ผลการประชุมกระทรวงศึกษาธิการ ประชุมองค์กรหลัก 20/2558
พลเอกดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ประชุมผู้บริหารองค์กรหลักของกระทรวงศึกษาธิการ ครั้งที่ 10/2558 เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 15 ตุลาคม 2558 ณ ห้องประชุมราชวัลลภ โดยมีประเด็นสำคัญ ดังนี้
เรื่องที่นายกรัฐมนตรีแจ้งในที่ประชุมคณะรัฐมนตรี
ติดตามข่าวอื่น ๆ ได้ที่เพจ : https://www.facebook.com/rukkroo
รมว.ศึกษาธิการได้แจ้งเรื่องที่นายกรัฐมนตรีสั่งการในที่ประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 13ตุลาคมที่ผ่านมา ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับกระทรวงศึกษาธิการ คือ
– การติดตามงานตามนโยบายของกระทรวงต่างๆ โดยรัฐบาลจะให้สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.) ช่วยขับเคลื่อนการทำงานของกระทรวงต่างๆ ให้เป็นไปตาม Roadmapของรัฐบาลและคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) รวมทั้งการทำงานตามนโยบายต่างๆ ของทุกกระทรวงจะต้องสอดคล้องกับ 11 ประเด็นปฏิรูปของ คสช. และกรอบแนวคิดการปฏิรูปประเทศของ
จึงขอให้ทุกองค์กรหลักจัดทำนโยบายหลักที่จะดำเนินงานให้เสร็จสิ้นภายในสัปดาห์หน้า เพื่อรวบรวมนำเสนอต่อรัฐบาลต่อไป ซึ่งอาจจัดทำเป็นตาราง 3 ช่อง คือ 1) เรื่องที่จะดำเนินการปฏิรูปหรือปรับปรุง 2) กรอบระยะเวลาดำเนินการในปีงบประมาณปัจจุบัน (1 ตุลาคม 2558 – 30 กันยายน 2559) 3) กรอบระยะเวลาดำเนินการตั้งแต่ปีงบประมาณหน้า จนสิ้นสุด Roadmapเพื่อส่งต่อให้รัฐบาลใหม่ (ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2559 เป็นต้นไป)
ทั้งนี้ เพื่อให้รู้ถึงบริบทของประเทศต่างๆ ดังกล่าว ที่สามารถนำมาเปรียบเทียบกับรูปแบบการศึกษาและหลักสูตรของไทยที่จะเดินต่อไป เช่น ฟินแลนด์จะมีจุดเด่นในการอบรมพัฒนาครูผู้สอนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน, สาธารณรัฐเกาหลีและสิงคโปร์ที่มีจุดเด่นในการพัฒนาด้านอาชีวศึกษา หรือรูปแบบการจัดการอุดมศึกษาของสิงคโปร์ เป็นต้น โดยขอให้องค์กรหลักพิจารณาดำเนินการและเสนอความคืบหน้าในการประชุมครั้งต่อไป
เรื่องที่ รมว.ศึกษาธิการ ฝากให้ที่ประชุมพิจารณา
– การควบรวมโรงเรียน ให้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) จัดการประชุมเพื่อระดมความคิดเห็นในการพัฒนาคุณภาพโรงเรียนขนาดเล็ก โดยเฉพาะการควบรวมหรือยุบรวมโรงเรียนขนาดเล็ก ตามบริบทในปัจจุบัน
– โครงสร้างของอาชีวะเอกชน ให้สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) หารือกับสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) และสมาคมต่างๆ ของอาชีวะเอกชน เพื่อนำผลการหารือไปวิเคราะห์ปรับปรุงโครงสร้างที่จะให้อาชีวะเอกชนมาสังกัด สอศ. และนำผลการหารือมาจัดทำเป็น Timeframe ในการขับเคลื่อนร่วมกับภาคเอกชน เพื่อการวางแผนผลิตผู้เรียนให้สนองตอบต่อความต้องการกำลังคนของประเทศ
– การจ้างครู ภารโรง และครูธุรการ ให้ สพฐ.,สอศ.,สำนักงาน กศน. พิจารณาแนวคิดที่จะจ้างครูเก่งๆ ที่เกษียณอายุราชการไปแล้ว ให้เข้ามาสอนในโรงเรียนที่ขาดแคลนครู หรือในสาขาวิชาที่ขาดแคลนสูง อาจเป็น
– การซ่อมแซมครุภัณฑ์และสิ่งก่อสร้างในโรงเรียน สพฐ. เพื่อต้องการให้อาชีวะเข้ามาช่วยซ่อมแซมโรงเรียนในแต่ละพื้นที่ พร้อมทั้งย้ำถึงประเด็นการจัดซื้อจัดจ้างตามมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ 3 เดือน โดยขอให้เร่งดำเนินการและไม่ให้ผูกขาดกับผู้ประกอบการรายใหญ่รายหนึ่งรายใด หรือการให้บริษัทนอมินีเข้ามาจัดซื้อจัดจ้างในพื้นที่ต่างๆ โดยกระทรวงศึกษาธิการจะลงไปตรวจสอบในเรื่องนี้อย่างจริงจัง
– การปรับเปลี่ยนสถานะของผู้อำนวยการ/รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ให้ปลัดกระทรวงศึกษาธิการตั้งคณะทำงานเพื่อหารือกับ สพฐ. ว่า หากปรับเปลี่ยนจากสายงานวิชาการเป็นสายงานบริหารระดับต้นหรืออำนวยการสูง จะมีข้อดีข้อเสียอย่างไร เพราะที่ผ่านมาได้พบปะและรับฟังปัญหาจากผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษา ก็พบว่าภารกิจหลักๆ คือการบริหารหรือการบริการ มากกว่างานด้านวิชาการ และตำแหน่งดังกล่าวก็ถือเป็นผู้แทนของกระทรวงในระดับจังหวัด นอกจากนี้ ฝากให้ที่ประชุมไปพิจารณาระยะเวลาการดำรงตำแหน่งของผู้บริหารสถานศึกษาด้วยว่า ควรจำกัดระยะเวลาดำรงตำแหน่งในสถานศึกษาแต่ละแห่งว่ามีความจำเป็นหรือไม่อย่างไร
– การจัดระบบป้องกันอัคคีภัยของหน่วยงานและสถานศึกษา เพื่อให้หน่วยงาน รวมทั้งสถานศึกษาต่างๆ ในสังกัดมีการระมัดระวังรักษาความปลอดภัยในเรื่องนี้อย่างต่อเนื่อง
ที่มา : ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงศึกษาธิการ