สาระความรู้

บริหารเงินเดือน ตอนชีวิตครูน้อย ค่อยๆเดิน

เรื่องราวดีมีอยู่บนอินเตอร์มากมาย  วันนี้ก็เช่นกันแอดมินได้เห็นกระทู้จากคุณครูท่านหนึ่ง ในเว็บ Pantip.com ซึ่งยังเป็นครูใหม่เงินเดือนเพียงเล็กน้อยแต่ก็สามารถบริหารจัดการเรื่องการเงินของตัวเองได้ดีทีเดียว เลยนำมาฝากเพื่อนครูหวังว่านี่จะเป็นอีกแนวทางหนึ่งที่ช่วยเราให้ลดภาระหนี้ลงได้บ้าง

บริหารเงินเดือน ตอนชีวิตครูน้อย ค่อยๆเดิน

โดย : สมาชิกหมายเลข 3492415  pantip.com

ติดตามข่าวอื่น ๆ ได้ที่เพจ : https://www.facebook.com/rukkroo

ข้อมูลพอสังเขป
ปัจจุบันอายุ 25 ปี อาชีพ รับราชการครู เงินเดือน ประมาณ 18,XXX บาท ค่ะ
กำลังเรียนต่อป.โท  มีลูกชายอายุ 11 เดือน
ขับรถมอเตอร์ไซค์ไปทำงาน ไป – กลับ 60 กิโลเมตร พักบ้านสามีค่ะ
(ลดภาระค่าอาหารและค่าเช่าบ้าน)

วันเงินเดือนออก
เมื่อเงินเดือนเข้าบัญชีสิ่งที่ต้องทำมีดังนี้ค่ะ
1.  โอนให้ท่านแม่ 4,000 บาท (พอเงินเดือน ถึง 18,000 ก็เพิ่มจาก 3 พัน เป็น 4 พัน)
2.  โอนเข้า บช.เงินเก็บ เดือนละ 3,000 บาท
3.  โอนเข้าบัญชีค่าเทอม เดือนละ 3,000 บาท (ซึ่งความจริงไม่พอ ขอให้สามีช่วยจ่าครึ่งหนึ่งค่ะ อิอิ)
4. ออมไว้เพื่อใช้หนี้ กยศ. เดือนละ 1,000 บาท (เราตั้งเป้าหมายจ่าย ปีละ 12,000)
5. ใช้หนี้ เดือนละ 1,000 – 2,000 บาท
ที่เหลือใช้จ่ายประมาณ 5,000 – 6,000 บาท เป็นค่า อาหาร น้ำมัน อินเตอร์เน็ต ภาษีสังคม ค่าเดินทางไปเรียน ค่าเอกสาร ฯลฯ
(เราเปิดบัญชีกรุงไทย 5 บัญชี โดยไม่ได้ตั้งใจค่ะ เนื่องจากไปเรียน ไปทำงาน บัญชีจึงเพิ่มขึ้น จึงอาศัยประโยชน์จากการมีบัญชีหลายบัญชี แต่ 5 บัญชีนี้ มีเอทีเอ็ม แค่บัญชีเดียวนะคะ (ใช้อินเตอร์เน็ตแบงค์กิ้ง โอนในมือถือสะดวกมากค่ะ))

oi6jwg93g95vhjv8xcq-o

(ต่อ)
เมื่อเงินไม่พอใช้
เดือนใดที่มีค่าจ่ายพิเศษ เช่น ต้องตัดชุดราคาหลักพัน  ต้องใส่ซองเยอะหน่อย หรือต้องซื้อโทรศัพท์ให้แม่ เรายืมเงินจากบัญชี 3 คือเป็นเงินเก็บ (สำรองยามฉุกเฉิน) โดยไม่ต้องไปกระทบเงินที่ใช้จ่ายรายเดือน พร้อมกับบันทึกการยืมไว้ที่หน้าจอมือถือค่ะ  พอใช้หนี้แต่ละครั้งก็ลบจำนวนตัวเลขลงเรื่อยๆ ตามที่จ่ายไป เดือนละ 1,000 – 2,000 บาท

oi6k0jaf1kxwk1yoitn-o

(ต่อ)
การติดตามค่าใช้จ่ายประจำวัน
เราใช้แอพพอเพียงในการบันทึกรายรับรายจ่าย มันช่วยเตือนเราได้ในระดับหนึ่งว่าเราใช้จ่ายอะไรไปบ้าง พอมาไล่ดูก็มีแต่สิ่งที่จำเป็นนะ(อิอิ) บันทึกทุกวัน ทุกรายการ มันช่วยเตือนว่าเงินในกระเป๋าเราเหลือเท่าไหร่ จะได้รู้ว่าควรบริหารเงินในกระเป๋ายังไงให้ถึงสิ้นเดือน

oi6k3pwyvitngtt7hr8-o

ออมสองชั้น
นอกจากการหักออมเดือนละ 3,000 แล้ว เรายังมีกระปุกออมสินสำหรับออมชั้นที่ 2 อีกค่ะ เป็นการออมที่ไม่ได้กดดันหรือตายตัวเหมือนตอนแรกค่ะ เราจะออมพวกเงินที่เป็นเหรียญ แล้วก็บางเดือนใช้เงินไม่หมด (เหลือหลักร้อย) ก็นับลงกระปุกหมดค่ะ แล้วเริ่มต้นใช้ชีวิตกับเงินเดือนใหม่ค่ะ เราก็จะมีกระปุกแยกเหรียญต่างๆ แยกธนบัตร ความจริงไม่ต้องแยกก็ได้ค่ะ แต่เรามีหลายใบเลยแยกเฉยๆ
เราหยอดกระปุกแต่ละครั้งก็จะพิมพ์จำนวนเงินลงในแอพ piggy bank ค่ะ เราจะได้รู้ว่าหยอดได้กี่บาทแล้ว

oi6k5z76rjxql2kzj0p-ooi6k6eyzuwcf0sr82oz-o

 

 

 

 

 

 

 

 

จัดการบัญชี 3 เงินเก็บ (เงินฉุกเฉิน)
บัญชีนี้เราเรียกว่าเป็นเงินเก็บ แต่ก็มักเอาไปใช้ในเวลาฉุกเฉิน แต่วิธีการคือ เราจะกันเงินไว้ในบัญชีไม่เกิน 15,000 บาท สำหรับใช้เมื่อฉุกเฉิน หรือไว้ให้ตัวเองยืมนั่นแหละค่ะ (แล้วส่วนที่เกินจาก 15,000 บาทล่ะ เอาไปไว้ไหน) ส่วนที่เกินจากบัญชีนี้ เราก็เอาไปซื้อกองทุนรวมกับธนาคารทหารไทยค่ะ และอีกส่วนหนึ่งก็นำไปซื้อหุ้นค่ะ (เพิ่งหัดลงทุน)

วิธีการจัดการกับเงินเดือนของเราก็มีประมาณนี้ค่ะ (ส่วนค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับลูก สามีก็รับผิดชอบไปค่ะ ในวงเงินเดือนละ 4,000 บาท ถ้าไม่พอ หรือต้องซื้อของเพิ่ม เราก็ช่วยออกค่ะ)

เรื่องการเก็บเงินเรามองว่าขึ้นอยู่กับบริบทและอุปนิสัยของแต่ละคนนะคะ
บางคนชอบกินชอบเที่ยว ก็อาจจะมีค่าใช้จ่ายเยอะหน่อย
บางคนชอบเครื่องสำอาง บางคนชอบดูหนัง บางคนชอบเดินทาง
แต่เราเฉยๆกับเรื่องพวกนี้ค่ะ การเงินเลยค่อนข้างตายตัว และบริหารได้ง่าย
ทั้งนี้ทั้งนั้น ใจเป็นนาย กายเป็นบ่าวค่ะ
สู้ๆนะคะ สนับสนุนให้ทุกคนรักการออม

หวังว่านี่คงจะเป็นแนวทางที่ดีสำหรับเพื่อนๆครู นะครับ

ที่มา : http://pantip.com/topic/35912532

เรื่องอื่นๆที่น่าสนใจ

Back to top button