ข่าวการศึกษา

เตรียมตัว 42 สาขาขาดแคลน สอบครูผู้ช่วย 2561

ผลการประชุมคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) ครั้งที่ 5/2561 เมื่อวันที่ 1พฤษภาคม 2561 ณ ห้องประชุมจันทรเกษม โดย นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ในฐานะประธาน ก.ค.ศ. เป็นประธานการประชุม ได้ประกาศ 32 สาขาขาดแคลน เตรียมสอบครูผู้ช่วย 2561 ดังนี้

เปิดรับสาขาขาดแคลน แบ่งเป็น กลุ่มวิชา หรือสาขาวิชาเอกที่ไม่เปิดสอนในหลักสูตรคุรุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ ระดับปริญญาตรี 5 ปี หรือเปิดสอนแต่ยังไม่มีผู้สำเร็จการศึกษาในหลักสูตรระดับปริญญา 5 ปี จำนวน 32 กลุ่มวิชา

ติดตามข่าวอื่น ๆ ได้ที่เพจ : https://www.facebook.com/rukkroo

  1. ภาษาสเปน
  2. ภาษาเกาหลี
  3. ภาษาพม่า
  4. ภาษาเขมร
  5. ภาษาเวียดนาม
  6. ภูมิศาสตร์
  7. ประวัติศาสตร์
  8. การพยาบาล
  9. ดนตรีพื้นเมือง
  10. ออกแบบนิเทศศิลป์
  11. วิทยาการคอมพิวเตอร์
  12. วิศวกรรมไฟฟ้า
  13. อุตสาหกรรมศิลป์
  14. อุตสาหกรรมก่อสร้าง
  15. อุตสาหกรรม (ก่อสร้าง)
  16. อุตสาหกรรมศิลป์ (ช่างยนต์)
  17. อุตสาหกรรมไฟฟ้า
  18. ช่างโลหะ
  19. การจัดการงานก่อสร้าง
  20. โสตทัศนศึกษา
  21. การเงินและบัญชี
  22. การเงินและการบัญชี
  23. การเงิน/บัญชี
  24. การเงินบัญชี
  25. การเงินการบัญชี
  26. ธุรกิจการเงินการบัญชี
  27. ธุรกิจ (การเงิน)
  28. ธุรกิจ (พัสดุ)
  29. พัสดุ
  30. กายภาพบำบัด
  31. กิจกรรมบำบัด
  32. จิตวิทยาคลินิก

     2. กลุ่มวิชา หรือทาง หรือสาขาวิชาเอกที่ขาดแคลนและมีความจำเป็นต่อการจัดการเรียนการสอน จำนวน 10 กลุ่มวิชา ได้แก่ ภาษาฝรั่งเศส ภาษาญี่ปุ่น ภาษาเยอรมัน ภาษาจีน ดนตรี ดนตรีศึกษา ดนตรีไทย ดนตรีสากล ดุริยางคศิลป์ ทัศนศิลป์  ซึ่งมีความขาดแคลนซ้ำซาก เปิดสอบแล้วไม่มีคนมาสอบ หรือเปิดสอบแล้วไม่มีผู้สอบได้ ซึ่งจะพิจารณาเป็นรายจังหวัด ไม่ใช่เป็นความขาดแคลนภาพรวม

 

ที่มาจาก ศธ.360 องศา

สำหรับสาขาวิชาที่ขาดแคลนและมีความจำเป็น  สพฐ.ได้ทำการสำรวจข้อมูลจากสำนักงานศึกษาธิการจังหวัด (ศธจ.) ต่าง ๆ แล้ว พร้อมทั้งจัดประชุมสัมมนาร่วมกับประธานสภาคณบดีคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์แห่งประเทศไทย ผู้แทนจากคณบดีคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์จากสถาบันอุดมศึกษาทั่วประเทศ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้ว ได้ข้อสรุปร่วมกันว่า สาขาวิชาขาดแคลน หมายถึง 1) เปิดสอบแล้วไม่มีผู้สมัคร 2) เปิดสอบแล้วมีสมัครน้อย 3) สถาบันอุดมศึกษาไม่เปิดสอนในหลักสูตรระดับปริญญาตรี 5 ปี หรือเปิดสอนแต่ยังไม่มีผู้สำเร็จการศึกษาในหลักสูตรระดับปริญญาตรี 5 ปี ดังนี้

     1. กลุ่มวิชา หรือทาง หรือสาขาวิชาเอกที่ไม่เปิดสอนในหลักสูตรครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ ระดับปริญญาตรี 5 ปี หรือเปิดสอนแต่ยังไม่มีผู้สำเร็จการศึกษาในหลักสูตรระดับปริญญา 5 ปี จำนวน 32 กลุ่มวิชา ได้แก่ ภาษาสเปน ภาษาเกาหลี ภาษาพม่า ภาษาเขมร ภาษาเวียดนาม ภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ การพยาบาล ดนตรีพื้นเมือง ออกแบบนิเทศศิลป์ วิทยาการคอมพิวเตอร์ วิศวกรรมไฟฟ้า อุตสาหกรรมศิลป์ อุตสาหกรรมก่อสร้าง อุตสาหกรรม (ก่อสร้าง) อุตสาหกรรมศิลป์ (ช่างยนต์) อุตสาหกรรมไฟฟ้า ช่างโลหะ การจัดการงานก่อสร้าง โสตทัศนศึกษา การเงินและบัญชี การเงินและการบัญชี การเงิน/บัญชี การเงินบัญชี การเงินการบัญชี ธุรกิจการเงินการบัญชี ธุรกิจ (การเงิน) ธุรกิจ (พัสดุ) พัสดุ กายภาพบำบัด กิจกรรมบำบัด จิตวิทยาคลินิก

     2. กลุ่มวิชา หรือทาง หรือสาขาวิชาเอกที่ขาดแคลนและมีความจำเป็นต่อการจัดการเรียนการสอน จำนวน 10 กลุ่มวิชา ได้แก่ ภาษาฝรั่งเศส ภาษาญี่ปุ่น ภาษาเยอรมัน ภาษาจีน ดนตรี ดนตรีศึกษา ดนตรีไทย ดนตรีสากล ดุริยางคศิลป์ ทัศนศิลป์  ซึ่งมีความขาดแคลนซ้ำซาก เปิดสอบแล้วไม่มีคนมาสอบ หรือเปิดสอบแล้วไม่มีผู้สอบได้ ซึ่งจะพิจารณาเป็นรายจังหวัด ไม่ใช่เป็นความขาดแคลนภาพรวม

เรื่องอื่นๆที่น่าสนใจ

Back to top button