การพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้ของครูสู่คุณภาพผู้เรียนโดยใช้ 5G MODEL โรงเรียนจะโหนงพิทยาคม อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา ปีการศึกษา 2561-2562
ชื่อเรื่อง การพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้ของครูสู่คุณภาพผู้เรียนโดยใช้ 5G MODEL โรงเรียนจะโหนงพิทยาคม อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา ปีการศึกษา 2561-2562
ผู้รายงาน นางศิรประภา ขวัญทอง
ปี พ.ศ. 2561-2562
บทคัดย่อ
การพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้ของครูสู่คุณภาพผู้เรียนโดยใช้ 5G MODEL โรงเรียน
จะโหนงพิทยาคม อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา ปีการศึกษา 2561-2562 ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้ของครูสู่คุณภาพผู้เรียนโดยใช้ 5G MODEL โรงเรียนจะโหนงพิทยาคม ปีการศึกษา 2561-2562 2) ศึกษาพฤติกรรมการจัดการเรียนรู้ของครู หลังการพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้ของครูสู่คุณภาพผู้เรียนโดยใช้ 5G MODEL โรงเรียนจะโหนงพิทยาคม ปีการศึกษา 2561-2562 3) ศึกษาคุณภาพผู้เรียนโรงเรียนจะโหนงพิทยาคม หลังการพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้ของครูสู่คุณภาพผู้เรียนโดยใช้ 5G MODEL โรงเรียนจะโหนงพิทยาคม ปีการศึกษา 2561-2562 ดังนี้ 3.1) เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ระดับสถานศึกษาของนักเรียนโรงเรียนจะโหนงพิทยาคม หลังการพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้ของครูสู่คุณภาพผู้เรียนโดยใช้ 5G MODEL โรงเรียนจะโหนงพิทยาคม ปีการศึกษา 2561-2562 3.2) เพื่อศึกษาผลการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-net) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 หลังการพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้ของครูสู่คุณภาพผู้เรียนโดยใช้ 5G MODEL โรงเรียนจะโหนงพิทยาคม ปีการศึกษา 2561-2562 3.3) เพื่อศึกษาสมรรถนะสำคัญของผู้เรียนตามหลักสูตรสถานศึกษา หลังการพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้ของครูสู่คุณภาพผู้เรียนโดยใช้ 5G MODEL โรงเรียนจะโหนงพิทยาคม ปีการศึกษา 2561-2562 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของครู นักเรียน ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่มีต่อการพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้ของครูสู่คุณภาพผู้เรียนโดยใช้ 5G MODE โรงเรียนจะโหนงพิทยาคม ปีการศึกษา 2561-2562 กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ดังนี้ นักเรียนกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive sampling) โดยปีการศึกษา 2561 ใช้นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1,2 และ 4,5 ทุกคน ปีการศึกษา 2562 ใช้นักเรียนกลุ่มเดิมที่เลื่อนชั้นไปเรียนมัธยมศึกษา 2,3 และมัธยมศึกษาปีที่ 5,6 ได้กลุ่มตัวอย่างปีการศึกษา 2561 และปีการศึกษา 2562 จำนวน 140 คน (เนื่องจากนักเรียนกลุ่มดังกล่าวได้ศึกษาที่โรงเรียนจะโหนงพิทยาคม ตลอด 2 ปีการศึกษาที่โรงเรียนดำเนินการวิจัยและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง สามารถมองเห็นพัฒนาการด้านต่างๆ ชัดเจนกว่านักเรียนกลุ่มอื่นๆ) ครู ศึกษาจากประชากรครู ปีการศึกษา 2561 จำนวน 19 คน ปีการศึกษา 2562 จำนวน 17 คน ผู้ปกครอง กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive sampling) โดยใช้ผู้ปกครองของนักเรียนที่ได้รับการคัดเลือกเป็นกลุ่มตัวอย่าง ปีการศึกษา 2561 และปีการศึกษา 2562 จำนวน 140 คน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive sampling) โดยยกเว้นผู้อำนวยการโรงเรียนและ ผู้แทนครู ได้กลุ่มตัวอย่าง ปีการศึกษา 2561 และปีการศึกษา 2562 จำนวน 7 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 2 ลักษณะ ได้แก่ 1) ข้อมูลในเชิงปริมาณเป็นแบบสอบถามที่มีลักษณะเป็นมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ (Ratting Scale) จำนวน 3 ฉบับ ประกอบด้วย ฉบับที่ 1 แบบสอบถามระดับคุณภาพการพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้ของครูสู่คุณภาพผู้เรียนโดยใช้ 5G MODEL โรงเรียนจะโหนงพิทยาคม ปีการศึกษา 2561-2562 ฉบับที่ 2 แบบสอบถามพฤติกรรมการจัดการเรียนรู้ของครูสู่คุณภาพผู้เรียน หลังการพัฒนา ปีการศึกษา 2561-2562 ฉบับที่ 6 แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียน ครู ผู้ปกครองและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่มีต่อการพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้ของครูสู่คุณภาพผู้เรียนโดยใช้ 5G MODEL โรงเรียนจะโหนงพิทยาคม ปีการศึกษา 2561-2562 ทุกฉบับมีการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือ ได้ค่าความเชื่อมั่นระหว่าง .983-.986 2) ข้อมูลในเชิงคุณภาพเป็นแบบบันทึกผลการประเมินตามสภาพจริงเกี่ยวกับคุณภาพผู้เรียน จำนวน 3 ฉบับ ประกอบด้วย ฉบับที่ 3 แบบบันทึกผลสัมฤทธิ์ระดับสถานศึกษา หลังการพัฒนา ปีการศึกษา 2561-2562 ฉบับที่ 4 แบบบันทึกผลการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-net) หลังการพัฒนา ปีการศึกษา 2561-2562 และฉบับที่ 5 แบบบันทึกผลการประเมินสมรรถนะสำคัญตามหลักสูตรสถานศึกษา หลังการพัฒนา ปีการศึกษา 2561-2562 ผู้วิจัยได้เก็บข้อมูลด้วยตนเอง โดยเก็บข้อมูล 2 ครั้ง ครั้งที่ 1 หลังการพัฒนาเมื่อสิ้นปีการศึกษา 2561 ช่วงเดือนมีนาคม 2562 ครั้งที่ 2 หลังการพัฒนาเมื่อสิ้นปีการศึกษา 2562 ช่วงเดือนมีนาคม 2563 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรม SPSS Version 18. สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)
ติดตามข่าวอื่น ๆ ได้ที่เพจ : https://www.facebook.com/rukkroo
สรุปผลการวิจัย
- ผลการวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับคุณภาพการพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้ของครูสู่คุณภาพผู้เรียนโดยใช้ 5G MODEL โรงเรียนจะโหนงพิทยาคม อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา ปีการศึกษา 2561 – 2562 ตามความคิดเห็นของนักเรียน ผู้ปกครอง และครู พบว่า
ปีการศึกษา 2561 โดยภาพรวมทุกกลุ่มผู้ตอบแบบสอบถาม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (=3.69, S.D.=0.73) เมื่อพิจารณาจำแนกตามกลุ่มผู้ตอบแบบสอบถาม พบว่า กลุ่มนักเรียนมีค่าเฉลี่ยสูงสุดอยู่ในระดับมาก (=3.72, S.D.=0.79) รองลงมา ได้แก่ กลุ่มผู้ปกครอง มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (=3.71, S.D.=0.79) ส่วนกลุ่มครู มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดอยู่ในระดับมาก (μ =3.47, σ = 0.62)
ปีการศึกษา 2562 โดยภาพรวมทุกกลุ่มผู้ตอบแบบสอบถาม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (=4.01, S.D.=0.59) เมื่อพิจารณาจำแนกตามกลุ่มผู้ตอบแบบสอบถาม พบว่า กลุ่มครู มีค่าเฉลี่ยสูงสุด อยู่ในระดับมาก (μ=4.03, σ=0.47) รองลงมา ได้แก่ กลุ่มนักเรียนมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (=4.01, S.D.= 0.65) ส่วนกลุ่มผู้ปกครอง มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดอยู่ในระดับมาก (=4.00, S.D.=0.66) สอดคล้องตามสมมติฐาน
- สรุปผลการวิเคราะห์พฤติกรรมการจัดการเรียนรู้ของครู ตามความคิดเห็นของนักเรียนและผู้ปกครอง พบว่า ปีการศึกษา 2561 โดยภาพรวมทุกกลุ่มผู้ตอบแบบสอบถาม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (=3.58, S.D.=0.71) เมื่อพิจารณาจำแนกตามกลุ่มผู้ตอบแบบสอบถาม พบว่า กลุ่มนักเรียน มีค่าเฉลี่ยสูงสุดอยู่ในระดับมาก (=3.60, S.D.=0.72) รองลงมา ได้แก่ กลุ่มผู้ปกครอง มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (=3.59, S.D.= 0.71) ปีการศึกษา 2562 โดยภาพรวมทุกกลุ่มผู้ตอบแบบสอบถาม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (=4.27,S.D.=0.55) เมื่อพิจารณาจำแนกตามกลุ่มผู้ตอบแบบสอบถาม พบว่า กลุ่มนักเรียน และกลุ่มผู้ปกครอง มีค่าเฉลี่ยเท่ากันอยู่ในระดับมาก (=4.27, S.D.=0.55) สอดคล้องตามสมมติฐาน
- ผลการวิเคราะห์คุณภาพผู้เรียน หลังการพัฒนา ปีการศึกษา 2561-2562
3.1 ภาพรวมผลสัมฤทธิ์ระดับสถานศึกษาของนักเรียนที่ได้ระดับ 3 ขึ้นไป ปีการศึกษา 2561 มีค่าเฉลี่ยร้อยละ 44.95 ปีการศึกษา 2562 มีค่าเฉลี่ยร้อยละ 58.33 สอดคล้องตามสมมติฐาน
3.2 ภาพรวมผลการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-net) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2561 มีค่าเฉลี่ยร้อยละ 33.13 ปีการศึกษา 2562 มีค่าเฉลี่ย ร้อยละ 31.76 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2561 มีค่าเฉลี่ยร้อยละ 32.02 ปีการศึกษา 2562 มีค่าเฉลี่ยร้อยละ 30.04 ไม่เป็นไปตามสมมติฐาน
3.3 ภาพรวมผลการประเมินสมรรถนะสำคัญตามหลักสูตรสถานศึกษา ปีการศึกษา 2561 อยู่ในระดับดีขึ้นไปร้อยละ 85.00 ปีการศึกษา 2562 อยู่ในระดับดีขึ้นไปร้อยละ 88.20 สอดคล้องตามสมมติฐาน
- ผลการวิเคราะห์ความพึงพอใจของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่มีต่อการพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้ของครูสู่คุณภาพผู้เรียนโดยใช้ 5G MODEL โรงเรียน จะโหนงพิทยาคม หลังการพัฒนา ปีการศึกษา 2561-2562 พบว่า
ปีการศึกษา 2561 โดยภาพรวมทุกกลุ่มที่ประเมินมีความพึงพอใจค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (=3.53, S.D.=0.61) เมื่อพิจารณาแต่ละกลุ่มผู้ตอบแบบสอบถาม พบว่า กลุ่มครู มีความพึงพอใจค่าเฉลี่ยสูงสุดอยู่ในระดับมาก (μ=3.61, σ=0.62) รองลงมาได้แก่ กลุ่มคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (μ=3.58, σ=0.73) ส่วนกลุ่มนักเรียน มีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจต่ำสุด อยู่ในระดับปานกลาง (=3.45, S.D.= 0.52)
ปีการศึกษา 2562 โดยภาพรวมทุกกลุ่มที่ประเมินมีความพึงพอใจค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (=4.46, S.D.=0.59) เมื่อพิจารณาแต่ละกลุ่มผู้ตอบแบบสอบถาม พบว่า กลุ่มคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีความพึงพอใจค่าเฉลี่ยสูงสุด อยู่ในระดับมากที่สุด (μ 4.50, σ=0.76) รองลงมาได้แก่ รองลงมากลุ่มครู มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (μ 4.46, σ=0.57) ส่วนกลุ่มนักเรียนและกลุ่มผู้ปกครอง มีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจต่ำสุดอยู่ในระดับมากเช่นกัน (=4.44, S.D.=0.51,0.54) สอดคล้องตามสมมติฐาน
ข้อเสนอแนะ
- ข้อเสนอแนะสำหรับการนำไปใช้
1.1 การพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้ของครูสู่คุณภาพผู้เรียน จะประสบผลสำเร็จได้ต้องเกิดจากความร่วมมือจากครู และบุคลากร ตลอดจนผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องเป็นอย่างดี
1.2 ควรจัดอบรมให้ความรู้ และทักษะการจัดกิจกรรมที่หลากหลายแก่ครูเพื่อนำไปพัฒนาการดำเนินงานเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของนักเรียนต่อเนื่อง
1.3 ครูต้องเอาใจใส่ ศึกษานักเรียนที่มีปัญหาด้านการเรียนรู้ เป็นรายกรณีอย่างใกล้ชิดและต่อเนื่อง ติดตามพฤติกรรมนักเรียนโดยตลอดจะสามารถแก้ปัญหาได้
1.4 การดำเนินการเพื่อพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้ของครูสู่คุณภาพผู้เรียนควรนำรูปแบบ 5G MODEL มาประยุกต์ใช้ให้สอดคล้องกับบริบทของโรงเรียน เพื่อเกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการพัฒนา
1.5 โรงเรียนควรกำหนดนโยบายและแนวปฏิบัติที่ชัดเจน ให้การส่งเสริมและให้ขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานแก่ครูอย่างทั่วถึงและยุติธรรม
- ข้อเสนอแนะสำหรับการวิจัยครั้งต่อไป
2.1 ควรมีการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ของครูสู่คุณภาพผู้เรียนโดยใช้รูปแบบใหม่ ๆ และทันสมัย ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคม และสอดคล้องกับบริบทของโรงเรียนในโรงเรียนขนาดเล็ก ขนาดกลาง ขนาดใหญ่ และขนาดใหญ่พิเศษ เพื่อเป็นรูปแบบและแนวทางให้กับโรงเรียนขนาด ต่าง ๆ นำไปประยุกต์ใช้ เนื่องจากบริบทและปัจจัยของโรงเรียนแต่ละขนาดมีความเหลื่อมล้ำและแตกต่างกันมาก
2.2 ควรมีการศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ของครูสู่คุณภาพผู้เรียนในโรงเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน