ข่าวการศึกษา

น่าเป็นห่วง ป.6 สอบโอเน็ต อัตนัยเขียนภาษาไทยผิดอื้อ

สทศ.เผยจัดสอบโอเน็ต ป.6 ใช้ข้อสอบอัตนัยวิชาภาษาไทยปีแรก พบเด็กเขียนผิดทั้งสะกดผิดและใช้ผิดความหมาย แถมมีการใช้ภาษาถิ่นตอบทั้งที่คำสั่งระบุชัดให้ใช้ภาษาไทยกลาง

วันนี้(22 ก.พ.) รศ.ดร.สัมพันธ์ พันธุ์พฤกษ์ ผู้อำนวยการสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ(สทศ.) เปิดเผยว่า ตามที่ สทศ.จัดสอบแบบทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน หรือ โอเน็ต โดยมีข้อสอบแบบอัตนัยในวิชาภาษาไทย สัดส่วน 20% ในระดับชั้น ป.6 ปีการศึกษา 2559 เป็นปีแรกนั้น จากการตรวจกระดาษคำตอบเบื้องต้น พบว่า นักเรียน เขียนและใช้คำผิดความหมายค่อนข้างมาก ไม่ว่าจะเป็นการสะกดคำ ทั้งการควบกล้ำ การใช้ทัณฑฆาต การใช้วรรณยุกต์ เช่น  แทรก เขียนผิดเป็น แซก  นะคะ เขียนผิดเป็น นะค่ะ  ซื่อสัตย์ เขียนผิดเป็น ซื่อสัตว์  ภาพยนตร์ เขียนผิดเป็น ภาพยนต์ เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีการใช้ภาษาวัยรุ่น คำแสลงในการตอบด้วย เช่น  ชิวๆ  แซ่บเว่อร์ เป็นต้น ดังนั้นตนจึงขอให้กรรมการที่ตรวจข้อสอบรวบรวมคำที่เด็กมักเขียนผิด หรือ ใช้ผิดความหมาย เพื่อส่งให้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(สพฐ.) ไปพิจารณาปรับปรุงหลักสูตรการเรียนการสอน และสร้างสำนึกให้แก่เด็กในการใช้ภาษาไทยที่ถูกต้อง  ซึ่งเชื่อว่าจะได้ประโยชน์อย่างมาก และจะทำให้เด็กใช้ภาษาไทยได้อย่างถูกต้องมากขึ้น

ติดตามข่าวอื่น ๆ ได้ที่เพจ : https://www.facebook.com/rukkroo

“ก่อนที่ สทศ.จะออกข้อสอบได้มีการรับฟังความเห็นของครูและผู้เกี่ยวข้องทั่วประเทศ  ทำให้ในข้อสอบต้องเขียนคำสั่งให้ชัดเจน ว่า ให้นักเรียนเขียนคำตอบตัวบรรจงครึ่งบรรทัด ด้วยภาษาไทยมาตรฐาน(ภาษาไทยกลาง) เพื่อให้เด็กมีความเข้าใจที่ตรงกัน เพราะข้อสอบนี้เป็นข้อสอบที่ใช้กับเด็กทั่วประเทศหลายแสนคน แต่ในการจัดการเรียนการสอน โรงเรียนส่วนใหญ่อนุญาตให้เด็กใช้ภาษาถิ่นได้ จนเด็กเกิดความเคยชิน โดยเชื่อว่าในการทำข้อสอบน่าจะมีเด็กใช้ภาษาถิ่นในการตอบ ซึ่งก็พบว่า มีจริง ๆ  แต่เด็กที่ใช้ภาษาถิ่นในการตอบก็ไม่ได้คะแนนในส่วนนั้น”ผอ.สทศ.กล่าวและว่า สำหรับการตรวจข้อสอบนั้น มีมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช(มสธ.) มหาวิทยาลัยศิลปากร(มศก.) และมหาวิทยาลัยบูรพา(มบ.)เป็นศูนย์ตรวจข้อสอบ โดย สทศ.ได้ร่วมกับผู้เชี่ยวชาญพัฒนาครูผู้สอนวิชาภาษาไทยกว่า 2,800 คน เพื่อมาเป็นกรรมการตรวจข้อสอบโดยคำตอบ 1 ข้อจะใช้กรรมการตรวจ 2 คน รวมถึงมีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาช่วยหาค่ามาตรฐานการตรวจคำตอบ ซึ่งหากกระดาษคำตอบใดมีค่าความต่างเกิน 15% จะไม่ยอมรับ และต้องตรวจกระดาษคำตอบใหม่  ส่วนจะจัดสอบอัตนัยวิชาอื่นอีกหรือไม่นั้น คงไม่ใช่ตอนนี้ เพราะมีข้อจำกัด เรื่องผู้เชี่ยวชาญที่จะมาเป็นกรรมการตรวจแต่ละวิชา ที่สำคัญคือช่วงเวลาในการตรวจคำตอบมีค่อนข้างจำกัด…
อ่านต่อที่ : https://www.dailynews.co.th/education/557302

เรื่องอื่นๆที่น่าสนใจ

Back to top button