สาระความรู้

กรมบัญชีกลาง ปรับปรุง ว.89 กฎกระทรวงกำหนดพัสดุและวิธีการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุที่รัฐต้องการส่งเสริมหรือสนับสนุน เพื่อความคล่องตัว

กรมบัญชีกลาง ปรับปรุง ว.89 กฎกระทรวงกำหนดพัสดุและวิธีการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุที่รัฐต้องการส่งเสริมหรือสนับสนุน เพื่อความคล่องตัว

กรมบัญชีกลาง ปรับปรุง ว.89 กฎกระทรวงกำหนดพัสดุและวิธีการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุที่รัฐต้องการส่งเสริมหรือสนับสนุน เพื่อความคล่องตัว

กรมบัญชีกลางปรับปรุงกฎกระทรวงกำหนดพัสดุและวิธีการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุที่รัฐต้องการส่งเสริมหรือสนับสนุน เพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการปฏิบัติงาน
นายประภาศ คงเอียด อธิบดีกรมบัญชีกลาง เปิดเผยว่า ตามที่กระทรวงการคลังได้ออกกฎกระทรวงกำหนดพัสดุและวิธีการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุที่รัฐต้องการส่งเสริมหรือสนับสนุน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2563 มีผลใช้บังคับ ตั้งแต่วันที่ 22 ธันวาคม 2563 เป็นต้นมา ซึ่งจากการดำเนินการที่ผ่านมา กรมบัญชีกลางได้รับทราบปัญหาจากการออกกฎกระทรวงฯ และหนังสือแจ้งเวียนแนวทางปฏิบัติดังกล่าว เช่น
1) หน่วยงานของรัฐเชิญเฉพาะผู้ประกอบการรายเดิมเข้ายื่นข้อเสนอ ทำให้ไม่เกิดการแข่งขันราคาอย่างเป็นธรรม
2) การค้นหารายการสินค้าหรืองานบริการที่ www.thaismegp.com ของสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ซึ่งไม่มีรายละเอียดของพัสดุที่ขายหรือรายละเอียดของงานที่รับจ้าง ทำให้หน่วยงานของรัฐไม่สามารถค้นหารายการสินค้าและงานบริการต่าง ๆ ได้
3) หน่วยงานของรัฐยังมีความไม่เข้าใจในการปฏิบัติงานเนื่องจากแนวทางปฏิบัติในบางเรื่องยังมีความไม่ชัดเจน รวมทั้งแนวทางปฏิบัติในบางเรื่องยังมีความไม่คล่องตัว เป็นต้น

ติดตามข่าวอื่น ๆ ได้ที่เพจ : https://www.facebook.com/rukkroo

ดังนั้น เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาดังกล่าวข้างต้น รวมทั้งเพื่อให้เกิดความชัดเจนและความคล่องตัวในทางปฏิบัติตามกฎกระทรวงฯ กรมบัญชีกลางจึงได้ยกเลิกหนังสือคณะกรรมการวินิจฉัยปัญหาการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ ด่วนที่สุด ที่ กค (กวจ) 0405.2/ว 89 ลงวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2564 และได้จัดทำคู่มือการปฏิบัติงานตามกระทรวงฯ ขึ้นใหม่ เสนอคณะกรรมการวินิจฉัยปัญหาการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ (คณะกรรมการวินิจฉัย) พิจารณา ซึ่งคณะกรรมการวินิจฉัยพิจารณาและมีมติในคราวการประชุมครั้งที่ 13/2564 เมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2564 เห็นชอบคู่มือแนวทางการปฏิบัติตามกฎกระทรวงตามที่กรมบัญชีกลางเสนอ โดยมีการเปลี่ยนแปลงหลักการจากเดิม เป็นดังนี้

1. การจัดซื้อจัดจ้างครั้งหนึ่งที่มีวงเงินไม่เกิน 500,000 บาท หน่วยงานของรัฐสามารถจัดซื้อจัดจ้างโดยวิธีเฉพาะเจาะจง ตามมาตรา 56 วรรคหนึ่ง (2) (ข) แห่งพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างฯ กับผู้ประกอบการรายใดรายหนึ่งก็ได้
2. การช่วยเหลือสนับสนุนผู้ประกอบการ SMEs ที่กำหนดให้หน่วยงานของรัฐจัดซื้อจัดจ้างพัสดุจากผู้ประกอบการ SMEs ตามรายการสินค้าหรือบริการที่มีรายชื่อตามที่สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) ได้ขึ้นบัญชีไว้ โดยให้ใช้เงินงบประมาณจัดซื้อจัดจ้างพัสดุดังกล่าว ไม่น้อยกว่าร้อยละ 30 ของงบประมาณในการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุที่อยู่ในบัญชีรายชื่อผู้ประกอบการ SMEs ซึ่งการส่งเสริมสนับสนุน แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ ได้แก่
2.1 การส่งเสริมสนับสนุนผู้ประกอบการ SMEs ในเชิงพื้นที่ โดยพิจารณาจากพื้นที่ที่ได้รับงบประมาณหรือพื้นที่ที่จะนำพัสดุนั้นไปใช้งาน โดยให้เชิญผู้ประกอบการ SMEs ไม่น้อยกว่า 3 ราย เสนอราคาโดยวิธีคัดเลือก ปรับแก้ไขให้เพิ่มเป็น “ไม่น้อยกว่า 6 ราย” เพื่อให้เกิดการแข่งขันมากขึ้น
2.2 การให้แต้มต่อด้านราคากับผู้ประกอบการ SMEs ในการเสนอราคาสูงกว่าราคาต่ำสุดของผู้เสนอราคารายอื่นไม่เกินร้อยละ 10 โดยให้ใช้กับวิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ รวมทั้งวิธีคัดเลือกกรณีที่ใช้เกณฑ์ราคาเป็นเกณฑ์ในการพิจารณาด้วย ซึ่งเดิมกำหนดให้ใช้กับวิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้เกณฑ์ราคาเป็นเกณฑ์ในการพิจารณาเท่านั้น
3. กรณีที่หน่วยงานของรัฐซื้อหรือจ้างพัสดุที่ไม่มีผลิตภายในประเทศ หน่วยงานของรัฐสามารถกำหนดคุณลักษณะเฉพาะของพัสดุหรือขอบเขตของงานตามความต้องการที่ใช้พัสดุนั้น โดยไม่ต้องขออนุมัติจากหัวหน้าหน่วยงานของรัฐหรือผู้มีอำนาจเหนือขึ้นไปหนึ่งชั้น
4.งานจ้างก่อสร้างและงานจ้างที่มิใช่งานก่อสร้าง กรณีที่วงเงินไม่เกิน 500,000 บาท และกรณีที่สัญญาไม่เกิน 60 วัน กรณีงานจ้างก่อสร้างผู้ประกอบการที่เป็นคู่สัญญาไม่ต้องจัดทำแผนการใช้พัสดุที่ผลิตภายในประเทศและแผนการใช้เหล็กภายในประเทศ หรืองานจ้างทั่วไปที่มิใช่งานก่อสร้างผู้ประกอบการที่เป็นคู่สัญญาไม่ต้องจัดทำแผนการใช้พัสดุที่ผลิตภายในประเทศ
5. งานจ้างก่อสร้างและงานจ้างที่มิใช่งานก่อสร้าง กรณีที่วงเงินเกิน 500,000 บาท และกรณีที่สัญญาเกิน 60 วัน กรณีงานจ้างก่อสร้างให้คู่สัญญาต้องจัดทำแผนการใช้พัสดุที่ผลิตภายในประเทศและแผนการใช้เหล็กภายในประเทศหรืองานจ้างทั่วไปที่มิใช่งานก่อสร้างผู้ประกอบการที่เป็นคู่สัญญา ต้องจัดทำแผนการใช้พัสดุที่ผลิตภายในประเทศ เดิมกำหนดให้จัดทำแผนยื่นให้หน่วยงานของรัฐภายใน 30 วัน นับถัดจากวันลงนามในสัญญา ปรับแก้ไขใหม่เป็น กำหนดให้จัดทำแผนยื่นให้หน่วยงานของรัฐภายใน 60 วัน นับถัดจากวันลงนามในสัญญา

“คู่มือการปฏิบัติงานตามกฎกระทรวงฯ ข้างต้น เป็นการกำหนดขั้นตอนการปฏิบัติงานตั้งแต่การกำหนดคุณลักษณะเฉพาะของพัสดุหรือขอบเขตของงาน การกำหนดเงื่อนไขในเอกสารประกวดราคาและหนังสือเชิญชวน การเลือกใช้วิธีการจัดซื้อจัดจ้าง การบริหารสัญญาและการตรวจรับพัสดุ ซึ่งจะทำให้หน่วยงานของรัฐสามารถนำไปปฏิบัติงานได้อย่างคล่องตัว ชัดเจน และถูกต้อง ทั้งนี้ สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ Call center กรมบัญชีกลาง 02 270 6400 ในวัน เวลาราชการ” อธิบดีกรมบัญชีกลาง กล่าว

ที่มา : กรมบัญชีกลาง

เรื่องอื่นๆที่น่าสนใจ

Back to top button