เผยแพร่ผลงานทางวิชาการ

การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมกระบวนการคิดวิเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง การเปลี่ยนแปลงพลังงานและการเกิด ปฏิกิริยาเคมี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2

การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมกระบวนการคิดวิเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง การเปลี่ยนแปลงพลังงานและการเกิด ปฏิกิริยาเคมี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. นนทบุรี : โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย นนทบุรี.

ปนัดดา ลิ้มสุขนิรันดร์. 2560.

ติดตามข่าวอื่น ๆ ได้ที่เพจ : https://www.facebook.com/rukkroo

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ของการศึกษา

1) เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมกระบวนการคิดวิเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง การเปลี่ยนแปลงพลังงานและการเกิดปฏิกิริยาเคมี สำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2

2) เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ของนักเรียนภายหลังการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมกระบวนการคิดวิเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง การเปลี่ยนแปลงพลังงานและการเกิดปฏิกิริยาเคมี สำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2

3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมกระบวนการคิดวิเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง การเปลี่ยนแปลงพลังงานและการเกิดปฏิกิริยาเคมีสำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาครั้งนี้คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/11 กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย นนทบุรี ปีการศึกษา 2559 จำนวน 50 คน จากการสุ่มแบบกลุ่ม (สุชาติ ประสิทธิ์รัฐสินธุ์, 2546 : 71-75)

ตัวแปรอิสระ ได้แก่ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ ที่ส่งเสริมกระบวนการคิดวิเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง การเปลี่ยนแปลงพลังงานและการเกิดปฏิกิริยาเคมี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2

ตัวแปรตาม ได้แก่
1) ประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมกระบวนการคิดวิเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง การเปลี่ยนแปลงพลังงานและการเกิดปฏิกิริยาเคมี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ของนักเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมกระบวนการคิดวิเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง การเปลี่ยนแปลงพลังงานและการเกิดปฏิกิริยาเคมี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 และ
3) ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมกระบวนการคิดวิเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง การเปลี่ยนแปลงพลังงานและการเกิดปฏิกิริยาเคมี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2

เครื่องมือ ที่ใช้ ได้แก่
1) ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมกระบวนการคิดวิเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง การเปลี่ยนแปลงพลังงานและการเกิดปฏิกิริยาเคมี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
2) แผนการจัดการเรียนรู้และคู่มือการใช้ ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมกระบวนการคิดวิเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง การเปลี่ยนแปลงพลังงานและการเกิดปฏิกิริยาเคมี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง การเปลี่ยนแปลงพลังงานและการเกิดปฏิกิริยาเคมี กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 และ
4) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมกระบวนการคิดวิเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง การเปลี่ยนแปลงพลังงานและการเกิดปฏิกิริยาเคมี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2

การวิเคราะห์หาคุณภาพของเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล โดยการสร้างฉบับร่างและนำไปใช้กับกลุ่มที่ไม่ใช่กลุ่มเป้าหมาย (Try out) ได้แก่
วิเคราะห์หาคุณภาพค่าระดับความยากของแบบทดสอบ (p) และค่าอำนาจจำแนกของแบบทดสอบ (r) ค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบทั้งฉบับ โดยใช้สูตร KR – 20 ของคูเดอร์ ริชาร์ดสัน และหาความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับ โดยวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาค (Cronbach) หาประสิทธิภาพชุดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมกระบวนการคิดวิเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง การเปลี่ยนแปลงพลังงานและการเกิด ปฏิกิริยาเคมี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 และความพึงพอใจของผู้เรียนต่อชุดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมกระบวนการคิดวิเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง การเปลี่ยนแปลงพลังงานและการเกิด ปฏิกิริยาเคมี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2

ผลการศึกษา พบว่า
1. ประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมกระบวนการคิดวิเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง การเปลี่ยนแปลงพลังงานและการเกิดปฏิกิริยาเคมี สำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีประสิทธิภาพ 86.43 / 82.70
2. ภายหลังการทดลองจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมกระบวนการคิดวิเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง การเปลี่ยนแปลงพลังงานและการเกิดปฏิกิริยาเคมี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 นักเรียนกลุ่มเป้าหมายส่วนใหญ่มีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนผ่านเกณฑ์ร้อยละ 80 จำนวน 48 คน คิดเป็นร้อยละ 96 โดยมีคะแนนเฉลี่ยจากการทดสอบหลังเรียนคือ 17.96 คะแนน ( =17.96 )
3. นักเรียนมีความพึงพอใจของนักเรียนภายหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมกระบวนการคิดวิเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง การเปลี่ยนแปลงพลังงานและการเกิดปฏิกิริยาเคมี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.83)

เรื่องอื่นๆที่น่าสนใจ

Back to top button