ข่าวการศึกษา

รมว.ศธ.มอบนโยบายทิศทางการจัดการศึกษาให้ผู้บริหารสถานศึกษาสังกัด กทม.

นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ มอบนโยบายและทิศทางการจัดการศึกษาแก่ผู้อำนวยการสำนักการศึกษา 50 เขต ผู้บริหารสถานศึกษา กทม. 437 โรงเรียน รวมทั้งหัวหน้าฝ่ายการศึกษา ศึกษานิเทศก์ ข้าราชการ และบุคลากรทางการศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร (กทม.) เมื่อวันเสาร์ที่ 6 พฤษภาคม 2560 ณ ศูนย์เยาวชนกรุงเทพมหานคร (ไทย-ญี่ปุ่น) โดยมีผู้บริหารระดับสูงจากกระทรวงศึกษาธิการ และ กทม. เข้าร่วม อาทิ นางวรรณวิไล พรหมลักขโณ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร, นายภัทรุตม์ ทรรทรานนท์ ปลัดกรุงเทพมหานคร, นายชัยพฤกษ์ เสรีรักษ์ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ, นายอำนาจ วิชยานุวัติ ผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เข้าร่วมรับฟังนโยบาย

นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ กล่าวว่า การศึกษาของชาติไม่ใช่ความรับผิดชอบของกระทรวงศึกษาธิการเพียงหน่วยงานเดียว ทุกฝ่ายต้องเข้ามามีส่วนร่วม โดยส่วนตัวแล้วทราบว่าโรงเรียนเอกชนและโรงเรียนรัฐบาลมีลักษณะเป็นอย่างไร เพราะเคยมีประสบการณ์เข้าเรียนในโรงเรียนทั้งสองแบบเมื่อครั้งยังเป็นเด็ก ดังนั้น สถานศึกษาในทุกสังกัดสามารถทำงานร่วมกัน และช่วยกันพัฒนาการศึกษาไทยไปพร้อม ๆ กันได้

ติดตามข่าวอื่น ๆ ได้ที่เพจ : https://www.facebook.com/rukkroo

ที่ผ่านมาได้รับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับการปฏิรูปและการพัฒนาการศึกษาจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ซึ่งพบว่ามีผู้เสนอความคิดเห็นจำนวนมาก แต่เราต้องคำนึงถึงเรื่องที่เป็นไปได้หรือเรื่องที่สามารถหยิบยกขึ้นมาดำเนินการได้ภายในระยะเวลาที่จำกัดด้วย สิ่งหนึ่งที่กระทรวงศึกษาธิการได้ดำเนินการคือ การวิเคราะห์ข้อมูลผลการสอบ PISA ของเด็กไทยที่เข้าร่วมการสอบมาตั้งแต่ปี 2543

ทั้งนี้ การสอบ PISA เป็นการวัดผลว่า ณ เวลานี้ ในโลกใบนี้ เด็กที่อายุ 15 ปี ของประเทศที่เข้าร่วมวัดผล จะมีความสามารถในรายวิชาวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และการอ่าน มากน้อยเพียงใด และเพียงพอที่จะดำเนินชีวิตประจำวันบนโลกใบนี้ได้หรือไม่ ซึ่ง PISA ถือเป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพอันหนึ่งของโลกที่ใช้วัดคุณภาพการศึกษา และผลจากการวิเคราะห์พบว่าคุณภาพการศึกษาของเด็กไทยยังห่างจากเด็กในประเทศที่พัฒนาแล้วประมาณ 3 ปีการศึกษา อีกทั้งยังพบว่ามีช่องว่าง และความเหลื่อมล้ำอย่างมากระหว่างเด็กเก่งที่ได้คะแนนดีกับเด็กอ่อนที่ได้คะแนนน้อย กล่าวคือ คนที่เก่งที่สุด และคนที่อ่อนที่สุดของไทยมีช่องว่างทางการศึกษาห่างกันถึง 7 ปีการศึกษา และช่องว่างนี้ไม่เคยลดลง ดังนั้น หากเราไปยกคนเก่งให้ขึ้นสูงจนติดเพดาน แต่ไม่ได้พัฒนาเด็กที่อ่อนก็จะทำให้ช่องว่างนี้ยังคงอยู่ต่อไป สำหรับโรงเรียนที่เน้นการสอนวิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์ ก็ไม่มีอะไรน่าเป็นห่วง เพราะมีเด็กเก่งที่ได้คะแนนเฉลี่ย P

สำหรับโรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานครนั้น ผลการวิเคราะห์พบว่ามีคะแนนเฉลี่ยต่ำกว่าโรงเรียนในสังกัดอื่น ซึ่งปรากฏการนี้เป็นสิ่งที่น่าสนใจเพราะสถานศึกษาจัดตั้งอยู่ในเมืองหลวงของประเทศไทยนอกจากนี้ ยังได้ทำการวิเคราะห์ด้านอื่น ๆ เช่น อุปกรณ์การเรียนการสอน การขาดครู เป็นต้น ซึ่งพบว่าสิ่งเหล่านี้ไม่ได้เป็นปัญหากับคุณภาพการศึกษาของไทย แต่ที่ผลการจัดการศึกษาออกมาไม่ดีเพราะยังมีความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาอย่างมาก ซึ่งทำให้เห็นว่าในประเทศไทยความยากจนยังคงเป็นชะตากรรม ในขณะที่ความยากจนไม่ใช่ชะตากรรมสำหรับเด็กประเทศอื่น ดังเช่นเด็กที่มาจากครอบครัวยากจนในเวียดนามก็สามารถได้คะแนนระดับ Top ของโลกได้

จากที่กล่าวมาข้างต้นทำให้ทราบว่านับจากนี้ไปหากเราไม่ทำสิ่งใดเพื่อพัฒนาการศึกษาไทย เราก็จะล้าหลัง และไม่มีทางพัฒนาการศึกษาได้ เพราะที่ผ่านมาการปฏิรูปการศึกษาไปไม่ถึงเด็ก ส่วนมากจะปฏิรูปโครงสร้างมากกว่า ในขณะที่คำถามของโลกในยุคปัจจุบันนี้คือ ทำอย่างไรให้เด็กในโลกยุคใหม่ สามารถใช้ชีวิตอยู่บนโลกนี้ได้ จึงเป็นหน้าที่ของเราที่จะต้องสอนให้เด็กรู้จักตัวเอง ว่าเรียนไปเพื่ออะไร และโตขึ้นอยากเป็นอะไร อันจะนำไปสู่การปรับ Mindset ที่ต้องกระตุ้นให้เด็กอยากเรียนรู้ตลอดเวลา และต้องมาคิดต่อว่าจะทำอย่างไรให้เด็กอยากเรียนหนังสือ ไม่ใช่เรียนไปแบบไม่มีจุดมุ่งหมาย

สำหรับการพัฒนาครู ขณะนี้กระทรวงศึกษาธิการมีแนวทางในการพัฒนาครูเพื่อเชื่อมโยงกับวิทยฐานะ ด้วยการนำ PLC (Professional Learning Community) มาเชื่อมโยงกับการขอมีและเลื่อนวิทยฐานะ ซึ่ง PLC เป็นการแลกเปลี่ยนความรู้ ไม่ใช่การรวมกลุ่มกันเพื่อฟังการบรรยายจากวิทยากร โดยหัวใจสำคัญคือ Learning หรือการเรียนรู้ ซึ่งจะมุ่งเน้นการเรียนรู้ และแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกัน นอกจากนี้ ถือเป็นครั้งแรกที่เปิดโอกาสให้ใครก็ได้มาเสนอหลักสูตรอบรมเพื่อพัฒนาครูโดยหลักสูตรจะต้องผ่านการตรวจสอบของสถาบันคุรุพัฒนา เพื่อให้ครูมีอำนาจในการเลือกอบรมตามความสนใจ โดยมีโควตาเงินที่ใช้ในการอบรมคนละ 10,000 บาท ซึ่งคาดว่าจะเริ่มใช้เกณฑ์การขอมีและเลื่อนวิทยฐานะในลักษณะดังกล่าวในวันที่ 5 กรกฎาคม 2560

ด้านการยกระดับภาษาอังกฤษ กระทรวงศึกษาธิการสนับสนุนนโยบายการจัดการเรียนการสอนแบบสองภาษา แต่ต้องระมัดระวังการจัดการเรียนการสอนในหลักสูตร English Program โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสอนวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์เป็นภาษาอังกฤษ เพราะหากเด็กมีทักษะภาษาอังกฤษที่ไม่แข็งแกร่ง ก็จะทำให้ไม่ประสบผลสำเร็จทั้งในเรื่องของเนื้อหารายวิชา รวมทั้งใช้ภาษาอังกฤษไม่ได้ด้วย จึงขอแนะนำให้เริ่มจัดการเรียนการสอน English Program ในรายวิชาอื่นก่อน เช่น สังคมศึกษา พลศึกษา เป็นต้น ซึ่งภาษาอังกฤษในรายวิชาเหล่านี้จะเป็นภาษาอังกฤษที่เด็กได้ใช้ในชีวิตประจำวันด้วย เนื่องจากเราปฏิเสธไม่ได้ว่าในปัจจุบันภาษาอังกฤษเป็นภาษาของโลก จึงต้องสนับสนุนการใช้ภาษาอังกฤษโดยไม่ต้องกลัวว่าถ้าเรียน English Program แล้ว เด็กจะไม่รักภาษาไทย เพราะภาษาไทยเป็นสิ่งที่เด็กจำเป็นต้องใช้อยู่แล้ว อีกทั้ง เด็กสามารถเรียนพร้อมกันได้หลายภาษา ยิ่งเริ่มต้นตอนอายุน้อย ๆ ยิ่งดี อีกทั้ง ยังมีคนไทยจำนวนมากที่มีความสามารถด้านภาษาอังกฤษ ตลอดจนมีเทคโนโลยีต่าง ๆ ที่ช่วยพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษได้ จึงเชื่อว่าหากร่วมมือกันจะช่วยพัฒนาภาษาอังกฤษในประเทศไทยได้

นอกจากนี้ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้ทรงพระราชทานคำแนะนำเกี่ยวกับการยกระดับภาษาอังกฤษในประเทศไทยไว้ 3 ประการ คือ 1. ภาษาอังกฤษต้องมีความจำเป็นต้องใช้ 2. ไม่มีทางลัด หากติดปัญหาที่ใดให้ถาม หรือไม่รู้ศัพท์คำใด ต้องเปิดพจนานุกรม 3. ครูยังไม่เก่ง ซึ่งอาจจะมีสาเหตุหลายประการดังนั้นทุกคนเป็นนักเรียนได้

ISA สูงเทียบเท่ากับประเทศที่พัฒนาแล้ว แต่จำเป็นต้องยกระดับคุณภาพในโรงเรียนที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกลให้มากขึ้น

ท้ายนี้ นพ.ธีระเกียรติ ได้กล่าวฝากให้ กทม. สรรหาครูดี ๆ และครูเก่ง ๆ มาเป็นแรงบันดาลใจให้เด็ก เพราะการศึกษาคือการเปิดโอกาสให้เด็ก การที่เราให้โอกาสกับคน ๆ หนึ่งเป็นเรื่องสำคัญ หากเด็กอยู่ในบรรยากาศแบบใด ก็จะโตมามีความคิดแบบนั้น ดังนั้น การให้โอกาสที่ดีกับเด็กก็จะทำให้เด็กเป็นคนดีด้วย

ที่มา: โดยกลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงศึกษาธิการ

เรื่องอื่นๆที่น่าสนใจ

Back to top button