เผยแพร่ผลงานทางวิชาการ

การพัฒนาชุดฝึกทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์สำหรับการเรียนรู้แบบร่วมมือและเทคนิคการสอนตามแนวคิดของโพลยา(Polya)  เรื่อง ฟังก์ชันเอกซ์โพเนนเชียลและฟังก์ชันลอการิทึม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5

ชื่อเรื่อง       การพัฒนาชุดฝึกทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์สำหรับการเรียนรู้แบบร่วมมือและเทคนิคการสอนตามแนวคิดของโพลยา(Polya)  เรื่อง ฟังก์ชันเอกซ์โพเนนเชียลและฟังก์ชันลอการิทึม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5

ชื่อผู้วิจัย     นางกาญจนา  ภุมรา

ติดตามข่าวอื่น ๆ ได้ที่เพจ : https://www.facebook.com/rukkroo

ปีที่ศึกษา     2561 

หน่วยงาน    โรงเรียนช่อแมววิทยาคม อำเภอลำทะเมนชัย จังหวัดนครราชสีมา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ
1)เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานและความต้องการ ในการพัฒนาชุดฝึกทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ สำหรับการเรียนรู้แบบร่วมมือและเทคนิคการสอนตามแนวคิดของโพลยา (Polya) เรื่อง ฟังก์ชันเอกซ์โพเนนเชียลและฟังก์ชันลอการิทึม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
2) เพื่อพัฒนาชุดฝึกทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ สำหรับการเรียนรู้แบบร่วมมือและ เทคนิคการสอนตามแนวคิดของโพลยา (Polya) เรื่อง ฟังก์ชันเอกซ์โพเนนเชียลและฟังก์ชันลอการิทึม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80
3) เพื่อทดลองใช้ ชุดฝึกทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ สำหรับการเรียนรู้แบบร่วมมือและเทคนิคการสอนตามแนวคิดของโพลยา (Polya) เรื่อง ฟังก์ชันเอกซ์โพเนนเชียลและฟังก์ชันลอการิทึม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5

4) เพื่อประเมินผลและปรับปรุงชุดฝึกทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ สำหรับการเรียนรู้แบบร่วมมือและเทคนิคการสอนตามแนวคิดของโพลยา (Polya) เรื่อง ฟังก์ชันเอกซ์โพเนนเชียลและฟังก์ชันลอการิทึม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีวัตถุประสงค์เฉพาะดังนี้ 4.1 เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้ชุดฝึกทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ สำหรับการเรียนรู้แบบร่วมมือและเทคนิคการสอนตามแนวคิดของโพลยา (Polya) เรื่อง ฟังก์ชันเอกซ์โพเนนเชียลและฟังก์ชันลอการิทึม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5  4.2 เพื่อศึกษาความคิดเห็นที่มีต่อการใช้ชุดฝึกทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ สำหรับการเรียนรู้แบบร่วมมือและเทคนิคการสอนตามแนวคิดของโพลยา (Polya) เรื่อง ฟังก์ชันเอกซ์โพเนนเชียลและฟังก์ชันลอการิทึม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/1 โรงเรียนช่องแมววิทยาคม อำเภอลำทะเมนชัย จังหวัดนครราชสีมา ที่เรียนรายวิชาคณิตศาสตร์เพิ่มเติม รหัส ค32201 กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 29 คน โดยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling)  การวิจัยในครั้งนี้ใช้กรอบการวิจัยและพัฒนา

เครื่องมือที่ ใช้ในการวิจัย ได้แก่
1) ชุดฝึกทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์สำหรับการเรียนรู้แบบร่วมมือและเทคนิคการสอนตามแนวคิดของโพลยา(Polya) เรื่อง ฟังก์ชันเอกซ์โพเนนเชียลและฟังก์ชันลอการิทึม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
2) แผนการจัดการเรียนรู้
3) แบบสอบถามข้อมูลพื้นฐานและความต้องการของนักเรียนต่อการพัฒนาชุดฝึกทักษะ เกี่ยวกับองค์ประกอบของชุดฝึกทักษะ 2)เนื้อหา และ3) การวัดผลและประเมินผล
4) แบบสัมภาษณ์ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการพัฒนาชุดฝึกทักษะ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และ
5) แบบสอบความคิดเห็นที่มีต่อชุดฝึกทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ สำหรับการเรียนรู้แบบร่วมมือและเทคนิคการสอนตามแนวคิดของโพลยา (Polya) เรื่อง ฟังก์ชันเอกซ์โพเนนเชียลและฟังก์ชันลอการิทึม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5  การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าสถิติ ร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย (
) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)  ค่าดัชนี ประสิทธิผล และการสิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)

ผลการวิจัยพบว่า
1) นักเรียนและครูกลุ่มสาระการเรียรู้คณิตศาสตร์เห็นความสำคัญต่อการใช้ชุดฝึกทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์สำหรับการเรียนรู้แบบร่วมมือและเทคนิคการสอนตามแนวคิดของโพลยา(Polya) เพื่อพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ ประกอบด้วย ชื่อชุดฝึกทักษะ คำนำ สารบัญ คำชี้แจง วัตถุประสงค์ (มาตรฐานและผลการเรียนรู้) แบบทดสอบก่อนเรียน ใบความรู้ แบบฝึกทักษะ แบบทดสอบหลังเรียน ชุดฝึกทักษะจำนวน 9 เล่ม ได้แก่ เลขยกกำลังที่มีเลขชี้กำลังเป็นจำนวนเต็ม รากที่ n  ในระบบจำนวนจริงและจำนวนจริงในรูปกรณฑ์ เลขยกกำลังที่มีเลขชี้กำลังเป็นจำนวนตรรกยะ ฟังก์ชันเอกซ์โพเนนเชียล ฟังก์ชันลอการิทึม การหาค่าลอการิทึม การเปลี่ยนฐานของลอการิทึม
สมการเอกซ์โพเนนเชียลและสมการลอการิทึม และการประยุกต์ของฟังก์ชันเอกซ์โพเนนเชียลและฟังก์ชันลอการิทึม
2) ประสิทธิภาพชุดฝึกทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์สำหรับการเรียนรู้แบบร่วมมือและเทคนิคการสอนตามแนวคิดของโพลยา(Polya)  เรื่อง ฟังก์ชันเอกซ์โพเนนเชียลและฟังก์ชันลอการิทึม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีประสิทธิภาพโดยรวมเท่ากับ 82.24/80.43 ซึ่งได้ตามเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดไว้ คือ 80/80 เมื่อพิจารณาเป็นรายเล่ม พบว่า ชุดฝึกมีประสิทธิภาพ ตามเกณฑ์มาตรฐานกำหนดไว้ทุกเล่ม
3) ทดลองใช้ชุดฝึกทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์สำหรับการเรียนรู้แบบร่วมมือและเทคนิคการสอนตามแนวคิดของโพลยา(Polya)มีประสิทธิภาพโดยรวมเท่ากับ 82.24/80.43 ซึ่งได้ตามเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดไว้ คือ 80/80
4) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน พบว่าค่าเฉลี่ยความก้าวหน้า 21.78 เท่ากับ และมีดัชนีความก้าวหน้าคิดเป็นร้อยละความก้าวหน้าเท่ากับ 73.79 ผลสรุปนักเรียนมีความก้าวหน้าอยู่ในระดับมาก
5) ความพึงพอใจของนักเรียน ที่เรียนด้วยชุดฝึกทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์สำหรับการเรียนรู้แบบร่วมมือและเทคนิคการสอนตามแนวคิดของโพลยา(Polya)  เรื่อง ฟังก์ชันเอกซ์โพเนนเชียลและฟังก์ชันลอการิทึม พบว่า พบว่า ภาพรวมนักเรียนมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด เป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ โดยมีค่าเฉลี่นรวม
, S.D. = 0.51   โดยมีรายด้านพบว่านักเรียนมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุดคือ ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยมีค่าเฉลี่ย , S.D. = 0.34 ต่ำสุดคือ ด้านประโยชน์ที่ได้รับโดยมีค่าเฉลี่ย ,S.D. = 0.35 เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า หัวข้อที่นักเรียนมีความเห็นด้วยสูงที่สุดได้แก่ ชุดฝึกทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์สำหรับการเรียนรู้แบบร่วมมือและเทคนิคการสอนตามแนวคิดของโพลยา(Polya) เรื่อง ฟังก์ชันเอกซ์โพเนนเชียลและฟังก์ชันลอการิทึม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ทำให้นักเรียนเข้าใจง่ายและทำให้ตั้งใจเรียนมากขึ้น , S.D. = 0.47  ต่ำสุดได้แก่ นักเรียนเข้าใจเทคนิคการเรียนรู้ในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์มากขึ้นจากการฝึกทักษะในชุดฝึกทักษะโดยมีค่าเฉลี่ย , S.D. = 0.49 

เรื่องอื่นๆที่น่าสนใจ

Back to top button