เผยแพร่ผลงานทางวิชาการ

รายงานผลการจัดประสบการณ์โดยใช้กิจกรรมวิทยาศาสตร์แบบสืบเสาะหาความรู้ 5E  เพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์  สำหรับเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 3

ชื่อเรื่อง     รายงานผลการจัดประสบการณ์โดยใช้กิจกรรมวิทยาศาสตร์แบบสืบเสาะหาความรู้ 5E  เพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์  สำหรับเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 3
ชื่อผู้รายงาน      นางสุภัค  กันจะนะ
ตำแหน่ง            ครู  วิทยฐานะ  ครูชำนาญการ
สังกัด                โรงเรียนเทศบาลวัดมณีไพรสณฑ์  สังกัดเทศบาลนครแม่สอด  จังหวัดตาก
ปีการศึกษา        2561

บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์  1)  เพื่อหาประสิทธิภาพของการจัดประสบการณ์โดยใช้กิจกรรมวิทยาศาสตร์แบบสืบเสาะหาความรู้ 5E  เพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์  สำหรับเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 3  ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80  และ  2)  เพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์  ก่อนและหลังการจัดประสบการณ์โดยใช้กิจกรรมวิทยาศาสตร์แบบสืบเสาะหาความรู้ 5E  เพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์  สำหรับเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 3
การศึกษาครั้งนี้  เป็นการศึกษากึ่งทดลอง (Quasi Experimental Design)  ผู้รายงานใช้รูปแบบการทดลองแบบ One – Group Pretest – Posttest Design ที่มีกลุ่มทดลองกลุ่มเดียวมีการทดสอบก่อนและหลังการทดลอง  ซึ่งกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นเด็กชาย-หญิง ที่มีอายุระหว่าง 5-6 ปี  กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นอนุบาลปีที่ 3/4  ภาคเรียนที่  2  ปีการศึกษา 2561  จำนวน  1  ห้องเรียน  จำนวน  31  คน  ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม  (Cluster  Random  Sampling)  โดยใช้ห้องเรียน         เป็นหน่วยสุ่มจากห้องเรียนที่จัดกลุ่มคละความสามารถ  โดยการจับสลากมา  1  ห้อง  จาก  4  ห้องเรียน  เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาได้แก่ 1)  คู่มือการจัดประสบการณ์โดยใช้กิจกรรมวิทยาศาสตร์แบบสืบเสาะ    หาความรู้ 5E  เพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์  สำหรับเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 3  2)  แผนการจัดประสบการณ์โดยใช้กิจกรรมวิทยาศาสตร์แบบสืบเสาะหาความรู้ 5E  เพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์  สำหรับเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 3  และ  3)  แบบประเมินทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์  สำหรับเด็กชั้นอนุบาล    ปีที่ 3  จำนวน  3  ชุด  ชุดละ  5  ข้อ  รวมทั้งหมด  15  ข้อ ประกอบด้วย  ชุดที่ 1 การสังเกต  ชุดที่ 2  การจำแนกประเภท  และชุดที่ 3  การลงความเห็น  การวิเคราะห์ข้อมูล  สถิติที่ใช้ได้แก่  ความถี่  ร้อยละ  ค่าเฉลี่ย  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  และใช้  t-test dependent  ที่ระดับความเชื่อมั่นที่ร้อยละ 95

ติดตามข่าวอื่น ๆ ได้ที่เพจ : https://www.facebook.com/rukkroo

ผลการศึกษาพบว่า

  1. การจัดประสบการณ์โดยใช้กิจกรรมวิทยาศาสตร์แบบสืบเสาะหาความรู้ 5E  เพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์  สำหรับเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 3  มีประสิทธิภาพเท่ากับ 91.79/ 84.30
  2.   เด็กชั้นอนุบาลปีที่ 3  ที่ได้รับการจัดประสบการณ์โดยใช้กิจกรรมวิทยาศาสตร์แบบสืบเสาะ    หาความรู้ 5E  มีทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์หลังการจัดประสบการณ์สูงกว่าก่อนการจัดประสบการณ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

เรื่องอื่นๆที่น่าสนใจ

Back to top button