ข่าวการศึกษา

แนวทางการดำเนินการลดภาระงานครูที่นอกเหนือจากการจัดการเรียนการสอน 3 ประเด็น

แนวทางการดำเนินการลดภาระงานครู ที่นอกเหนือจากการจัดการเรียนการสอน 3 ประเด็น

แนวทางการลดภาระครู นักเรียนและผู้ปกครองในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

โดยที่สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ได้มีการระบาดรุนแรงทั่วประเทศ ส่งผลกระทบต่อระบบการศึกษา ท าให้สถานศึกษา ครู นักเรียน ไม่สามารถจัดการเรียนการสอนได้ตามปกติ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการได้มีนโยบายและแนวทางการจัดการเรียนการสอนในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ได้แก่ ปรับรูปแบบการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับความปลอดภัยของพื้นที่ เป็นการเรียนรู้แบบ On-Site ในพื้นที่ที่มีความปลอดภัยสามารถไปสถานศึกษาได้ ขณะที่พื้นที่ไม่ปลอดภัยให้ปรับการเรียนรู้เป็น On-Air, Online, On-Hand และ On-Demandนอกจากนั้น ให้มีการเพิ่มเวลาพัก ลดการประเมินและงดกิจกรรมต่าง ๆ ที่ไม่จำ เป็น โดยเน้นเรียนเฉพาะวิชากลุ่ม
สาระหลัก รวมทั้งผลกระทบทางเศรษฐกิจของผู้ปกครองนักเรียนในส่วนของงบประมาณที่รัฐบาลให้การสนับสนุน ดูแล และช่วยเหลือ การคืน ลด ผ่อน ขยาย ช่วยเหลือค่าเทอม และการเรียนในชีวิตวิถีใหม่ (LEARNING IN THE NEW NORMAL)

ติดตามข่าวอื่น ๆ ได้ที่เพจ : https://www.facebook.com/rukkroo

เพื่อให้หน่วยงานภายใต้สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สามารถด าเนินการขับเคลื่อนการดำเนินงานในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) เป็นไปในทิศทางเดียวกันและประสบผลสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรม สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานจึงก าหนดแนวทางการด าเนินงานดังนี้

1. แนวทางการดำเนินการลดภาระงานครูที่นอกเหนือจากการจัดการเรียนการสอน
2. แนวปฏิบัติการจัดประสบการณ์และการประเมินพัฒนาการเด็ก (ระดับอนุบาล)
3. แนวปฏิบัติการจัดการเรียนการสอนและการวัดและประเมินผล (ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน)
4. แนวทางการดำเนินงานและการให้ความช่วยเหลือผู้ปกครอง เพื่อลดภาระค่าใช้จ่าย
ด้านการศึกษา

แนวทางการดำเนินงานการลดภาระงานครูที่นอกเหนือจากการจัดการเรียนการสอน

ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) มีโครงการ/กิจกรรมตามแผนปฏิบัติการประจำ ปี จำนวน 225 โครงการ/กิจกรรม ซึ่งพบว่าเป็นการเก็บข้อมูลจากระบบต่าง ๆ  ที่ต้องกรอก โครงการ/กิจกรรมต่าง ๆ จาก สพฐ. และการประเมินต่าง ๆ จากหน่วยงานภายในและภายนอกที่ต้องเก็บข้อมูลจากโรงเรียนและส านักงานเขตพื้นที่การศึกษา(สพท.) จำนวน 72 โครงการ ซึ่ง สพฐ. พิจารณาแล้ว เพื่อเป็นการลดภาระงานครู จึงเห็นควรชะลอการเก็บข้อมูล การดำเนินการโครงการ/กิจกรรมต่าง ๆ และการประเมินต่าง ๆ ออกไปจนกว่าสถานการณ์จะดีขึ้น โดยเหลือเพียง 3 ประเด็น คือ
1.  การรายงานในระบบติดตามและประเมินผลแห่งชาติ(eMENSCR)
2.  การรายงานรูปแบบการจัดการเรียนการสอนในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) และ
3.  การพัฒนาการจัดการเรียนรู้ทั้งระบบสู่การยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และการเตรียมผู้เรียนให้สอดคล้องกับศตวรรษที่ 21

สำหรับการเก็บข้อมูลจากหน่วยงานภายนอกอื่น ๆ สพฐ. จะบูรณาการการเก็บข้อมูลจากส่วนกลาง หรือจากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเป็นหลักทั้งนี้ ให้เป็นแนวปฏิบัติในระดับ สพฐ. สพท. และโรงเรียน ดังนี้

1. ระดับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ทุกสำนัก/หน่วยงานเทียบเท่า พิจารณาชะลอโครงการ/กิจกรรมที่มีการเก็บข้อมูลลงไปถึงโรงเรียนและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา จนกว่าสถานการณ์จะดีขึ้น ทั้งนี้ โครงการ/กิจกรรมที่ยังคงไว้ให้รายงานผล ให้อยู่ในกรอบการดำเนินงานของ 3 โครงการ/กิจกรรม ได้แก่
1.1 การรายงานในระบบติดตามและประเมินผลแห่งชาติ (eMENSCR)
1.2 การรายงานรูปแบบการจัดการเรียนการสอนในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)
1.3 การพัฒนาการจัดการเรียนรู้ทั้งระบบสู่การยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และการเตรียมผู้เรียนให้สอดคล้องกับศตวรรษที่ 21

2. ระดับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา  ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา พิจารณาคัดกรองโครงการ/กิจกรรมที่โรงเรียนจะร่วมดำเนินการทั้งกับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (ส่วนกลาง) และหน่วยงานภายนอก โดยยึดหลักการ ดังนี้
2.1 ต้องเป็นโครงการ/กิจกรรมที่อยู่ในกรอบการดำเนินงานตามข้อ 1
2.2 โครงการ/กิจกรรม หากดำเนินการแล้วกระทบกับช่วงเวลาการจัดการเรียนการสอนของครูและไม่ได้ทำให้เกิดคุณภาพต่อผู้เรียนโดยตรง ให้พิจารณาชะลอการดำเนินการออกไปก่อน
2.3 การจัดเก็บข้อมูลจากหน่วยงานภายนอกอื่น ๆ ให้บูรณาการข้อมูลจากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเป็นหลัก หากมีข้อมูลอื่นใดที่อยู่นอกเหนือหน้าที่การเก็บข้อมูลจากส านักงานเขตพื้นที่การศึกษาให้หน่วยงานภายนอกประสานมายังสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (ส่วนกลาง) โดยตรง

3. ระดับสถานศึกษา
3.1 ให้โรงเรียนคัดกรองโครงการ/กิจกรรมกรอบการดำเนินงานตามข้อ 1 เพื่อดำเนินการส่วนโครงการ/กิจกรรมอื่น ๆ หากพบว่าเป็นการสร้างภาระหรือส่งผลกระทบต่อการเรียนการสอน ให้ชะลอไว้ก่อน
3.2  กรณีพบว่ามีโครงการ/กิจกรรมใดที่อยู่นอกเหนือจากกรอบการดำเนินงานตามข้อ 1 จัดให้มีการรายงานหรือการเก็บข้อมูลต่าง ๆ ที่เป็นภาระ และไม่เกิดผลต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาโดยตรง ให้เสนอขอความเห็นชอบจากคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน แจ้งไปยังส านักงานเขตพื้นที่การศึกษา และสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (ส่วนกลาง) ตามลำดับ
3.3 กรณีพบว่ามีการจัดเก็บข้อมูลจากหน่วยงานภายนอกอื่น ๆ ให้โรงเรียนแจ้งหน่วยงานภายนอกนั้นเพื่อขอรับการบูรณาการข้อมูลจากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเป็นหลักการดำเนินการดังกล่าว สามารถลดภาระงานครูที่นอกเหนือจากการจัดการเรียนการสอน และให้ครูทำหน้าที่เฉพาะการจัดการเรียนการสอน การเตรียมสื่อการเรียนรู้สำหรับการเรียนการสอนในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) และดูแลเอาใจใส่นักเรียนได้อย่างทั่วถึง

อ่านรายละเอียดทั้งหมดที่ :  แนวทางลดภาระครู นักเรียนและผู้ปกครอง ในช่วงสถานการณ์แพร่ระบาดโควิด-19 (สพฐ.แจ้ง ด่วนที่สุด)

ที่มา : สพฐ.

เรื่องอื่นๆที่น่าสนใจ

Back to top button