หนังสือราชการ

หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยะฐานะ PA สังกัด อปท. พ.ศ. 2565

หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยะฐานะ PA สังกัด อปท. พ.ศ. 2565

วิทยะฐานะ PA สังกัด อปท. ตาม หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยะฐานะฯ PA องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2565 ปีงบประมาณ 2566 เป็นต้นไป  ประกาศมาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะสำหรับข้าราชการหรือพนักงานครูและบุคลากรทางการศึกษาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2565
http://www.dla.go.th/upload/document/type2/2022/10/28148_1_1664855849176.pdf?time=1664865204554

แนบท้าย ว40 ลว. 30 ก.ย.2565
http://www.dla.go.th/upload/document/type2/2022/10/28148_2_1664855849192.pdf?time=1664865204554

ติดตามข่าวอื่น ๆ ได้ที่เพจ : https://www.facebook.com/rukkroo

สิ่งที่ส่งมาด้วย 1 (อบจ)
https://drive.google.com/file/d/18rD81LSkoQoRmX1WbHc6vZiht2rukJnF/view

สิ่งที่ส่งมาด้วย 2 (เทศบาล)
https://drive.google.com/file/d/1_JzMoNP0gBUupmdXtfZ35MB0wJZBGgvr/view

สิ่งที่ส่งมาด้วย 3 (อบต)
https://drive.google.com/file/d/1HZ9ZCgICvR-5uJAlzGw09RT3GZR6c8bl/view


สรุป PA : อปท
บังคับใช้ 1 ตุลาคม 2565

การจัดทำข้อตกลงในการพัฒนางาน : PA : สายงานการสอน
1. การจัดทำข้อตกลงในการพัฒนางาน : PA
1.1 ครูในโรงเรียน ทำกับ ผอ.สถานศึกษา เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ หาก ผอ.สถานศึกษา ไม่สามารถรับได้ ก็ให้ ผอ.สำนัก/กองการศึกษา/หัวหน้าส่วนราชการด้านการศึกษา หากไม่สามารถปฏิบัติตามนี้ได้ ให้เสนอ ก จังหวัดพิจารณา

1.2 ครู ศพด. ทำกับ ผอ.ศพด.(ณ วันนี้ยังไม่มี) ให้เสนอต่อผอ.สำนัก/กองการศึกษา/หัวหน้าส่วนราชการด้านการศึกษาหากไม่สามารถปฏิบัติตามนี้ได้ ให้เสนอ ก จังหวัดพิจารณา

2. องค์ประกอบของข้อตกลงในการพัฒนางาน : PA (ของครู) มี 2 ส่วน
ส่วนที่ 1 ข้อตกลงในการพัฒนางานตามมาตรฐานตำแหน่ง
1) การปฏิบัติตามมาตรฐานตำแหน่งและมีภาระงานตามที่ ก.จ. ก.ท. และ ก.อบต. กำหนด
2) ผลการปฏิบัติงาน : ด้านการจัดการเรียนรู้ : ด้านส่งเสริมสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ และด้านการพัฒนาตนเองและวิชาชีพ
ส่วนที่ 2 ข้อตกลงในการพัฒนางานที่เป็นประเด็นท้าทายในการพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน

คณะกรรมการประเมินผลงานตามข้อตกลง มี 3 คน
1. กรณีครูในโรงเรียน(นายก อปท.ลงนามแต่งตั้ง)
1.1 ผอ.สถานศึกษานั้นเป็นประธาน
1.2 บุคคลภายนอก 2 คน : ศน.หรือผู้ที่เคยเป็น ศน. ที่มีวิทยฐานะไม่ต่ำกว่าชำนาญการพิเศษ หรือ อาจารย์สถาบันอุดมฯไม่ต่ำกว่า ผช.ศาสตราจารย์ หรือ ครูจากสถานศึกษาอื่นที่มีวิทยฐานะไม่ต่ำกว่าชำนาญการพิเศษ หรือ ผู้ทรงคุณวุฒินอกสถานศึกษา หาก ผอ.สถานศึกษานั้น ไม่อาจประเมินได้ ให้แต่งตั้ง ผอ.สถานศึกษาใกล้เคียง หรือผอ.สำนัก/กองการศึกษา/หัวหน้าส่วนราชการด้านการศึกษา เป็นประธานกรรมการ

2. กรณีครูใน ศพด.(นายก อปท.ลงนามแต่งตั้ง)
2.1 ผอ.ศพด.นั้นเป็นประธาน
2.2 บุคคลภายนอก 2 คน : ศน.หรือผู้ที่เคยเป็น ศน. ที่มีวิทยฐานะไม่ต่ำกว่าชำนาญการพิเศษ หรือ อาจารย์สถาบันอุดมฯไม่ต่ำกว่า ผช.ศาสตราจารย์ หรือ ครูจากสถานศึกษาอื่นที่มีวิทยฐานะไม่ต่ำกว่าชำนาญการพิเศษ หรือ ผู้ทรงคุณวุฒินอกสถานศึกษา  หาก ผอ.ศพด.นั้น ไม่อาจประเมินได้ ให้แต่งตั้ง ผอ.ศพด. หรือผอ.สถานศึกษาใกล้เคียง หรือผอ.สำนัก/กองการศึกษา/หัวหน้าส่วนราชการด้านการศึกษา เป็นประธานกรรมการ

*** การแต่งตั้งคูะกรรมการให้คำนึงถึงวิชา/สาขา/กลุ่มสาระการเรียนรู้ฯ***

เกณฑ์การประเมินฯ PA(คงวิทยฐานะ+เลื่อนเงินเดือน)
ครูในโรงเรียน และครูใน ศพด.
1. จะต้องได้คะแนนจากกรรมการแต่ละคนไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 จึง “ผ่านเกณฑ์” ตามข้อตกลง
2. จะต้องมีภาระงานตามที่ ก.จ. ก.ท. และ ก.อบต. กำหนด

เกณฑ์การประเมินฯ PA(มีหรือเลื่อนวิทยฐานะสูงขึ้น)
กรณีปกติ
1. คุณสมบัติ ดำรงตำแหน่ง/วิทยฐานะปัจจุบันมาแล้วไม่น้อยกว่า 4 ปี ติดต่อกัน
2. มีรอบประเมิน PA ย้อนหลัง 3 รอบปีงบประมาณ และมีผลการประเมินไม่ต่ำกว่าร้อยละ 70
3. ต้องไม่เคยถูกลงโทษทางวินัยที่หนักกว่าภาคทัณฑ์ ตลอดระยะเวลา 4 ปีงบประมาณ
กรณีลดระยะเวลา
1. คุณสมบัติ ดำรงตำแหน่ง/วิทยฐานะปัจจุบันมาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปี ติดต่อกัน
2. มีรอบประเมิน PA ย้อนหลัง 2 รอบปีงบประมาณ และมีผลการประเมินไม่ต่ำกว่าร้อยละ 70
3. ต้องไม่เคยถูกลงโทษทางวินัยที่หนักกว่าภาคทัณฑ์ ตลอดระยะเวลา 3 ปีงบประมาณ
กรณี 3 จังหวัดชายแดนใต้(ยะลา ปัตตานี นราธิวาส สงขลา(เฉพาะเทพา สะบ้าย้อย นาทวี และจะนะ)
1. คุณสมบัติ ดำรงตำแหน่ง/วิทยฐานะปัจจุบันมาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปี ติดต่อกัน
2. มีรอบประเมิน PA ย้อนหลัง 1 รอบปีงบประมาณ และมีผลการประเมินไม่ต่ำกว่าร้อยละ 70
3. ต้องไม่เคยถูกลงโทษทางวินัยที่หนักกว่าภาคทัณฑ์ ตลอดระยะเวลา 2 ปีงบประมาณ

การประเมินผลงาน(ชำนาญการ และชำนาญการพิเศษ)
ต้องผ่านการประเมิน 2 ด้าน ดังนี้
ด้านที่ 1 ด้านทักษะการจัดการเรียนรู้และการจัดการชั้นเรียน
1.1 แผนการจัดการเรียนรู้ 1 แผน
1.2 ไฟล์ วีดิทัศน์ 2 ไฟล์
1) ไฟล์การสอนตามแผนฯ ไม่เกิน 1 ชม.
2) ไฟล์แรงบันดารใจ ไม่เกิน 10 นาที
ด้านที่ 2 ด้านผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน
– ผลงาน/ผลการปฏิบัติงานของผู้เรียน ที่เกิดจากการสอนตามไฟล์วิดีทัศน์/แผนการจัดการเรียนรู้

****ครูเชี่ยวชาญ ส่งผลงานทางวิชาการ 1 เรื่อง ครูเชี่ยวชาญพิเศษ ส่งผลงานทางวิชาการ 2 เรื่อง***

คณะกรรมการประเมินเพื่อให้มีหรือเลื่อนวิทยฐานะ
ให้นายก อปท. ลงนามแต่งตั้งจากบัญชีรายชื่อผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ ก.จ. ก.ท. และ ก.อบต. กำหนด จำนวน 3 คน

ช่วงเปลี่ยนผ่าน ครู อปท.สายงานการสอน
1. คำขอที่ยื่นไว้ตาม มฐ.เดิม(มฐ.2550/มฐ. ว23) ก่อนวันที่ 1 ตุลาคม 2565 ให้ดำเนินการต่อไปจนกว่าจะแล้วเสร็จ
2. ครูที่ใช้สิทธิตาม มฐ.2550 แล้ว หรือไม่ใช้สิทธิในเวลาที่กำ จะไม่สามารถใช้สิทธิตาม มฐ.2550 ได้อีก
3. ครูที่จะยื่นขอฯวิทยฐานะตาม มฐ.2550 ที่มีคุณสมบัติครบถ้วนภายใน 30 กันยายน 2566 สามารถยื่นขอฯ ได้ 1 ครั้งในห้วงแรกที่มีสิทธิ(เมษายน 2566)
4. ครูที่จะยื่นขอฯวิทยฐานะตาม ว23 ที่มีคุณสมบัติครบถ้วนภายใน 30 กันยายน 2566 สามารถยื่นขอฯ ได้ 1 ครั้งภายใน 30 กันยายน 2566(สิ้นปี กศ.2565)
5. ครูที่มีคุณสมบัติครบตาม มฐ.2550 หลังวันที่ 30 กันยายน 2566
5.1 ให้นำผลการประเมินฯ ตาม มฐ.2550 ย้อนหลัง 1 ปี(ตาม วฐ.2) มา+กับ PA หนึ่งรอบ(กรณียื่นขอฯในปีงบประมาณ 2567)
5.2 ให้นำผลการประเมินฯ ตาม มฐ.2550 ย้อนหลัง 2 ปี(ตาม วฐ.2) มา+กับ PA หนึ่งรอบ(กรณียื่นขอฯในปีงบประมาณ 2568)

***ปีงบประมาณ 2569 เป็นต้นไป ให้ใช้ PA เท่านั้น***
6. ครูที่มีคุณสมบัติครบตาม ว23 หลังวันที่ 30 กันยายน 2566
6.1 ให้นำผลการประเมินฯ ตาม ว23 ย้อนหลัง 1 ปี(ตาม วฐ.2) มา+กับ PA หนึ่งรอบ(กรณียื่นขอฯในปีงบประมาณ 2567)
6.2 ให้นำผลการประเมินฯ ตาม ว23 ย้อนหลัง 2 ปี(ตาม วฐ.2) มา+กับ PA หนึ่งรอบ(กรณียื่นขอฯในปีงบประมาณ 2568)
(ผู้มีสิทธิลดระยะเวลาให้ใช้ มฐ.เดิม 1 รอบ+PA หนึ่งรอบ ยื่นขอในปีงบประมาณ 2566)

***ปีงบประมาณ 2569 เป็นต้นไป ให้ใช้ PA เท่านั้น***

การคงวิทยฐานะ
ให้ใช้ผลการประเมิน PA มาเป็นเงื่อนไขในการตัดสิน

ดาวน์โหลด : แบบฟอร็มข้อตกลงในการพัฒนางาน แบบฟอร์ม PA ครู อปท. ทุกวิทยฐานะ

ขอบคุณข้อมูลจากเว็บไซต์ : http://arunee.net

เรื่องอื่นๆที่น่าสนใจ

Back to top button