เผยแพร่ผลงานทางวิชาการ

รูปแบบการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนสู่ความเป็นเลิศของสถานศึกษา โรงเรียนบ้านจิก (หจก.วิบูลย์พาณิชย์อนุเคราะห์) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 2

รูปแบบการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนสู่ความเป็นเลิศของสถานศึกษา โรงเรียนบ้านจิก (หจก.วิบูลย์พาณิชย์อนุเคราะห์) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 2

Development A Model For Learner’s Quality Towards The Excellence Of The School At Ban Jik School Under The Office Of Roi-Et Primary Education Area 2

ติดตามข่าวอื่น ๆ ได้ที่เพจ : https://www.facebook.com/rukkroo

นายสุวิทย์  คำพร  ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านจิก (หจก.วิบูลย์พาณิชย์อนุเคราะห์) .E-mail : [email protected]

 บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนสู่ความเป็นเลิศของสถานศึกษา โรงเรียนบ้านจิก (หจก.วิบูลย์พาณิชย์อนุเคราะห์) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 2 โดยแบ่งการวิจัยออกเป็น 3 ขั้นตอน ดังนี้ 1) ศึกษา สังเคราะห์องค์ประกอบการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนสู่ความเป็นเลิศของสถานศึกษา ด้วยการวิเคราะห์ สังเคราะห์เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และสัมภาษณ์ผู้บริหารโรงเรียนที่มีผลการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนที่เป็นเลิศ จำนวน 5 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา 2) สร้างรูปแบบการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนสู่ความเป็นเลิศของสถานศึกษา โดยการนำข้อมูลในขั้นตอนที่ 1 มายกร่างรูปแบบด้วยการสนทนากลุ่มผู้เชี่ยวชาญ ตัวแทนครู และกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 9 คน และประเมินความเหมาะสมของรูปแบบโดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน และ 3) ทดลองและศึกษาผลการใช้รูปแบบการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนสู่ความเป็นเลิศของสถานศึกษา

ผลการวิจัยพบว่า 1) รูปแบบการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนสู่ความเป็นเลิศของสถานศึกษา โรงเรียนบ้านจิก (หจก.วิบูลย์พาณิชย์อนุเคราะห์) คือรูปแบบ PLIC&P Model สู่คุณภาพ 3Qs ประกอบด้วย 5 กลยุทธ์ คือ การวิเคราะห์องค์กรและการวางแผน (Planning) การพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้ (Learning) การพัฒนาสื่อ นวัตกรรมและแหล่งเรียนรู้ (Innovation) การควบคุม ตรวจสอบและประเมินผล (Controlling and Check) และการมีส่วนร่วมและสร้างเครือข่าย (Participation) และคุณภาพ 3 ด้าน คือ คุณภาพผู้เรียน (Students Quality) คุณภาพครูและบุคลากร (Teachers Quality) และคุณภาพสถานศึกษา (School Quality)  2) ผลการใช้รูปแบบการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนสู่ความเป็นเลิศของสถานศึกษา ดังนี้ ผู้เรียนมีความรู้ความสามารถและทักษะอย่างหลากหลาย ครูและบุคลากรมีความสามารถในการจัดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ สถานศึกษามีความเข้มแข็งทางวิชาการ มีผลงานโดดเด่น เป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวาง

 

คำสำคัญ : รูปแบบการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน, ความเป็นเลิศของสถานศึกษา

เรื่องอื่นๆที่น่าสนใจ

Back to top button