ข่าวการศึกษา

กรอบสมรรถนะวิชาชีพครูในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา และผู้สนใจทุกท่านคะ ตามที่ประเทศไทยจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที ่ 34 ระหว ่างวันที ่ 20 – 23 มิถุนายน 2562 ภายใต้แนวคิด Advancing Partnership for Sustainability หรือ “ร่วมมือ ร่วมใจ ก้าวไกล ยั่งยืน” ในสัปดาห์นี้จึงขอหยิบยกเรื่องกรอบสมรรถนะวิชาชีพครูในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มานำเสนอต่อผู้สนใจทุกท่านครูถือเป็นปัจจัยสำคัญในการสร้างการศึกษาให้มีคุณภาพอย่างยั่งยืน และในการพัฒนาการศึกษาให้มีคุณภาพ (Quality Education) เป็นเป้าหมายการพัฒนาที่สำคัญไม่ใช่เฉพาะในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แต่เป็นเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals – SDGs)ในการพัฒนาระดับนานาชาติขององค์การสหประชาชาติอีกด้วย ดังนั้น ประชาคมอาเซียนจึงต้องร่วมมือกันพัฒนาวิชาชีพครูให้มีคุณภาพสูง เพิ่มทักษะของครูตลอดช่วงวิชาชีพ เพื่อให้ครูมีสมรรถนะที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน

นาย Gatot Hari Priowirjanto ผู้อำนวยการสำนักงานเลขาธิการรัฐมนตรีศึกษาแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้(ซีมีโอ) ได้ประกาศกรอบสมรรถนะวิชาชีพครูในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในการประชุมWorld Teachers’ Day Forum 2018 เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2561 โดยมีเป้าหมายส าคัญ คือ เพื่อให้ผู้เรียนมีความสุข (Joyful Learner) แบ่งเป็น 4 ประเด็นใหญ่ ได้แก่

ติดตามข่าวอื่น ๆ ได้ที่เพจ : https://www.facebook.com/rukkroo

1. รู้และเข้าใจในสิ่งที่สอน (Know and understand what I teach) โดยเรียนรู้เพิ่มเติมในเรื่องที่สอนให้กว้างและลึกขึ้น เข้าใจกระเเสนิยมเกี่ยวกับการศึกษา นโยบายและหลักสูตร รวมถึงติดตามข้อมูลข่าวสารที่เปลี่ยนแปลงไปทั้งในระดับท้องถิ่น ระดับประเทศ ระดับภูมิภาค และระดับโลก
2. ช่วยให้นักเรียนได้เรียนรู้(Help my students learn) ครูต้องรู้จักนักเรียน ใช้วิธีการสอนที่ได้ประสิทธิผลสูงสุด นอกจากนี้ยังต้องประเมินผลและให้ข้อเสนอแนะกับนักเรียน
3. ให้ชุมชนมีส่วนร่วม (Engage the community) โดยร ่วมมือกับพ่อแม่และผู้ปกครองสร้างการมีส่วนร่วมกับชุมชนเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ของนักเรียน รวมทั้งส่งเสริมให้นักเรียนมีความเคารพและเข้าใจในความหลากหลาย
4. เป็นครูที่ดีขึ้นในทุกวัน (Become a better teacher everyday)ครูต้องรู้จักตนเองและผู้อื่นปฏิบัติตนเป็นคนดีและเป็นแบบอย่างที่ดีในการทำงาน อีกทั้งยังต้องเป็นผู้เชี่ยวชาญในการสอนหวังว่ากรอบสมรรถนะดังกล่าวจะเป็นแนวทางและเป็นประโยชน์ต่อข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาทุกท่านในการนำไปเป็นแนวปฏิบัติเพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และนำไปสู่การเป็นครูผู้มีสมรรถนะที่มีมาตรฐานเดียวกันกับผู้ประกอบวิชาชีพครูในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ต่อไป

ดร.อุษณีย์ ธโนศวรรย์  เลขาธิการ ก.ค.ศ.

ที่มา : ก.ค.ศ.

เรื่องอื่นๆที่น่าสนใจ

Back to top button