รายงานการประเมินโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนพิชัย
ชื่อเรื่อง รายงานการประเมินโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนพิชัย
ผู้รายงาน นายธีระยุทธ เกตุมี
ตำแหน่ง รองผู้อำนวยการโรงเรียนพิชัย
สถานที่ทำงาน โรงเรียนพิชัย อำเภอพิชัย จังหวัดอุตรดิตถ์สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 39 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ
บทคัดย่อ
รายงานการประเมินโครงการครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อประเมินด้านสภาวะแวดล้อมโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนพิชัย 2) เพื่อประเมินด้านปัจจัยนำเข้าโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนพิชัย 3) เพื่อประเมินด้านกระบวนการโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนพิชัย 4) เพื่อประเมินด้านผลผลิตโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนพิชัย 5) เพื่อประเมินความพึงพอใจที่มีต่อโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนพิชัย โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมินครั้งนี้ ได้มาจากการกำหนดขอบเขตกลุ่มตัวอย่างด้วยการเทียบกับตารางสำเร็จรูปของ R.V. Krejcie and D.W. Morgan จำนวน 723 คน ประกอบด้วยครูผู้สอนจำนวน 77 คน นักเรียนจำนวน 323 คน ได้จากการสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling) และผู้ปกครองจำนวน 323 คน ซึ่งเป็นผู้ปกครองของนักเรียนที่สุ่มได้ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือแบบสอบถามและแบบประเมินความพึงพอใจ ดังนี้ ตอนที่ 1 สถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถามและแบบประเมินความพึงพอใจ ตอนที่ 2 การประเมินโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนพิชัย แบ่งออกเป็น 4 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 แบบสอบถามฉบับที่ 1
เรื่องการประเมินโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนพิชัย สำหรับครูผู้สอนมีค่าอำนาจจำแนกรายข้อระหว่าง .554 – .992 มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .993 ส่วนที่ 2 แบบสอบถามฉบับที่ 2 เรื่องการประเมินโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนพิชัยสำหรับนักเรียน
ติดตามข่าวอื่น ๆ ได้ที่เพจ : https://www.facebook.com/rukkroo
มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อระหว่าง .907 – .976 มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .989 ส่วนที่ 3 แบบสอบถามฉบับที่ 3 เรื่องการประเมินโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนพิชัยสำหรับผู้ปกครองนักเรียน มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อระหว่าง .905 – .984 มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .996 และส่วนที่ 4 แบบประเมินฉบับที่ 1 ประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนพิชัย มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อระหว่าง .907 – .976 มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .992 แบบประเมินฉบับที่ 2 ประเมินความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียนที่มีต่อโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนพิชัย มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อระหว่าง .840 – .919 มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .980 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย () และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)
ผลการวิเคราะห์แบบสอบถามการประเมินโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน
โรงเรียนพิชัย โดยรวมมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก ( = 4.18 S.D.= 0.72 ) และความพึงพอใจของนักเรียนและผู้ปกครองนักเรียนที่มีต่อโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนพิชัยโดยรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ( = 4.20 S.D.= 0.76 ) รายละเอียดดังนี้
- ด้านสภาวะแวดล้อม โดยรวมอยู่ในระดับมาก (= 4.13, S.D.= 0.73 ) โดยเฉพาะด้านเป้าหมายของโครงการ ระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนสอดคล้องกับความต้องการของโรงเรียน ผู้ปกครอง และชุมชน ด้านความสอดคล้องของวัตถุประสงค์ระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนสอดคล้องกับนโยบายกระทรวงศึกษาธิการ
- ด้านปัจจัยนำเข้า โดยรวมอยู่ในระดับมาก (= 4.20 S.D.= 0.72 ) โดยเฉพาะด้านความเหมาะสมด้านระยะเวลา มีการประเมินผลการดำเนินงานโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ตามระยะเวลาที่กำหนด ด้านความพอเพียงด้านทรัพยากร คณะกรรมการสถานศึกษาให้การสนับสนุนส่งเสริมการดำเนินงานโครงการ ผู้บริหารมีความสนใจและให้การสนับสนุนการดำเนินงานโครงการด้านความพร้อมของบุคลากร มีการส่งเสริมและแต่งตั้งให้นักเรียนมีส่วนร่วมเป็นเจ้าหน้าที่ดำเนินงานโครงการ มีการแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานโครงการอย่างเหมาะสมและชัดเจน
- ด้านกระบวนการ โดยรวมอยู่ในระดับมาก (= 4.27 S.D.= 0.68 ) โดยเฉพาะด้านการดำเนินงานโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน การรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล การบันทึกข้อมูลนักเรียนทุกคนที่รับผิดชอบในระเบียนสะสม การเก็บรวบรวมข้อมูลนักเรียนจากผู้ปกครองนักเรียน จากเพื่อนสนิทภายในห้อง จากการเยี่ยมบ้านของครูที่ปรึกษานำมาจัดทำข้อมูลนักเรียนเป็นปัจจุบัน สามารถอ้างอิงได้ ด้านกิจกรรมการดำเนินงานโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน การพัฒนาครู บุคลากรให้มีความรู้ มีทักษะ และประสบการณ์ เพื่อพัฒนากิจกรรมให้มีประสิทธิภาพ มีการวางแผนกิจกรรมการดำเนินงานอย่างเป็นระบบ
- ด้านผลผลิต โดยรวมอยู่ในระดับมาก (= 4.09 S.D.= 0.73 ) โดยเฉพาะนักเรียนเป็นที่ยอมรับของผู้ปกครอง ชุมชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง นักเรียนสามารถเรียนรู้ได้ตามศักยภาพ และมีความสุขในการเรียน นักเรียนไม่เสพสิ่งเสพติด รวมทั้งไม่แสวงหาผลประโยชน์จากสิ่งเสพติด นักเรียนสามารถหลีกเลี่ยงและป้องกันตนเองให้ห่างจากสิ่งเสพติด ผู้ปกครองเสนอแนะแนวทางในการดำเนินชีวิตที่ดีให้บุตรหลาน บุตรหลานของท่านมีความรู้ ความเข้าใจ เรื่องการดูแลช่วยเหลือเบื้องต้น สามารถให้คำแนะนำผู้อื่นได้
- ความพึงพอใจของนักเรียนและผู้ปกครองนักเรียน โดยรวมอยู่ในระดับมาก
( = 4.20 S.D.= 0.76 ) โดยเฉพาะการออกเยี่ยมบ้านนักเรียนของครูที่ปรึกษา การจัดกิจกรรมเสริมในเรื่องการพัฒนาบุคลิกภาพนักเรียน นักเรียนในความปกครองของท่านได้รับการดูแลเอาใจใส่ด้านการเรียน นักเรียนมีบุคลิกภาพดี สามารถแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้ แสดงให้เห็นว่านักเรียนและผู้ปกครองพึงพอใจในการปฏิบัติงานของครูตามระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน