่า “Quality” หรือ คุณภาพการศึกษา และ “Quality Assurance” หรือ การประกันคุณภาพการศึกษา ที่ผิดไปจากความหมายที่แท้จริง ซึ่งคำว่า “คุณภาพการศึกษา” คือ การที่สถานศึกษาจะจัดการเรียนการสอนให้กับผู้เรียนอย่างไร มีขั้นตอนอะไรบ้าง เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนมีคุณสมบัติเหมาะสม พร้อมที่จะเรียนต่อในระดับสูงขึ้น หรือทำงานได้
ส่วนคำว่า “การประกันคุณภาพการศึกษา” หมายถึง ขั้นตอนของการตรวจสอบมาตรฐานทางวิชาการและคุณภาพการศึกษาที่กำหนดโดยทุกภาคส่วนว่ามีความคาดหวังจากมาตรฐานนี้อย่างไร ทั้งนี้ การประกันคุณภาพการศึกษาจะเกิดขึ้นได้ ต้องมีการใช้หลักสูตรก่อน แล้วจึงจะดำเนินการตรวจสอบว่าหลักสูตรได้มาตรฐานตามที่คาดหวังหรือไม่ แต่จะไม่มีการประกันคุณภาพก่อนนำหลักสูตรมาใช้
ในส่วนของการรับรองมาตรฐานการศึกษา (Accreditation) จะต้องมีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับในระดับสากล ซึ่งปัจจุบันประเทศไทยยังไม่มี และไม่สามารถตั้งมาตรฐานเองได้ รวมถึงองค์กรที่จะรับรองมาตรฐานจะต้องมีความน่าเชื่อถือด้วย
ในกฎกระทรวงที่แก้ไขใหม่ จะยกเลิกการให้สถานศึกษาส่งตัวชี้วัดในการประเมินรอบที่สี่ และไม่มีการส่งเอกสารให้สถานศึกษาเพื่อกรอกประกันคุณภาพการศึกษา แต่จะให้ผู้อำนวยการสถานศึกษาที่ต้องทราบมาตรฐานของสถานศึกษา เป็นผู้เขียนรายงานการประเมินตนเอง (Self-Assessment Report) และถือเป็นหน่วยประกันคุณภาพภายใน โดยมี สพฐ. ช่วยเตรียมการ และสนับสนุนให้โรงเรียนพร้อมรับการประเมิน และ สมศ. เป็นหน่วยประกันคุณภาพภายนอก มาตรฐานนี้จะถูกกำหนดโดยทุกภาคส่วน อย่างไรก็ตาม กฎกระทรวงฉบับแก้ไขนี้ ได้ผ่านความเห็นจากสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.) โดยมีข้อเสนอแนะเพิ่มเติมหลายข้อ คาดว่าหากปรับแก้ไข และผ่านการพิจารณาของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาและได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีแล้ว จะสามารถประกาศใช้ได้อย่างเป็นทางการต่อไป
ย้ำถึง
Growth Mindset จะต้องเริ่มจากผู้บริหารสถานศึกษา ครู ไปสู่ตัวเด็กนักเรียน เพื่อกระตุ้นให้เกิดความกระตือรือร้นที่จะเรียน อยากเรียนรู้ตลอดเวลา และทำให้เด็กขยันมากขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับหนทางสู่ความสำเร็จ 4 ประการ หรืออิทธิบาท 4 ได้แก่ ฉันทะ (มีความอยากรู้อยากเรียน) วิริยะ (มีความเพียรพยายาม) จิตตะ (มีความสนใจ มีสมาธิ) และวิมังสา (มีการทบทวน ตรวจสอบตัวเองตลอดเวลา)
ที่มา : ข่าวสำนักงานรัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการ