ข่าวการศึกษา

คุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐานของไทย อาจอยู่ในอันดับ 11 อาเซียน ในปี 2563

บทความที่น่าสนใจของท่าน รศ.ดร.สุพักต์ พิบูลย์  ได้เขียนไว้ในบันทึกของท่านในเฟซบุ๊ค น่าสนใจอย่างยิ่ง ลองอ่านกันดูครับ

คุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐานของไทย อาจอยู่ในอันดับ 11 อาเซียน ในปี 2563

ผมติดตามแนวทางการปฏิรูปการศึกษาไทย ที่ ศธ.ปล่อยข่าวออกมาเป็นระยะ ๆ จากบอร์ดชุดต่างๆ ล่าสุดก็เรื่องการปรับโครงสร้างครั้งสำคัญ ซึ่งเท่าที่สังเกต ผมสรุปได้ดังนี้ คือ
1. แท่งต่าง ๆ เช่น สพฐ. อชศ. น่าจะเล็กลง มีฐานะระดับกรม สำนักงานปลัด จะใหญ่ขึ้น อาจเหลือนักบริหารระดับ 11 เพียงคนเดียว (ผมเห็นด้วย)
2. จะมีศึกษาธิการภาค 13 ภาค ศึกษาธิการจังหวัด 77 จังหวัด งบพัฒนาจะลงไปกองที่จังหวัดอีกประมาณ 7,700 ล้านบาท ต่อปี (ถอยหลังเข้าคลอง..จริง ๆ แล้ว ศึกษาธิการภาค ไม่จำเป็นต้องมี หากคิดกระจายอำนาจให้กับสถานศึกษา หรือจังหวัด)
3. อาจมีศึกษาธิการอำเภอ 700 อำเภอ งบพัฒนาจะกองอยู่ที่อำเภอ ประมาณ 10,000 ล้านบาท ต่อปี (ถอยหลังลงเหว..เสียดายงบประมาณแผ่นดิน เป็นการจัดตั้งทำนบกันเงินลงสู่โรงเรียน)
4. การปฏิรูปกระบวนการผลิตครูของสถาบันทางครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ ไม่มีใครพูดถึง ทั้ง ๆ ที่เป็นรากของปัญหาที่สำคัญ (จะหายนะอีกยาวไกล หากปล่อยให้ผลิตครูแบบเดิมๆ)
5. การกำหนดสมรรถนะปลายทาง คือ (1) มาตรฐานความรู้ (2) รายการคุณลักษณะอันพึงประสงค์ และ(3) ทักษะในการดำเนินชีวิตที่สำคัญ ๆ ไม่ค่อยมีใครพูดถึง ทั้ง ๆ ที่เป็นเรื่องสำคัญลำดับที่ 1 ที่ต้องทำก่อน (สะท้อนถึงการไม่เป็นมืออาชีพของทีมบริหารการศึกษาของประเทศ..มีสิทธิ์หลงทิศทาง)
นักบริหารในปัจจุบัน มักคิดเฉพาะ “มรรค” หรือ “แนวทางการพัฒนา” ตามที่ตัวเองเห็นสมควร เช่น (1) “ลดเวลาเรียบน เพิ่มเวลารู้ รอเวลาเลิก(555)” หรือ (2) การจัดการเรียนการสอนทางไกล ผ่านดาวเทียม/ผ่านทีวี ที่ลงทุนมหาศาล เหล่านี้เป็นเพียงตัวอย่างว่า คิดได้แค่ “มรรค” ไม่สามารถคิดในเชิงระบุภาพความสำเร็จ(Image of success) หรือ “นิโรธ”ได้
6. ไม่มีใครจริงจังกับการกระจายอำนาจให้สถานศึกษาเป็นใหญ่ ใช้สถานศึกษาเป็นฐานในการตัดสินใจ ทุกคน มักจะคิดแต่เรื่องโครงสร้างอำนาจ เพื่อการก้าวสู่การเป็นระดับ 9-10-11 ของผู้หลักผู้ใหญ่เพียงไม่กี่คน ไม่มีใครจริงจังกับการสร้างระบบกรรมการสถานศึกษา กรรมการเขตพื้นที่การศึกษา ให้เข้มแข็ง เพื่อให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืน
7. การแก้ปํญหาที่รากของปัญหา แบบที่เกาหลี ญี่ปุ่น หรือสิงค์โปร์ เคยทำ คือ การจัดการศึกษาปฐมวัยและประถมศึกษาให้สุดยอด สร้างให้เด็กมีทักษะการอ่าน และนิสัยรักการอ่าน ซึ่งจะเป็นฐานของทุกเรื่อง ในประเด็นนี้ เท่าที่ดู ไม่มีใครใส่ใจ ดังนั้น ศูนย์เด็กเล็กที่ไร้คุณภาพยังจะกลาดเกลื่อนเมืองไทย โรงเรียนประถมศึกษาจำนวนหนึ่ง ยังจะผลิตเด็กที่จบ ป.6 แบบอ่านไม่ออก อ่านไม่คล่องกันอีกต่อไป(ประมาณ 34 % อ่านไม่ออกและอ่านไม่คล่อง)..จะเกิดผลกระทบระยะยาวไกล จนคุณภาพการศึกษาไทย จนอาจไม่สามารถกู้ได้
….ผมเชื่อว่า หากแนวคิดยังวนเวียนอยู่เช่นนี้ แบบไม่มีทิศทางที่ชัดเจน ในปี 2563 คุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐานของไทย อาจตกจาก อันดับ 8 ไปอยู่อันดับ 11 ของอาเซียน (ภายหลังจากที่ ติมอร์ ตะวันออก เข้ามาเป็นสมมาชิกอาเซียน)…
ที่มา : suphak pibool

ติดตามข่าวอื่น ๆ ได้ที่เพจ : https://www.facebook.com/rukkroo

เรื่องอื่นๆที่น่าสนใจ

Back to top button