ข่าวการศึกษา

เครือข่ายองค์กรวิชาชีพครูไทย หนุนมติ กมธ.วิสามัญ ร่าง พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติฯ ยกเลิกคำสั่ง คสช.ว่าด้วยการปฏิรูปการศึกษาในภูมิภาค

เครือข่ายองค์กรวิชาชีพครูไทย หนุนมติ กมธ.วิสามัญ ร่าง พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติฯ ยกเลิกคำสั่ง คสช.ว่าด้วยการปฏิรูปการศึกษาในภูมิภาค

5 พ.ค.65 – รองประธาน กมธ.วิสามัญร่าง พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ….รัฐสภา รับหนังสือจากเครือข่ายองค์กรวิชาชีพครูไทย ขอสนับสนุนมติเสียงข้างมาก กมธ.ยกเลิกคำสั่ง คสช.ว่าด้วยการปฏิรูปการศึกษาในภูมิภาค หวังปรับปรุงกฎหมายให้สถานศึกษามีโอกาสบริหารจัดการงานด้านการศึกษามากขึ้น

รองศาสตราจารย์สุรวาท ทองบุ รองประธานคณะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ….รัฐสภา รับหนังสือจากนายธนชน มุทาพร ที่ปรึกษาชมรมผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาแห่งประเทศไทยรักษาการประธานเครือข่ายองค์กรวิชาชีพครูไทย (ค.อ.ท.) เพื่อขอสนับสนุนมติ กมธ.วิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ….รัฐสภา ที่ได้พิจารณาในมาตรา 3 โดยมีมติยกเลิกคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) 5 ฉบับ ซึ่งรวมถึงคำสั่งที่ 19 /2560 เรื่องการปฏิรูปการศึกษาในภูมิภาคของกระทรวงศึกษาธิการ เนื่องจากคำสั่งดังกล่าวที่ถูกบังคับใช้มาตลอด 5 ปี ไม่ได้ส่งผลต่อการปฏิรูปการศึกษาในภูมิภาคได้อย่างมีประสิทธิภาพ และไม่ก่อเกิดการพัฒนาคุณภาพการศึกษาเชิงบูรณาการแต่อย่างใด อาทิ ความล่าช้าการบรรจุและการอมุมัติวิทยาฐานะของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ดังนั้น ทางเครือข่ายฯ ซึ่งประกอบด้วยเครือข่ายองค์กรวิชาชีพครูมากกว่า 300 องค์กรทั่วประเทศ จึงขอสนับสนุนมติเสียงข้างมากของ กมธ.ดังกล่าว เพื่อให้ร่าง พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติฯ ที่กำลังอยู่ระหว่างการพิจารณา ได้มีการกำหนดอำนาจหน้าที่ให้กับผู้ได้รับผลกระทบอย่างมีความเหมาะสมและสอดคล้องกับแผนปฏิรูปประเทศด้านการศึกษา รวมทั้งมีการกระจายอำนาจให้หน่วยงานต้นสังกัดของสถานศึกษาได้มีโอกาสบริหารจัดการงานด้านการศึกษาได้มากขึ้น

ติดตามข่าวอื่น ๆ ได้ที่เพจ : https://www.facebook.com/rukkroo

ด้าน รองประธาน กมธ.วิสามัญฯ กล่าวว่า กมธ.ได้ตระหนักถึงผลกระทบที่บุคลากรทางการศึกษาได้รับจากคำสั่งดังกล่าว จึงมีมติเสียงข้างมากเมื่อวันที่ 22 เมษายน 2565 เห็นควรยกเลิกคำสั่งหัวหน้า คสช.ทั้ง 5 ฉบับและคำสั่งที่เกี่ยวข้อง เนื่องจากพบว่า คำสั่งดังกล่าวไม่ได้เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการด้านการศึกษาแต่อย่างใด จึงจำเป็นต้องยกเลิกกฎหมายหรือคำสั่งที่เกี่ยวข้อง แล้วนำมาข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากทุกภาคส่วนมาปรังปรุง เพื่อให้ร่าง พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ….เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาไทยอย่างแท้จริง

ที่มา : สถานีวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์รัฐสภา

เรื่องอื่นๆที่น่าสนใจ

Back to top button