ข่าวการศึกษา

ชี้เกาไม่ถูกที่เด็กสอบตกแล้วปรับข้อสอบ

ประธาน พว.ชี้เด็กทำข้อสอบแบบทดสอบต่าง ๆ ไม่ได้ เพราะวิเคราะห์ข้อสอบไม่เป็น แนะแก้ที่กระบวนการเรียนรู้ ต้องสอนเด็กให้คิดวิเคราะห์จะถูกทางกว่ามุ่งปรับปรุงข้อสอบ

จากการที่สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ(สทศ.)ได้ประกาศผลการทดสอบวิชาสามัญ 9 วิชา ปีการศึกษา 2559 ซึ่งพบว่ามีเพียงวิชาภาษาไทยวิชาเดียวที่คะแนนเฉลี่ยเกินครึ่ง ส่วนอีก 8 วิชามีคะแนนเฉลี่ยต่ำกว่าร้อยละ 50 พล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รมว.ศึกษาธิการ จึงต้องการให้ สทศ.ทบทวนข้อสอบที่ออกมาว่าสะท้อนขีดความสามารถของเด็กไทยหรือไม่ พร้อมทั้งกำชับให้ สทศ.ออกข้อสอบโดยดูระดับการคิดวิเคราะห์ของเด็กด้วย นั้น วันนี้ (18ก.พ.)ดร.ศักดิ์สิน โรจน์สราญรมย์ ประธานกรรมการบริหารสถาบันพัฒนาคุณภาพวิชาการ(พว.) กล่าวว่า สทศ.คือหน่วยงานวัดความรู้รวบยอดของนักเรียนทั้งประเทศ โดยวัดและประเมินผลสัมฤทธิ์ระดับชาติ ไม่ว่าจะเป็นการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน(โอเน็ต) หรือ การทดสอบทางการศึกษาระดับชาติด้านอาชีวศึกษา(วีเน็ต) ที่จะต้องวัดความรู้รวบยอดของเด็กแต่ละช่วงชั้นว่าเป็นอย่างไร

ติดตามข่าวอื่น ๆ ได้ที่เพจ : https://www.facebook.com/rukkroo

“การออกข้อสอบของ สทศ.จึงเป็นการออกตามตัวชี้วัด ตามมาตรฐานที่กำหนด เพื่อดูว่าเด็กเรียนแล้วบรรลุตัวชี้วัดหรือไม่ ซึ่งในระหว่างเนื้อหากับตัวชี้วัดต้องมีกระบวนการ ที่เรียกว่า How toเรียนแล้วเด็กสร้างความรู้เอง เป็นการเรียนที่ต้องทำความเข้าใจ ต้องคิด และลงมือทำ เพื่อให้เกิดเป็นความรู้ ซึ่งหลักการนี้จะทำให้ด็กเกิดการจำระยะยาว เป็นการจำแล้วไม่ลืม เพราะจำในหลักการ ดังนั้นการเรียนรู้จะต้องเรียนด้วยการปฏิบัติ เหมือนว่ายน้ำ ขี่จักรยาน”

ดร.ศักดิ์สินกล่าวและว่า ข้อสอบที่สทศ.ออกเป็นข้อสอบที่ออกตามมาตรฐาน จะไปฉีกมาตรฐานไม่ได้ และตัวชี้วัดเป็นเป้าหมายของการเรียนรู้ เป็นความรู้ปลายทางที่ถูกกำหนดไว้ ดังนั้นเมื่อผลสัมฤทธิ์เด็กออกมาอย่างไรเราต้องเอาผลที่ได้ออกมาใช้ โดยดูว่าการบริหารจัดการหลักสูตรเป็นอย่างไร มีจุดอ่อนที่ต้องปรับแก้อย่างไร ไม่ใช่เด็กสอบไม่ผ่านแล้วไปแก้หลักสูตร แต่ควรเอาผลมาประเมินว่าทำไมเด็กไม่สามารถวิเคราะห์ข้อสอบได้  ดร.ศักดิ์สิน กล่าวต่อไปว่า นอกจากนี้ต้องย้อนกลับไปดูว่าการจัดการเรียนการสอนของครูเป็นอย่างไร มีกระบวนการหรือมีแต่เนื้อหา ถ้ามีแต่เนื้อหาก็ต้องเติมกระบวนการลงไป หาเครื่องมือที่มีกระบวนการมาให้ครูพัฒนา ถ้าครูไม่ชำนาญก็ต้องสร้างความเข้าใจให้ได้ เช่น ต้นไม้ เมื่อตัดออกมาจะเห็นส่วนต่าง ๆ แก่นของต้นไม้คือหลักการหรือความคิดรวบยอดที่ต้องไปให้ถึง วงปีก็คือขั้นตอนคือกระบวนการที่จะไปให้ถึงแก่น ถอยออกมาคือกระพี้และเปลือกซึ่งคือเนื้อหา เพราะฉะนั้นถ้าเด็กไปไม่ถึงหลักการแล้วมาแก้แต่เนื้อหาก็คงไปไม่รอด“

อ่านต่อที่ : http://www.dailynews.co.th/education/380557

เรื่องอื่นๆที่น่าสนใจ

Back to top button