ชื่องาน รายงานการประเมินโครงการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา ในระบบประกันคุณภาพภายใน โรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลควนกุน
ผู้รายงาน โสภิตพงษ์ ช่วยสกุล
ตำแหน่ง ผู้อำนวยการสถานศึกษา โรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลควนกุน จังหวัดตรัง
ปีที่ศึกษา 2562
บทคัดย่อ
ติดตามข่าวอื่น ๆ ได้ที่เพจ : https://www.facebook.com/rukkroo
การประเมินครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความเหมาะสมและสอดคล้องของสภาวะแวดล้อม ประเมินความพร้อมของปัจจัยเบื้องต้น ประเมินการมีส่วนร่วมในการดำเนินการด้านกระบวนการและเพื่อประเมินความพึงพอใจในการมีส่วนร่วมในกิจกรรมของโครงการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาตามมาตรฐานการศึกษาของโรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลควนกุน โดยใช้การประเมินรูปแบบ ซิปป์ (CIPP Evaluation Model) การประเมิน 4 ด้าน ดังนี้ ด้านสภาวะแวดล้อม (Context) ด้านปัจจัยนำเข้า (Input) ด้านกระบวนการ (Process) ด้านผลผลิต (Product) ในโครงการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาตามมาตรฐานในระบบประกันคุณภาพภายในโรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลควนกุน ซึ่งมีกิจกรรมในโครงการ ดังนี้ กิจกรรมพัฒนาผู้เรียนให้รักการอ่าน กิจกรรมพัฒนาครูผู้สอนให้สามารถจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญและสอดแทรกกิจกรรมการเรียนการสอนมุ่งสู่อาเซียน กิจกรรมพัฒนาสิ่งแวดล้อมภายในโรงเรียนให้เป็นแหล่งเรียนรู้ ด้านเศรษฐกิจพอเพียงและการมุ่งสู่ประชาคมอาเซียน กิจกรรมพัฒนาระบบการนิเทศภายในสถานศึกษาและกิจกรรมพัฒนาระบบการประเมินคุณภาพภายในสถานศึกษา ประชากรที่ใช้ในการประเมินโครงการครั้งนี้ ประกอบด้วย คณะผู้บริหารเทศบาลตำบลควนกุน เจ้าหน้าที่กองการศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษา คณะครู รวมจำนวน 26 คน 2) คณะกรรมการสถานศึกษาโรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลควนกุน จำนวน 13 คน และกลุ่มตัวอย่างนักเรียนโรงเรียนอนุบาลเทศบาล ตำบล ควนกุน ในระดับอนุบาล3 และระดับชั้นประถมศึกษา รวมทั้งสิ้น จำนวน 252 คน ส่วนการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างได้ดำเนินการดังนี้ กลุ่มตัวอย่างที่เลือกเจาะจง (purposive Samping)ได้แก่ 1) คณะผู้บริหารเทศบาลตำบลควนกุน เจ้าหน้าที่กองการศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษา คณะครู รวมจำนวน 26 คน 2) คณะกรรมการสถานศึกษาของโรงเรียน จำนวน 13 คน เป็นกลุ่มตัวอย่างที่เลือกเจาะจง (purposive Samping) 3) กลุ่มตัวอย่าง (Sample) นักเรียนระดับอนุบาล 3 ถึงระดับประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลควนกุน จำนวน 163 คน โดยการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling )และการสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling)โดยใช้สูตรของทาโร ยามาเน่ (Yamane,1973 อ้างใน ธีรวุฒิ เอกะกุล,2552)
ผลการศึกษาสรุปได้ดังนี้
ผลการศึกษา ระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับการดำเนินการโครงการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาตามมาตรฐานในระบบประกันคุณภาพภายใน ของโรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลควนกุน ของคณะผู้บริหารเทศบาลตำบลควนกุน เจ้าหน้าที่กองการศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษา คณะครูและคณะกรรมการสถานศึกษา (ในภาพรวม) พบว่าระดับความคิดเห็น อยู่ในระดับ มาก ระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับการดำเนินการโครงการฯ ของนักเรียน (ในภาพรวม) พบว่าระดับความคิดเห็น อยู่ในระดับ มาก เช่นกัน โดยแยกตามรูปแบบ ซิปป์ (CIPP Evaluation Model) 4 ด้าน ดังนี้
- การประเมินโครงการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาตามมาตรฐาน ของโรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลควนกุน ด้านสภาวะแวดล้อม (C:Context Evaluation)โดยแยกสรุปตามความคิดเห็นดังนี้ ความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา คณะครูและคณะกรรมการสถานศึกษา พบว่าความเหมาะสมและสอดคล้อง ในภาพรวมอยู่ในระดับ มาก ความคิดเห็นของนักเรียน พบว่าความเหมาะสมและในภาพรวมอยู่ในระดับ มาก
- การประเมินโครงการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาตามมาตรฐานในระบบประกันคุณภาพภายในของโรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลควนกุน ด้านปัจจัยนำเข้า (I:Input Evaluation) โดยแยกสรุปตามความคิดเห็นดังนี้ ความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา คณะครูและคณะกรรมการสถานศึกษา พบว่าความพร้อมในการดำเนินโครงการฯด้านปัจจัยนำเข้า อยู่ในระดับ มากและ ความคิดเห็นของนักเรียน พบว่าความพร้อมในการดำเนินโครงการฯอยู่ในระดับ มาก
- 3. การประเมินโครงการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาตามมาตรฐานในระบบประกันคุณภาพภายในของโรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลควนกุน ด้านกระบวนการ (P:ProcessEvaluation)
โดยแยกสรุปตามความคิดเห็นดังนี้ ความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา คณะครูและคณะกรรมการสถานศึกษา พบว่าการมีส่วนร่วมในการดำเนินโครงการฯด้านกระบวนการ)อยู่ในระดับ มาก และความคิดเห็นของนักเรียน พบว่าการมีส่วนร่วมในการดำเนินโครงการฯด้านกระบวนการอยู่ในระดับ มาก - การประเมินโครงการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาตามมาตรฐานในระบบประกันคุณภาพภายในของโรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลควนกุน ด้านผลผลิต (P:Product Evaluation)โดยแยกสรุปตามความคิดเห็นดังนี้ ความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา คณะครูและคณะกรรมการสถานศึกษา พบว่าความพึงพอใจในการร่วมกิจกรรมโครงการฯด้านผลผลิต อยู่ในระดับ มากและความคิดเห็นของนักเรียน พบว่าความพึงพอใจในการร่วมกิจกรรมโครงการฯในระดับ มากที่สุด