ข่าวการศึกษา

ร่างพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ….(รับฟังความเห็นตั้งแต่ 5 มีนาคม 2562 เป็นต้นไป)

ร่างพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ….(รับฟังความเห็นตั้งแต่ 5 มีนาคม 2562 เป็นต้นไป)

จากร่างเดิมที่รับฟังความคิดเห็น 25 กุมภาพันธ์ – 12 มีนาคม 2562   ฉบับเดิม
มีจำนวน 101 มาตรา และมีปัญหาในมาตราที่เป็นประเด็น เช่น

ติดตามข่าวอื่น ๆ ได้ที่เพจ : https://www.facebook.com/rukkroo

1. มาตรา 35 แต่งตั้งใครก็ได้เป็นผู้ช่วยครูใหญ่​ ไม่จำเป็นต้องเป็นครู
2. มาตรา 37 เกี่ยวกับการเปลี่ยนผู้อำนวยการโรงเรียนเป็นครูใหญ่
3. มาตรา 38 เปลี่ยนใบประกอบวิชาชีพครู เป็น ใบรับรองความเป็นครู
4. มาตรา 99 เรื่องวิทยฐานะของครูใหญ่

ซึ่งประเด็นทางโลกออนไลน์และทางสมาคมครูต่างๆ ต่างไม่เห็นด้วยและทำหนังสือคัดค้าน  ตอนนี้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้เผยแพร่อีกฉบับ ซึ่งคาดว่าน่าจะเป็นฉบับแก้ไขใหม่ (แต่ในเอกสารก็ไม่ได้เขียนว่าแก้ไข)  ซึ่งตอนนี้เพิ่มขึ้นมาอีก  2 มาตรา  รวมเป็น 103  มาตรา แล้ว โดยเปิดให้ แสดงความคิดเห็นผ่านทางเว็บไซต์ของสํานักงาน
คณะกรรมการกฤษฎีกา www.krisdika.go.th ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๕ มีนาคม ๒๕๖๑ เป็นต้นไป

ดาวน์โหลด  ฉบับใหม่

ซึ่งในหน้าเหตุผลของการตรา พรบ. นี้ ว่าไว้ดังนี้

เหตุผลและความจําเป็นในการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลตามพระราชบัญญัติ นี้ เพื่อให้การจัดการศึกษาบรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายตามพระราชบัญญัตินี้ จําเป็นต้อง กําหนดให้ครูมีใบรับรองความเป็นครูเพื่อเป็นการรับรองว่าครูมีคุณลักษณะทั่วไปและคุณลักษณะ เฉพาะ รวมทั้งมีความรู้ด้านวิชาการ ที่จะจัดกระบวนการเรียนรู้ให้บรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมาย ของการจัดการศึกษาตามที่กําหนดไว้ได้ ซึ่งการตราพระราชบัญญัตินี้สอดคล้องกับเงื่อนไขที่บัญญัติ ไว้ในมาตรา ๒๖ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยแล้ว

รวมถึงมีการเพิ่มข้อความต่างๆลงในแต่ละมาตรา เพื่อความชัดเจนมากขึ้น (ลองเปิดสองไฟล์ ที่ลิ้งก์ใว้ให้เทียบกันไปแต่ละหน้าดูครับ)  รวมทั้งอาจตัดทอนข้อความลงไป เช่น ในมาตรา 7  ที่พูดถึงสมรรถนะ 4 อย่าง แต่ฉบับใหม่ให้เป็นแบบบูรณาการ

ที่นี้ลองมาดูเรื่องวิทยฐานะ พูดไว้ในมาตราใดบ้าง  ยกตัวอย่างเช่น

มาตรา 14 การจัดการศึกษาของสถานศึกษาของรัฐต้องอยู่บนพื้นฐาน  (10)  การเลื่อนวิทยฐานะหรือเลื่อนตําแหน่งของครู ให้พิจารณาจากผลการปฏิบัติงานที่สะท้อนพัฒนาการและผลสัมฤทธิ์ตามวัตถุประสงค์ตามมาตรา 6 และเป้าหมายตาม มาตรา 8 และความสามารถในความเป็นครู   (ซึ่งฉบับเดิมไม่มี มีแค่ (7) )

มาตรา 39 ให้ครูใหญ่ ผู้ช่วยครูใหญ่ และครูในสถานศึกษาของรัฐได้รับเงินเดือนเงินวิทยฐานะ เงินประจําตําแหน่ง และค่าตอบแทนอื่นตามที่กําหนดในกฎหมายว่าด้วยการนั้นครูใหญ่ ผู้ช่วยครูใหญ่ และครูอาจมีระดับตําแหน่งเพื่อให้เกิดความเจริญก้าวหน้าในการปฏิบัติหน้าที่ได้ตามที่กําหนดในกฎหมายว่าด้วยการนั้น ครูใหญ่และผู้ช่วยครูใหญ่อาจมีชื่อตําแหน่งเรียกเป็นอย่างอื่นตามที่กําหนดในกฎหมายว่าด้วยการนั้นได้

มาตรา 101 ให้ผู้อํานวยการสถานศึกษาและรองผู้อํานวยการสถานศึกษาซึ่งดํารงตําแหน่งอยู่ในวันก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ เป็นครูใหญ่และผู้ช่วยครูใหญ่ตามพระราชบัญญัตินี้ แล้วแต่กรณี และมีสิทธิได้รับเงินเดือน เงินประจําตําแหน่ง เงินวิทยฐานะ และประโยชน์ตอบแทนอื่นตามอัตราเดียวกับที่ผู้อํานวยการสถานศึกษาและรองผู้อํานวยการสถานศึกษา ได้รับอยู่ในวันก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ

มาตรา 102 ให้ผู้ซึ่งดํารงตําแหน่งศึกษานิเทศก์อยู่ในวันก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ เป็นศึกษานิเทศก์ตามพระราชบัญญัตินี้ และมีสิทธิได้รับเงินเดือน เงินประจําตําแหน่งเงินวิทยฐานะ และประโยชน์ตอบแทนอื่นเช่นเดียวกับที่ได้รับอยู่ในวันก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ

ต่อไปมาดูเรื่อง ใบประกอบวิชาชีพ หรือ ใบรับรองความเป็นครู

เรื่องนี้แต่เดิมจะให้เป็น ใบรับรองความเป็นครู  ส่วนฉบับใหม่พูดถึง ใบประกอบวิชาชีพ ตั้งแต่เหตุผลของร่างเลย
…พัฒนาผู้ประกอบวิชาชีพครูให้ได้ผู้มีจิตวิญญาณของความเป็นครู มีความรู้ความสามารถอย่างแท้จริง…

และถูกพูดถึงอีกในมาตรา 100 คือ

มาตรา 100 ให้ครูซึ่งได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูตามกฎหมายว่าด้วยสภาครูและบุคลากรทางการศึกษาอยู่ในวันก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ยังคงมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูและปฏิบัติหน้าที่ครูได้ต่อไปตามพระราชบัญญัตินี้ และให้สามารถต่ออายุใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูตามกฎหมายว่าด้วยสภาครูและบุคลากรทางการศึกษาได้ต่อไป
โดยถือเสมือนหนึ่งเป็นครูผู้ได้รับใบรับรองความเป็นครู ตามพระราชบัญญัตินี้

ครูซึ่งปฏิบัติหน้าที่อยู่และยังไม่ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูตามกฎหมายว่าด้วยสภาครูและบุคลากรทางการศึกษาอยู่ในวันก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ มีสิทธิขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูตามกฎหมายดังกล่าวหรือจะขอใบรับรองความเป็นครูตามพระราชบัญญัตินี้ก็ได้

ครูซึ่งได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสอง หากประสงค์จะเปลี่ยนใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูเป็นใบรับรองความเป็นครูตามพระราชบัญญัตินี้ ให้แจ้งให้คุรุสภาทราบภายในห้าปีนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ และให้คุรุสภาดําเนินการออกใบรับรองความเป็นครูให้ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้ง

แต่ในมาตรา 37 ยังพูดถึง ใบรับรองความเป็นครู โดยไม่่ได้พูดถึง ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู   แต่ในมาตรา 100 ได้กล่าวถึงว่า ผู้ถือใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ เสมือนหนึ่งผู้ถือใบรับรองความเป็นครู 

มาตรา 37  ครูซึ่งจัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อให้บรรลุเป้าหมายตามมาตรา ๘ (๒)(๓) (๔) (๕) และ (๖) (ข) ต้องมีใบรับรองความเป็นครู เว้นแต่เป็นผู้มีความรู้ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านและจัดกระบวนการเรียนรู้วิชาหนึ่งวิชาใดเป็นการเฉพาะตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กระทรวงศึกษาธิการกําหนด

ส่วนเรื่องครูใหญ่จะถูกพูกถึงชัดเจนใน มาตรา 4 / 14 / 38 / 39 /40 /41 /42 /101  ดาวน์โหลด  ฉบับใหม่

หากท่านต้องการแสดงความคิดเห็นให้ไปแสดงความคิดเห็นที่เว็บไซต์  สำนักงานคณะกรรมการกฤษฏีกา   คลิกที่นี่

ส่วนวิธีการดูได้ที่นี่
วิธีร่วมแสดงความคิดเห็น เกี่ยวกับร่างพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 
https://rukkroo.com/17425

เรื่องอื่นๆที่น่าสนใจ

Back to top button