เผยแพร่ผลงานทางวิชาการ

การพัฒนาชุดกิจกรรม เรื่อง ชีวิตพืช กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านบางกล้วยนอก

บทคัดย่อ

 ชื่อเรื่อง          การพัฒนาชุดกิจกรรม เรื่อง ชีวิตพืช กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านบางกล้วยนอก

ติดตามข่าวอื่น ๆ ได้ที่เพจ : https://www.facebook.com/rukkroo

ผู้วิจัย            นางสาวศรีสุดา  วัฒนารถ

สถานศึกษา     โรงเรียนบ้านบางกล้วยนอก จังหวัดระนอง

ปีที่ทำการวิจัย   ปีการศึกษา 2560

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาชุดกิจกรรม เรื่อง ชีวิตพืช กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โดยหาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน เปรียบเทียบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ก่อนเรียนและหลังเรียน และเปรียบเทียบเจตคติทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน กลุ่มตัวอย่างศึกษาจากประชากร ซึ่งเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 โรงเรียนบ้านบางกล้วยนอก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระนอง จำนวน 19 คน การวิจัยครั้งนี้ใช้แบบกลุ่มเดียววัดก่อนเรียนและหลังเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ชุดกิจกรรม เรื่อง ชีวิตพืช กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 แบบวัดความสอดคล้องของชุดกิจกรรม แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบทดสอบวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และแบบวัดเจตคติ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าประสิทธิภาพของชุดกิจกรรม (E1/E2) ค่าเฉลี่ย (µ) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (σ) และใช้สถิติทดสอบเปรียบเทียบความแตกต่างของวิลคอกซอน (Wilcoxon Match – Pairs Signed – Rank Test) ผลการวิจัยโดยสรุปมีดังนี้

  1. ชุดกิจกรรม เรื่อง ชีวิตพืช กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 มีจำนวน 6 ชุด ในภาพรวมมีความสอดคล้อง โดยมีค่า IOC เฉลี่ยเท่ากับ 0.96
  2. ประสิทธิภาพของชุดกิจกรรม เรื่อง ชีวิตพืช กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 มีประสิทธิภาพ 85.18/84.74 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด (80/80)
  3. นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .01
  4. นักเรียนมีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่าง มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
  5. นักเรียนมีเจตคติทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .01

 

เรื่องอื่นๆที่น่าสนใจ

Back to top button