ข่าวการศึกษา

สรุปงานแถลงข่าว “จุดยืนลดภาระทางการศึกษา” วันจันทร์ที่ 16 สิงหาคม พ.ศ.2564

งานแถลงข่าว “จุดยืนลดภาระทางการศึกษา” วันจันทร์ที่ 16 เดือนสิงหาคม พ.ศ.2564
โดย นายสุรวุฒิ เอี่ยวสกุล ผู้อำนวยการโรงเรียนวัดสุวรรณคีรีวงก์
…………………………………………………….

🧡น.ส.ตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวรายงาน
สถานการณ์ปัจจุบันทำให้โรงเรียน นักเรียน และผู้ปกครอง อยู่ในสถานการณ์ยากลำบากในการเรียนการสอน และการใช้ชีวิตเนื่องจากการแพร่ระบาดของโควิด – 19 ดังนั้นทุกภาคส่วนจะต้องปรับตัวไปพร้อม ๆ กัน เพื่อให้การศึกษาและการเรียนรู้ยังคงสามารถเกิดขึ้นได้ ภายใต้แนวคิด “ผู้เรียนจะต้องไม่พลาดโอกาสในการเรียนรู้” เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคมที่ผ่านมา ครม. อนุมัติงบประมาณเป็นกรณีพิเศษ เพื่อสนับสนุน เยียวยาและลดกระทบการศึกษาให้โรงเรียน ครู นักเรียน และผู้ปกครอง เป็นเงิน 22,000 ล้านบาท ซึ่งแบ่งเป็น 3 ประเด็นหลัก ดังนี้

ติดตามข่าวอื่น ๆ ได้ที่เพจ : https://www.facebook.com/rukkroo

1. งบประมาณอุดหนุนสำหรับนักเรียนทุกคน อนุบาล ประถมศึกษา มัธยมศึกษา อาชีวศึกษา (ปวช. และ ปวส.) (เงินเยียวยานักเรียน) คนละ 2,000 บาท จำนวนกว่า 10 ล้านคน

2. ลดช่องว่างเรียน โดยการยืดหยุ่นการใช้งบประมาณ “เรียนฟรี 15 ปีทางการศึกษา” ทั้งค่าเล่าเรียน หนังสือเรียน อุปกรณ์การเรียน เครื่องแบบนักรเยน และค่ากิจกรรมพัฒนาผู้เรียน เพื่อให้สามารถใช้งบในส่วนที่จำเป็นและเหมาะสม

3. ให้งบช่วยเหลือสนับสนุนทางการศึกษา เพื่อให้ครูนำไปใช้ในการพัฒนากระบวนการเรียนการสอนให้มีความหลากหลาย การเดินทางในการเข้าถึงนักเรียน และค่าอินเตอร์เน็ต

ทาง กสทช. ให้การอนุเคราะห์อินเตอร์เน็ตฟรีในภาคเรียนที่ 1 และหวังว่าจะได้รับการเพิ่มเติมในภาคเรียนที่ 2
ทุกคนจะได้รับเงินภายใน 7 วัน หลังจากที่เงินถึงกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อให้การเรียนรู้ของนักเรียนไม่หยุดนิ่งและพลาดโอกาสทางการศึกษา

🧡พลเอกประยุทธ์ จันโอชา นายกรัฐมนตรี
ผลกระทบจากโควิด ทำให้เกิดผลทุกด้าน ทำให้เกิด New Normal รวมถึงกิจกรรมด้านการศึกษาเช่นกัน ทำให้ครูต้องปรับการสอนเป็นการสอนทางไกล นักเรียนเรียนเรียนหนังสือที่บ้าน อาจจะต้องใช้เทคโนโลยีผ่านระบบ Online ส่งผลให้ผู้ปกครองมีค่าใช้จ่ายมากขึ้น ทางรัฐบาลพยายามหาแนวทางการลดภาระของนักเรียน ผู้ปกครอง ครู และโรงเรียน ทั้งมาตรการทางการเงิน อุปกรณ์ที่ใช้ในการเรียนการสอน อินเตอร์เน็ต เพื่อลดผลกระทบทางการศึกษาของเยาวชนให้ได้มากที่สุด ให้เด็กและเยาวชนได้รับการศึกษาที่มีประสิทธิภาพสูงสุดแม้อยู่ในสถานการณ์วิกฤต โดยทุกคนจะต้องได้รับโอกาสทางการศึกษาอย่างเท่าเทียมกัน

ขอให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาการจัดการศึกษาให้ได้มาตรฐาน ได้รับการศึกษาครบถ้วย พร้อมทั้งปลูก ฝังคุณธรรม จริยธรรม ศีลธรรม ประวัติศาสตร์ และเติบโตเป็นพลเมืองที่ดีของประเทศต่อไป
สิ่งที่ครู และโรงเรียนต้องทำตอนนี้ คือ การปรับรูปแบบการเรียนรู้ที่ #ไม่เน้นองค์ความรู้ แต่เน้นให้นักเรียนสามารถนำองค์ความรู้มาปรับใช้ในชีวิตประจำวัน และการทำงานได้ในอนาคต ปรับเปลี่ยนหลักสูตร รูปแบบการจัดการเรียนรู้ รวมถึงแนวทางการประเมินต่าง ๆ

ใช้โอกาสนี้ทำให้เกิดการเรียนรู้ไปพร้อมกันระหว่าง นักเรียน ครู และผู้ปกครอง โดยการใช้แนวทางของ Active Learning ครูต้องจะต้องสร้างแรงกระตุ้นให้นักเรียนมีเป้าหมายในการเรียนรู้ ทราบว่าเรียนเพื่ออะไร
ขอบคุณ และชื่นชมทุกท่านที่ปรับรูปแบบการจัดการศึกษาในสถานการณ์นี้

🧡เสวนา
👨🏼‍🏫 ดร.สุภัทร จำปาทอง ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
ค่าใช้จ่ายในการเปลี่ยนแปลงรูปแบบทางการศึกษาส่วนหนึ่งเป็นภาระของโรงเรียน ส่วนหนึ่งเป็นภาระของผู้ปกครอง สำหรับการจัดสรรเงินเป็นรายหัวให้นักเรียนคาดว่าจะมีส่วนช่วยเหลือผู้ปกครองได้ในส่วนหนึ่ง

ความสามารถในการปรับตัวของผู้ปกครองช่วยครูจัดการศึกษา ภาคประชาชนลำบากและต้องการได้รับการช่วยเหลือ ส่วนหนึ่ง รมต. พยายามดำเนินการเรื่องจัดสรรเงินเยียวยา

ขอบคุณทาง กสทช. ที่ได้จัด top up ระบบอินเตอร์ในการช่วยเหลือค่าใช้จ่ายในการเรียนทางไกล

👨🏻‍🏫ดร. ไตรรัตน์ วิริยะศิริกุล รักษาการเลขาธิการ กสทช.
จากสถานการณ์โควิดทำให้ กสทช. จะต้องให้การช่วยเหลือ โดยการดูแล นักเรียนตั้งแต่อนุบาล ประถมศึกษา มัธยมศึกษา อาชีวศึกษา และ กศน. มูลค่า 79 บาท สำหรับนักเรียนที่เป็น mobile broadband สำหรับบ้านที่ fix broadband คือ ใช้อินเตอร์ที่บ้าน หรือมี WiFi จะมีการหักค่าใช้จ่ายประจำเดือนออกไป 84 บาท สามารถใช้ในการจัดการเรียนการสอนในช่องทางต่าง ๆ
โดยเริ่มตั้งแต่ 15 สิงหาคม – 15 ตุลาคม ใส่ชื่อ เบอร์โทรศัพท์ และค่าย ส่งผ่านทางเลขาธิการ กพฐ. และทาง กสทช. จะได้ดำเนินการต่อไป

👨‍🏫ดร.อัมพร พินะสา เลขาธิการ กพฐ.
เมื่อนักเรียนมาเรียนที่โรงเรียนไม่ได้ นักเรียนต้องเรียนที่บ้าน ดังนั้นทาง สพฐ. จึงต้องสนับสนุนแนวทางการจัดการศึกษา ดดยคำนึงถึงความแตกต่างของนักเรียน ดังนี้
– บ้านไม่มีไฟฟ้า อินเตอร์เน็ตเข้าไม่ถึง ใช้รูปแบบ On-hand
– ที่บ้านมีไฟฟ้า แต่ไม่มีอินเตอร์เน็ต ใช้รูปแบบ On Air
– ที่บ้านมีไฟฟ้า มีอินเตอร์ ใช้รูปแบบ Online / On-demand

ตอนนี้การเรียนรู้การขึ้นได้ดีต้องมี “ใจ” เป็นหลัก นักเรียนต้องมีความรับผิดชอบในการเรียน โดยมีผู้ปกครองให้การช่วยเหลือ
สพฐ. ขอบคุณ รัฐบาล กสทช. และหน่วยงานต่าง ๆ ที่จะช่วยเหลือในการลดภาระของผู้ปกครอง ครู และนักเรียน
มีการปรับแก้ระเบียบแนวทางการปฏิบัติการใช้เงินอุดหนุนให้สามารถเอาไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนได้คล่องขึ้น
สำคัญที่สุด ถ้าต้องเรียนแบบ 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้แบบเดิมนักเรียนอาจเรียนไม่ไหว ดังนั้นต้องปรับการเรียน เช้าเรียนวิชาการ บ่ายปฏิบัติ หรือ การประเมินนักเรียนกาปฏิบัติกิจกรรมต่าง ๆ ปัจจุบันมีการกำหนดไว้ 3 แนวทาง
– ปรับตารางเรียน / ลดการบ้าน
– กำหนดจุดประสงค์เท่าที่จำเป็น
– การปรับเปลี่ยนการประเมิน การสอบ

👨🏽‍🏫 ดร.สุเทพ แก่งสันเที๊ยะ เลขาธิการอาชีวศึกษา
ต่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทุกกลุ่ม ทั้งนักเรียน ครู ผู้ปกครองและสถานศึกษา ในการนี้ทางอาชีวะศึกษาได้รับโจทย์ว่าต่อให้มีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการจัดการเรียนการสอน แต่นักเรียนยังต้องมีคุณภาพ ด้วยธรรมชาติการจัดการเรียนการรู้ของอาชีวะศึกษา เน้นที่สมรรถนะ นักเรียนต้องฝึกปฏิบัติ ดังนั้นจะต้องปรับแนวทางการจัดการเรียนรู้ใน 3 รูปแบบ Online On-site และผสมผสาน ทาง…หารือร่วมกับบอร์ด ให้ปรับแนวทางการวัดและประเมินผล แต่ปีการศึกษานี้ให้นำเอาเนื้อหาทฤษฎีเข้ามาเรียนก่อน และนำวิชาปฏิบัติไปภาคเรียนหน้า ปรับรูปแบบการประเมินจากภาคเรียนเป็นปีการศึกษา นักเรียนที่เรียนแบบทวิภาคีจะต้องได้รับการยินยอม 3 ฝ่าย หน่วยงานสถานประกอบการ ผู้ปกครอง และสถานศึกษา หากมีปัญหาทางใดทางหนึ่งให้สถานศึกษาปรับเป็นสถานการจำลองเพื่อให้นักเรียนสามารถผ่านการประเมิน

กรณีนักเรียนที่ป่วยไม่สามารถเข้าเรียนได้ ให้สถานศึกษาดำเนินการออกแบบการเรียนการรู้ที่เอื้อให้ผู้เรียนสามารถเรียนที่บ้านได้

สถาบันอาชีวะได้ดำเนินการคืนเงินค่าเทอมส่วนหนึ่งให้ผู้ปกครองเป็นการลดภาระไปแล้ว
ที่สำคัญ คือ ในสถานการณ์แบบนี้จะต้องไม่มี learning lost เกิดขึ้นในอาชีวะศึกษา

#จุดยืนลดภาระทางการศึกษา

ขอบคุณท่าน ผอ.สุรวุฒิ เอี่ยวสกุล ผู้อำนวยการโรงเรียนวัดสุวรรณคีรีวงก์  ที่กรุณาสรุปไว้ ครับ

เรื่องอื่นๆที่น่าสนใจ

Back to top button