สาระความรู้

จะทำอย่างไรเมื่อลูกติดแท็ปเล็ต มาอ่านบทความนี้รู้เลย

‪#‎เมื่อลูกหมอ_ขอแทบเล็ต‬

หมอรอมานานเลยที่จะเขียนบทความนี้ค่ะ แต่ก็รอด้วยความแน่ใจว่าจะได้เขียนบทความนี้แน่ๆ ^^

ติดตามข่าวอื่น ๆ ได้ที่เพจ : https://www.facebook.com/rukkroo

หมอยอมรับว่าเป็นคนนึงที่ให้ลูกเริ่มเล่นแทบเล็ตก่อนอายุสองขวบตามที่ตำรากำหนดค่ะ

เพราะตอน 1 ขวบ 9 เดือนหมอพาลูกเดินทางไกลไปอเมริกา เลยเริ่มศึกษาหาแอพดีๆ เผื่อไว้ต้องใช้ยามฉุกเฉินเพราะเวลาบนเครื่องบินมันช่างยาวนาน แต่สุดท้ายก็ไม่ได้ใช้เล่นเยอะ แล้วก็ไม่ได้ให้เล่นอีกหลังจากนั้น

ต่อมาลูกใกล้สองขวบ หมอก็เห็นว่ามีแอพดีๆ หลายอัน ที่มีเสียงสัตว์ เสียงดนตรี เล่นเกมส์ เรื่องสี (ซึ่งมันสนุกจริงๆค่ะ)^^” ก็เลยลองเอามาให้ลูกเล่น

แต่สิ่งที่หมอพบก็คือ ลูกมีอาการติดแทบเล็ตมากกก เหมือนติดยา ภายในเวลาที่หยิบยื่นให้ไปแค่สองสามวัน

ลูกร้องหา “ไอแพดๆๆๆ” ตลอดทั้งวัน หายใจเข้าออกเป็นแทบเล็ต เห็นหน้าแม่เหมือนเห็นหน้าจอ555
พอไม่ได้ก็มีโวยวายน้ำหูน้ำตาไหล ซึ่งทำให้เราสองคนเริ่มกุมขมับ “ไม่น่าหาเรื่องเลยตรู 555”

ตอนนั้นหมอก็คิดกันว่า เอาไงดีหว่า?
“เก็บๆๆๆ ท่าจะไม่ดีแน่”

แต่พอมาคิดอีกที 

“นี่คงเป็นสิ่งที่โลกของลูกคงเลี่ยงไม่ได้”

หมอเลยคุยกัน ว่าเราลองมาพลิกวิกฤตเป็นโอกาสกันมั้ย

“ที่จะสอนให้ลูกใช้มัน…อย่างมีวินัย”

หมอบอกลูกจริงจังว่า จะเล่นได้วันละสองครั้ง ครั้งละ 15 นาที เท่านั้น (ซึ่งเด็กสองขวบอาจจะไม่เข้าใจเรื่องเวลา) หมอจะชี้ไปที่เข็มนาฬิกาว่าชี้ที่เลขนี้ หรือกำหนดให้เค้าเล่นต่อจิ๊กซอได้กี่ภาพ เล่นวาดรูปได้กี่ครั้ง ฯลฯ

ที่สำคัญหมอบอกลูกว่า

“ถ้าเวลาเลิกแล้วโวยวาย วันต่อไปจะไม่ได้เล่นนะลูก” ซึ่งลูกก็ตกลงแต่โดยดี

แต่สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือทุกครั้งที่เก็บ…
ลูกก็ร้องไห้ฟูมฟายน้ำหูน้ำตาไหล ไปจนถึงกับอาละวาด หมอก็แค่สงบนิ่ง แล้วบอกลูกว่า “ตามที่ตกลงพรุ่งนี้หนูจะต้องงดไปหนึ่งวันนะ”

วันถัดมาลูกก็ขอใหม่ หมอก็บอกลูกว่าไม่ได้เพราะ
“เราคุยกันไว้แล้วนี่ลูก เมื่อวานใครเลิกแล้วร้องโวยวายนะ”
“หนูร้อง”
“แม่บอกไว้ว่ายังไงลูก”
“ใครโวยวาย จะอดเล่น”
ลูกก็ร้องไห้นิดหน่อยที่หมอไม่ให้เล่นค่ะ แต่ร้องสั้นๆ เพราะอยู่กับหมอจนรู้แล้วว่าร้องไปแม่ก็ไม่เปลี่ยนไปเปลี่ยนมา และหมอก็ชวนลูกไปเล่นอย่างอื่นกัน

หมออดทนใช้ “kind but firm” ทำแบบนี้เรื่อยๆ ทุกวัน ให้ตามกติกาเมื่อลูกถามถึง แต่ถ้าลูกไม่ขอก็ไม่หยิบยื่น

ชมลูกที่วันไหนลูกเลิกแล้วไม่งอแง
จนลูกก็งอแงน้อยลงเรื่อยๆ และไม่มีปัญหาร้องอาละวาดเอาแทบเล็ตอีก

จนเข้าวันที่ 6 สิ่งที่หมอรอคอยก็มาถึง…

เด็กหญิงวัยสองขวบ ปิดแทบเล็ต เมื่อเล่นเสร็จตามที่ตกลง
“มามี้ๆๆ เบเน่เล่นเสร็จแล้ว”
“เบเน่เอาคืนให้มามี้”

มันเป็นวันแห่งความชื่นใจจริงๆค่ะ ^_____^

และลูกก็ทำอย่างนั้นมาได้เกือบทุกครั้งในวันถัดๆมา แต่ลูกก็ถามถึงแทบเล็ตน้อยลงเรื่อยๆ เพราะหมอก็พาไปทำกิจกรรมอื่นๆ จนคงลืมความสุขขณะเสพไปชั่วขณะ555

และจนวันที่หมอเขียนบทความอยู่นี้ ลูกก็ไม่เคยถามถึงแทบเล็ตมา 3 สัปดาห์เต็มละค่ะ

ไม่เคยพูดถึง เห็นแล้วก็มีเปรยๆ บ้าง แต่พอหมอหันเหความสนใจไปสิ่งอื่นที่สนุกกว่า ลูกก็ลืมมันไปเลย

สิ่งอื่นที่สนุกกว่า นั่นก็คือ “การเล่นกับพ่อแม่”

หมอเอาเรื่องนี้มาเล่าเพื่อจะบอกว่า

1. อย่าเริ่มหน้าจอโดยไม่จำเป็น มันสนุกจนทำให้ติดแบบน่ากลัวมากกก หมอเห็นมาแล้ว นึกว่าลูกติดยา555
2. หน้าจอมีทั้งข้อดีและข้อเสีย ถ้าไม่แน่ใจว่าตัวเองจะใจแข็งอดทนฝึกลูกได้อย่างหมอทำ ก็อย่าเพิ่งเริ่ม!
3. แต่ถ้าเลี่ยงไม่ได้จริงๆ หรือคิดว่าถึงเวลาแล้ว ให้ฝึกเล่นแบบมีวินัย มีกติกา มันทำได้จริงๆค่ะ
4. ติดได้ก็เลิกได้ ถ้าพ่อแม่ให้เวลาและเอาจริง
5. ‪#‎อย่าดราม่ากับน้ำตาของลูก‬ (ลองหาอ่านดูนะคะ)
6. อย่าใช้แทบเล็ตเลี้ยงลูก เพราะสุดท้ายจะกลายเป็น “เรา” ที่เข้าใจผิด คิดว่ามันดี
7. คลินิกหมอตอนนี้มีแต่เด็กติดเกมส์ที่พ่อแม่ควบคุมไม่ได้ มันอันตราย และน่ากลัวมาก!
8. พ่อแม่คือของเล่นที่ดีและสนุกที่สุดของลูก

รักลูก…ให้เวลาแทนให้หน้าจอนะคะ (‪#‎พ่อแม่ก็เช่นกัน‬)

‪#‎หมอโอ๋เพจเลี้ยงลูกนอกบ้าน‬
ผู้กำลังกุมขมับกับปัญหาเด็กไทยติดเกมส์

cr.เลี้ยงลูกนอกบ้าน

 

เรื่องอื่นๆที่น่าสนใจ

Back to top button