ข่าวการศึกษาหนังสือราชการ

ข้อกำหนด การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน ฉบับที่ 20 ห้ามใช้สถานที่โรงเรียนเพื่อจัดการเรียนการสอน สอบ อบรม หรือกิจกรรมใดๆ ที่มีผู้เข้าร่วมจำนวนมาก

ข้อกำหนด การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน ฉบับที่ 20 ห้ามใช้สถานที่โรงเรียนเพื่อจัดการเรียนการสอน สอบ อบรม หรือกิจกรรมใดๆ ที่มีผู้เข้าร่วมจำนวนมาก

ข้อ 1 การห้ามดำเนินการหรือจัดกิจกรรมหรือที่เสี่ยงต่อการแพร่โรค
 –  ห้ามการใช้อาคารหรือสถานที่ของโรงเรียนและสถาบันการศึกษาทุกประเภท เพื่อการจัดการเรียนการสอน การสอบ การฝึกอบรม หรือการทำกิจกรรมใดๆ ที่มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมเป็นจำนวนมากทำให้เสี่ยงต่อการแพร่โรค เว้นแต่การใช้เป็นที่เอกเทศตามกฎหมายวาด้วยโรคติดต่อหรือการใช้เป็นสถานที่เพื่อให้ความช่วยเหลืออุปการะ หรือการใช้สถานที่ตามข้อยกเว้นที่กำหนดไว้ในข้อ๑ของข้อกำหนด (ฉบับที่ 16) ลงวันที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2564

–  ห้ามการจัดกิจกรรมซึ่งมีการรวมกลุ่มของ บุคคลที่มีจำนวนร่วมกัน มากกว่าห้าสิบคน เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่หรือเป็นกิจกรรมที่ดำเนินการโดยพนักงานเจ้าหน้าที่หรือเปืนกิจกรรมในพื้นที่ที่กำหนดให้เป็นสถานที่กักกันโรค โดยให้ดำเนินการตามมาตรการป้องกันโรคที่ทำงราชการกำหนด ซึ่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครหรือผู้ว่าราชการจังหวัด โดยคำแนะนำของคณะกรรมการโรคติดต่อกรุงเทพมหานครหรือคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด แล้วแต่กรณีกำหนดหลักเกณฑ์การพิจารณาอนุญาตของพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่

ติดตามข่าวอื่น ๆ ได้ที่เพจ : https://www.facebook.com/rukkroo

ข้อ 2 การปิดสถานบริการหรือสถานที่เสี่ยงต่อการแพร่โรคทั่วราชอาณาจักร

ให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และผู้ว่าราชการจังหวัด พิจารณาสั่งปิดสถานบริการ สถานประกอบการที่มีลักษณะคล้ายสถานบริการ สถานบันเทิง ผับ บาร์ คาราโอเกะ สถานประกอบกิจการอาบน้ำ สถานประกอบกิจการ อาบอบนวด หรือสถานที่อื่นที่มีลักษณะคล้ายกัน โดยให้สั่งปิดสถานที่ดังกล่าวไว้เป็นการชั่วคราวอย่างน้อย 14 วัน

ข้อ 3 การกำหนดพื้นที่สถานการณ์ กำหนดเขตพื้นที่สถานการณ์ เพื่อการบังคับใช้มาตรการควบคุมแบบบูรณาการ จำแนกตามเขตพื้นที่ดังนี้

– พื้นที่ควบคุมสูงสุด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร, ขอนแก่น, ชลบุรี, เชียงใหม่, ตาก, นครปฐม, นครราชสีมา, นนทบุรี, ปทุมธานี, ประจวบคีรีขันธ์, ภูเก็ต, ระยอง, สงขลา, สมุทรปราการ, สมุทรสาคร, สระแก้ว, สุพรรณบุรี, อุดรธานี รวม 18 จังหวัด

– พื้นที่ควบคุม ให้พื้นที่จังหวัดอื่นนอกจากที่กำหนดในข้อบน รวม 59 จังหวัด เป็นพื้นที่ควบคุม

ข้อ 4 มาตรการควบคุมแบบบูรณาการจำแนกตามพื้นที่สถานการณ์ กำหนดมาตรการควบคุมที่จำเป็นอย่างเร่งด่วน สำหรับสถานที่ กิจการ หรือ กิจกรรม เพื่อให้สามารถเปิดดำเนินการได้ภายใต้เงื่อนไข เป็นระยะเวลา 14 วัน

  • พื้นที่ควบคุมสูงสุด

ก. การจำหน่ายอาหารหรือเครื่องดื่ม ให้การบริโภคอาหารและเครื่องดื่มในร้าน ได้ไม่เกินเวลา 21.00 น. และให้จำหน่ายอาหารและเครื่องดื่มได้จนถึงเวลา 23.00 น. ในลักษณะของการนำไปบริโภคที่อื่น

ข. การจำหน่ายสุราหรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ สำหรับร้านอาหารหรือสถานที่จำหน่ายสุรา ห้ามการบริโภคสุราหรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ในร้าน

ค. ห้างสรรพสินค้า ศูนย์การค้า คอมมูนิตี้มอลล์ หรือสถานประกอบการอื่นที่มีลักษณะคล้ายกัน ให้เปิดดำเนินการได้ตามเวลาปกติของสถานที่นั้นๆ จนถึงเวลา 21.00 น. โดยให้จำกัดจำนวนผู้ใช้บริการและงดเว้นการจัดกิจกรรมส่งเสริมการขาย

ง. ร้านสะดวกซื้อ ซูเปอร์มาร์เก็ต ตลาดนัดกลางคืน ตลาดโต้รุ่ง ถนนคนเดิน ให้เปิดดำเนินการได้ตามเวลาปกติของสถานที่นั้นๆ แต่ไม่เกินเวลา 23.00 น. สำหรับร้านหรือสถานที่ซึ่งตามปกติเปิดให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง ให้เริ่มเปิดดำเนินการได้ในเวลา 04.00 น.

จ. สนามกีฬาหรือสถานที่เพื่อการออกกำลังกาย ยิม ฟิตเนส สามารถเปิดให้บริการได้ไม่เกินเวลา 21.00 น.

  • พื้นที่ควบคุม

ก. การจำหน่ายอาหารหรือเครื่องดื่ม ให้การบริโภคอาหารและเครื่องดื่มและการบริโภคในร้าน ไม่เกินเวลา 23.00 น.

ข. การจำหน่ายสุราหรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ สำหรับร้านอาหารหรือสถานที่จำหน่ายสุรา ห้ามการบริโภคสุราหรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ในร้าน

ค. ห้างสรรพสินค้า ศูนย์การค้า คอมมูนิตี้มอลล์ หรือสถานประกอบการอื่นที่มีลักษณะคล้ายกัน ให้เปิดดำเนินการได้ตามเวลาปกติของสถานที่นั้นๆ จนถึงเวลา 21.00 น. โดยให้จำกัดจำนวนผู้ใช้บริการและงดเว้นการจัดกิจกรรมส่งเสริมการขาย

ข้อ 5 การงดหรือหลีกเลี่ยงการเดินทาง รัฐบาลขอความร่วมมือให้ประชาชนงดหรือชะลอการเดินทางในช่วงเวลานี้ โดยไม่มีเหตุจำเป็น โดยเฉพาะการหลีกเลี่ยงการเดินทางเข้าไปในเขตพื้นที่ควบคุมสูงสุด

ข้อ 6 การจัดกิจกรรมงานเลี้ยงสังสรรค์ ขอความร่วมมือให้ประชาชนเลื่อนหรืองดการจัดกิจกรรมสังสรรค์ งานเลี้ยง หรืองานรื่นเริงในช่วงเวลานี้ก่อน

ข้อ 7 การดำเนินรูปแบบการปฏิบัติงานที่เหมาะสม ขอความร่วมมือให้เจ้าของกิจการ ผู้ประกอบการภาคเอกชนพิจารณาและดำเนินรูปแบบการปฏิบัติงานของบุคลากร ในความรับผิดชอบในช่วงเวลานี้

ข้อ 8 มาตรการเพื่อรองรับผู้ติดเชื้อให้ศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุข กรณีโรคติดเชื้อโควิด-19 ร่วมกับ ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 กระทรวงมหาดไทย และศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินด้านความมั่งคง เร่งดำเนินการจัดหาสถานที่เพื่อใช้เป็นสถานที่รองรับ ดูแลรักษา และแยกกัก กักกันผู้ติดเชื้อ โดยขอความร่วมมือจากสถานศึกษา มหาวิทยาลัย โรงแรม หอประชุม สถานที่ของเอกชน หรือสถานที่อื่นที่มีความเหมาะสม

ข้อ 9 การประเมินสถานการณ์ให้ ศปก.ศบค. พิจารณาและประเมินสถานการณ์ เพื่อการปรับเปลี่ยนระดับพื้นที่สถานการณ์และมาตรการควบคุมแบบบูรณาการรวมทั้งแนวปฏิบัติตามพื้นที่สถานการณ์ได้ตามความเหมาะสมและสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์ในห้วงเวลาต่างๆ และเสนอต่อนายกรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอนุญาต

อย่างไรก็ตาม สำหรับมาตรการดังกล่าว จะกำหนดใช้ประมาณ 2 สัปดาห์ ถ้าหากผ่านพ้นวิกฤติไปได้ แต่หากสถานการณ์ยังไม่ดีขึ้น ผู้ว่าราชการกรุงเทพฯ และผู้ว่าฯ แต่ละจังหวัดสามารถดำเนินการพิจารณาตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อในการสั่งปิด หรือห้ามการดำเนินการของพื้นที่ สถานที่ หรือสั่งงดกิจกรรมที่จะทำให้เกิดการแพร่ระบาดได้ทันที.

อ่านโดยละเอียด ที่นี่

เรื่องอื่นๆที่น่าสนใจ

Back to top button