งานราชการ

เปิดรายชื่อ 14 กระทรวงที่ได้รับจัดสรรพนักงานราชการเฉพาะกิจทั้งหมด 10,000 อัตรา

เปิดรายชื่อ 14 กระทรวงที่ได้รับจัดสรรพนักงานราชการเฉพาะกิจทั้งหมด 10,000 อัตรา

เปิดรายชื่อ 14 กระทรวงที่ได้รับจัดสรรพนักงานราชการเฉพาะกิจทั้งหมด 10,000 อัตรา

วันที่ 10 มิ.ย.64 นายอนุชา บูรพชัยศรี โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า จากที่คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 8 มิถุนายนที่ผ่านมา เห็นชอบข้อเสนอแนวทางการจัดสรรกรอบอัตรากำลังและกลไกการบริหารจัดการพนักงานราชการเฉพาะกิจ จำนวน 10,000 อัตรา เพื่อช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) นั้น พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้ให้ส่วนราชการในแต่ละกระทรวงที่ได้รับจัดสรรอัตรา พนักงานราชการเฉพาะกิจ 10,000 อัตรานี้ เร่งประชาสัมพันธ์การรับสมัครงานและบรรจุบุคคลเข้าปฏิบัติงานตามขั้นตอนให้เร็วที่สุด เพื่อช่วยผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 ได้มีงานทำ และให้มีการกระจายการจ้างงานลงสู่ระดับพื้นที่โดยกลุ่มเป้าหมายเป็นผู้สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรี อัตราค่าตอบแทน 18,000 บาท/เดือน ระยะเวลาจ้างไม่เกิน 1 ปี สิ้นสุดการจ้างงานไม่เกินวันที่ 30 กันยายน 65 ทั้งนี้ สำนักงาน ก.พ. จะได้มีหนังสือถึงส่วนราชการเพื่อเร่งดำเนินการจ้างพนักงานราชการเฉพาะกิจให้แล้วเสร็จภายในเดือนสิงหาคม 2564 ต่อไป

ติดตามข่าวอื่น ๆ ได้ที่เพจ : https://www.facebook.com/rukkroo

สำหรับ 28 ส่วนราชการใน 14 กระทรวง ที่ได้รับการจัดสรรอัตรากำลัง ประกอบด้วยหน่วยงานส่วนกลางที่ตั้งในภูมิภาค/ส่วนราชการในภูมิภาคระดับจังหวัด ดังนี้

1. กระทรวงการคลัง รวม 1,045 อัตรา ได้แก่ สำนักงานธนารักษ์พื้นที่ 380 อัตรา สำนักงานสรรพสามิตภาค 70 อัตรา สำนักงานสรรพากรพื้นที่ 595 อัตรา
2. กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา สำนักงานปลัดกระทรวง สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัด จำนวน 406 อัตรา
3. กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ให้กับสำนักงานปลัดกระทรวง สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด จำนวน 406 อัตรา
4. กระทรวงเกษตรและหกรณ์ จำนวน 1,664 อัตรา ประกอบด้วย สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัด จำนวน 406 อัตรา สำนักงานตรวจบัญชีสหกรณ์ 60 อัตรา สำนักงานประมงจังหวัด 406 อัตรา สำนักงานเกษตรจังหวัด 406 อัตรา สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม 386 อัตรา
5. กระทรวงคมนาคม จำนวน 546 อัตรา ได้แก่ สำนักงานขนส่งจังหวัด 406 อัตรา และท่าอากาศยาน 140 อัตรา
6. กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม สำนักงานสถิติจังหวัด จำนวน 406 อัตรา
7. กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัด จำนวน 406 อัตรา
8. กระทรวงพลังงาน สำนักงานพลังงานจังหวัด จำนวน 406 อัตรา
9. กระทรวงมหาดไทย จำนวน 1,218 อัตรา ประกอบด้วย สำนักงานจังหวัด จำนวน 406 อัตรา สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัด จำนวน 406 อัตรา สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด จำนวน 406 อัตรา
10. กระทรวงยุติธรรม จำนวน 505 อัตรา ได้แก่ สำนักงานยุติธรรมจังหวัด 99 อัตรา และสำนักงานคุมประพฤติจังหวัด จำนวน 406 อัตรา
11. กระทรวงแรงงาน จำนวน 1,774 อัตรา ได้แก่ สำนักงานปลัดกระทรวง สำนักงานแรงงานจังหวัด 406 อัตรา กรมการจัดหางาน สำนักงานจัดหางานจังหวัด 406 อัตรา กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน จำนวน 150 อัตรา และกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัด จำนวน 406 อัตรา สำนักงานประกันสังคม สำนักงานประกันสังคมจังหวัด  406 อัตรา
12. กระทรวงวัฒนธรรม สำนักงานปลัดกระทรวง สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัด จำนวน 406 อัตรา
13. กระทรวงสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวง สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด จำนวน 406 อัตรา
14. กระทรวงอุตสาหกรรม สำนักงานปลัดกระทรวง สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัด จำนวน 406  อัตรา

โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า “การกระจายการจ้างงานลงสู่ระดับพื้นที่ และให้ส่วนราชการที่ได้รับการจัดสรรอัตรากำลังเร่งบรรจุบุคคลเข้าปฏิบัติงานให้เร็วที่สุด เพื่อบรรเทาปัญหาการว่างงาน และช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจตามนโยบายรัฐบาลให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรมในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ในปัจจุบัน”

การจัดสรรกรอบอัตราพนักงานราชการเฉพาะกิจ
หน่วยงานส่วนกลาง
ที่ตั้งในภูมิภาค (หน่วยงาน)
ส่วนราชการ
ในภูมิภาค
ระดับจังหวัด (หน่วยงาน)
รวม (หน่วยงาน)การจัดสรร (อัตรา)
กระทรวงการคลัง205
2051,045
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา7676406
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์7676406
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์103003101,644
กระทรวงคมนาคม2976105546
กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม7676406
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม7676406
กระทรวงพลังงาน7676406
กระทรวงมหาดไทย2282281,218
กระทรวงยุติธรรม9494505
กระทรวงแรงงาน253043291,774
กระทรวงวัฒนธรรม7676406
กระทรวงสาธารณสุข7676406
กระทรวงอุตสาหกรรม7676406
รวมทั้งสิ้น10,000

แนวทางการจัดสรรกรอบอัตรากำลังพนักงานราชการเฉพาะกิจให้ยกเว้นการดำเนินการจัดทำกรอบอัตรากำลังพนักงานราชการ ในข้อ 16 และข้อ 17 ตามประกาศคณะกรรมการบริหารพนักงานราชการ เรื่อง การกำหนดลักษณะงานและคุณสมบัติเฉพาะของกลุ่มงานและการจัดทำกรอบอัตรากำลังพนักงานราชการ พ.ศ. 2554 [เป็นการยกเว้นการดำเนินการตามประกาศฯ ที่กำหนดให้ส่วนราชการจัดทำกรอบอัตรากำลัง แต่ในครั้งนี้ คพร. ได้พิจารณาจัดสรรกรอบอัตรากำลังให้แก่ส่วนราชการเอง โดยส่วนราชการไม่ได้เป็นผู้เสนอขอกรอบอัตรากำลัง] โดยมีรายละเอียดการดำเนินการสรุปได้ ดังนี้

ประเด็นรายละเอียดการดำเนินการ
1) หลักเกณฑ์การพิจารณาจัดสรรกรอบอัตรากำลังให้แก่ส่วนราชการ– เป็นหน่วยงานในราชการบริหารส่วนภูมิภาค ระดับจังหวัด หรือหน่วยงานในราชการบริหารส่วนกลางที่ตั้งอยู่ในภูมิภาคที่เป็นหน่วยปฏิบัติ รวม 14 กระทรวง (28 ส่วนราชการ) ซึ่งมีภารกิจ/งานที่สามารถปฏิบัติให้แล้วเสร็จได้ภายในระยะเวลา 1 ปี
– เป็นส่วนราชการที่มีภารกิจสำคัญ เร่งด่วน ที่ส่งผลต่อการแก้ไขปัญหาด้านเศรษฐกิจ สังคม และความมั่นคง รวมทั้งส่วนราชการที่ให้บริการประชาชน
– พิจารณาตามขนาดของจังหวัด (ขนาดเล็ก ขนาดกลาง และขนาดใหญ่) เพื่อให้เกิดการกระจายการจ้างงานและสอดคล้องกับพื้นที่
– ให้ส่วนราชการที่ได้รับจัดสรรกรอบอัตรากำลังพนักงานราชการเฉพาะกิจสามารถเกลี่ยกรอบอัตรากำลังระหว่างหน่วยงานในราชการบริหารส่วนภูมิภาคระดับจังหวัด หรือหน่วยงานในราชการบริหารส่วนกลางที่ตั้งอยู่ในภูมิภาคที่เป็นหน่วยปฏิบัติตามที่ คพร. มีมติอนุมัติ เพื่อให้สอดคล้องกับภาระงานที่ต้องปฏิบัติโดยจะต้องรายงานการจัดสรรและการจ้างพนักงานราชการเฉพาะกิจให้ทันตามกำหนดระยะเวลาที่ คพร. กำหนดด้วย
– เพื่อให้การบริหารจัดการกรอบอัตรากำลังพนักงานราชการเฉพาะกิจเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ กรณีที่ส่วนราชการไม่สามารถดำเนินการได้ในกรณีใดหรือมีเหตุจำเป็นเร่งด่วนอื่นใด ให้เป็นอำนาจของ คพร. ในการพิจารณาเห็นชอบแนวทางดำเนินการ หรือกลไกการบริหารจัดการได้ โดยไม่ต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณา
– ให้นำคำขอรับการจัดสรรกรอบอัตรากำลังพนักงานราชการ รอบที่ 5 (ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 – 2567) ของส่วนราชการต่าง ๆ [คณะรัฐมนตรีมีมติ (26 มกราคม 2564) รับทราบ] และลักษณะงานที่ปฏิบัติ รวมทั้งจำนวนอัตรากำลังตามโครงสร้างของหน่วยงานในภูมิภาคมาใช้ประกอบการพิจารณา
2) การกำหนดกลุ่มเป้าหมายและคุณสมบัติของผู้สมัครพิจารณาจัดสรรกรอบอัตรากำลังเฉพาะในกลุ่มงานบริหารทั่วไป เพื่อให้สอดคล้องกับกลุ่มเป้าหมายและคุณสมบัติของผู้สมัครที่กำหนดว่า “จะต้องเป็นผู้สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรี” [กำหนดตามประกาศคณะกรรมการบริหารพนักงานราชการ เรื่อง การกำหนดลักษณะงานและคุณสมบัติเฉพาะของกลุ่มงานและการจัดทำกรอบอัตรากำลังพนักงานราชการ พ.ศ. 2554]

3.2 การสรรหาและการจ้างงาน

ประเด็นรายละเอียดการดำเนินการ
1) การสรรหาและเลือกสรรพนักงานราชการเฉพาะกิจ ให้ยกเว้นการดำเนินการตามประกาศคณะกรรมการบริหารพนักงานราชการ เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการสรรหาและการเลือกสรรพนักงานราชการ และแบบสัญญาจ้างของพนักงานราชการ พ.ศ. 2552 [เป็นการยกเว้นการดำเนินการตามประกาศฯ เฉพาะในส่วนของข้อ 6 (1) วรรคหนึ่ง ที่กำหนดให้ระบุรายละเอียดเกี่ยวกับเรื่องต่าง ๆ ในการรับสมัคร เช่น ลักษณะงาน กลุ่มงานตามลักษณะงาน เป็นต้น แต่ในครั้งนี้สามารถระบุรายละเอียดดังกล่าวได้อย่างกว้าง ๆ และข้อ 8 วรรคหนึ่ง ที่กำหนดให้บัญชีรายชื่อผู้ผ่านการเลือกสรรมีอายุต้องไม่เกิน  2 ปี แต่ในครั้งนี้บัญชีรายชื่อพนักงานราชการดังกล่าว ให้มีอายุไม่เกิน 1 ปี สรุปได้ ดังนี้
– การประกาศรับสมัคร

– การขึ้นบัญชีรายชื่อผู้ผ่านการเลือกสรร

– ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการสรรหาและเลือกสรรพนักงานราชการเฉพาะกิจ

– จัดทำประกาศรับสมัคร ซึ่งมีรายละเอียดเกี่ยวกับลักษณะงาน กลุ่มงานตามลักษณะงาน ชื่อตำแหน่ง ความรับผิดชอบของตำแหน่ง ระยะเวลาการจ้าง ค่าตอบแทนที่จะได้รับ คุณสมบัติของผู้มีสิทธิสมัคร และเงื่อนไขการจ้างอื่น ๆ ตลอดจนกำหนดวันและเวลาของกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยอาจระบุหลักเกณฑ์และวิธีการสรรหาและเลือกสรรไว้ในประกาศรับสมัครไว้อย่างกว้าง ๆ (เช่น วิธีการประเมินความรู้ ความสามารถ และทักษะ/สมรรถนะ เป็นต้น) อาจเลือกใช้วิธีใดวิธีหนึ่งหรือหลายวิธี (เช่น การสอบข้อเขียน การสัมภาษณ์ การทดสอบการปฏิบัติ และการพิจารณาแฟ้มผลงาน เป็นต้น) ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับจำนวนผู้สมัคร เพื่อให้ส่วนราชการพิจารณากำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการสรรหาให้เหมาะสมกับจำนวนผู้สมัครได้
– ประกาศรับสมัคร สรรหา และบรรจุบุคคลเข้าเป็นพนักงานราชการตามจำนวนกรอบอัตรากำลังพนักงานราชการฯ ที่ได้รับการจัดสรร โดยให้กำหนดอายุบัญชีไม่เกิน 1 ปี โดยไม่เกินวันที่ 30 กันยายน 2565 ทั้งนี้ บัญชีดังกล่าวกำหนดให้ใช้สำหรับการบรรจุพนักงานราชการเฉพาะกิจเท่านั้น
– อาจดำเนินการสรรหาและเลือกสรรขึ้นกับความพร้อมของส่วนราชการ ได้แก่ (1) ส่วนราชการดำเนินการเอง (2) ส่วนราชการมอบอำนาจให้หน่วยงานประจำจังหวัดดำเนินการ และ (3) หน่วยงานประจำจังหวัดร่วมกับสำนักงานจังหวัดของแต่ละจังหวัดบูรณาการการทำงาน โดยกำหนดวันประกาศและรับสมัครในช่วงระยะเวลาเดียวกันและจัดทำบัญชีแนบท้ายประกาศรับสมัครจากทุกหน่วยงานในคราวเดียวกัน เพื่อให้ผู้สมัครเลือกสมัครในหน่วยงานใดก็ได้ที่มีคุณสมบัติตรงตามประกาศรับสมัคร ทั้งนี้ อาจขอความร่วมมือจากกระทรวงมหาดไทยเพื่อชี้แจงทำความเข้าใจและเตรียมพร้อมในการประกาศเผยแพร่และรับสมัครพนักงานราชการเฉพาะกิจพร้อมกันทั่วประเทศ
2) การทำสัญญาจ้างพนักงานราชการฯ– ไม่เกิน 1 ปี นับตั้งแต่วันที่ทำสัญญาจ้าง หรือไม่เกินวันที่ 30 กันยายน 2565 ตามที่ คพร. กำหนด และไม่มีการต่อสัญญาจ้าง
– ให้สรรหาพนักงานราชการเฉพาะกิจรายใหม่ได้ในกรณีที่ตำแหน่งว่างลงระหว่างปี และยังไม่ครบระยะเวลาสิ้นสุดของกรอบอัตรากำลัง โดยมีระยะเวลาที่เหลือจะต้องไม่น้อยกว่า 1 เดือน นับถึงวันสิ้นสุดระยะเวลาของกรอบอัตรากำลังพนักงานราชการเฉพาะกิจ ณ วันที่ 30 กันยายน 2565
3) การติดตามการจ้างงาน– ให้รายงานผลการจ้างงาน ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2564 พร้อมทั้ง
สภาพปัญหาและอุปสรรคที่ทำให้ไม่สามารถจ้างพนักงานราชการเฉพาะกิจได้มายังสำนักงาน ก.พ. ภายในวันที่ 16 กรกฎาคม 2564 เพื่อฝ่ายเลขานุการ คพร. จะได้รวบรวมเสนอ คพร. ทราบต่อไป
4) การประเมินผลการปฏิบัติงาน– เมื่อครบรอบการประเมิน ให้ส่วนราชการพิจารณาผลงานและพฤติกรรมการปฏิบัติงานของพนักงานราชการ หากไม่เหมาะสมหรือไม่เป็นไปตามระเบียบที่เกี่ยวข้อง (เช่น ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยพนักงานราชการ พ.ศ. 2547 และที่แก้ไขเพิ่มเติม) อาจเลิกจ้างได้ทันที
5) เงื่อนไขการจ้างงาน– เป็นไปตามที่ คพร. กำหนด เช่น (1) กรอบอัตรากำลังพนักงานราชการเฉพาะกิจถือเป็นกรอบอัตรากำลังเฉพาะกิจจะไม่นำไปรวมกับกรอบอัตรากำลังพนักงานราชการปกติหรือกรอบอัตรากำลังพนักงานราชการเพื่อรองรับการทดแทนอัตราว่างจากผลการเกษียณอายุของข้าราชการด้วยการจ้างงานรูปแบบอื่น ทั้งนี้ เมื่อสิ้นสุดระยะเวลาการจ้าง ณ วันที่ 30 กันยายน 2565 ให้ส่วนราชการยุบเลิกกรอบอัตรากำลังดังกล่าวทันที (2) ห้ามเปลี่ยนแปลงกลุ่มงานใด ๆ ทุกกรณี (3) พนักงานราชการที่ได้รับการจัดสรรในครั้งนี้ไม่สามารถเรียกร้องหรือขอปรับเปลี่ยนสถานภาพเป็นบุคลากรภาครัฐประเภทอื่น และ (4) สิทธิประโยชน์ของพนักงานราชการตามกรอบอัตรากำลังพนักงานราชการเฉพาะกิจ ให้เป็นไปตามที่ คพร. กำหนด

3.3 ค่าตอบแทนและสิทธิประโยชน์

ประเด็นรายละเอียดของการดำเนินการ
1) การกำหนดค่าตอบแทน– ให้ได้รับค่าตอบแทน 18,000 บาทต่อเดือน ตลอดสัญญาการจ้างงาน [กำหนดตามบัญชีค่าตอบแทนพนักงานราชการในอัตราแรกบรรจุของกลุ่มงานบริหารทั่วไป คุณวุฒิปริญญาตรี ตามนัยประกาศคณะกรรมการบริหารพนักงานราชการ เรื่อง ค่าตอบแทนของพนักงานราชการ (ฉบับที่ 9)  พ.ศ. 2561]
2) การให้ได้รับสิทธิประโยชน์– ให้ดำเนินการตามประกาศคณะกรรมการบริหารพนักงานราชการ เรื่อง สิทธิประโยชน์ของพนักงานราชการ พ.ศ. 2554 และที่แก้ไขเพิ่มเติม โดยยกเว้นเฉพาะในส่วนของสิทธิการลาเพื่อไปอุปสมบท หรือประกอบพิธีฮัจญ์ ซึ่งกำหนดไว้ไม่เกิน 120 วัน

แผนการดำเนินการ
4.1 สำนักงาน ก.พ. แจ้งผลการจัดสรรกรอบอัตรากำลังพนักงานราชการเฉพาะกิจ ภายในกลางเดือนพฤษภาคม 2564 และให้ส่วนราชการทำความตกลงกับสำนักงบประมาณ (สงป.)
4.2 ส่วนราชการเริ่มดำเนินการสรรหาบุคคลเพื่อจ้างเป็นพนักงานราชการเฉพาะกิจ ระหว่างเดือนพฤษภาคม – มิถุนายน 2564
4.3 ส่วนราชการรายงานผลการจ้างงาน ภายในวันที่ 16 กรกฎาคม 2564
4.4 ส่วนราชการรายงานผลสัมฤทธิ์ของการจ้างงาน (ผลผลิต/ผลลัพธ์ของงาน) ภายในวันที่ 30 กันยายน 2565

งบประมาณและแหล่งเงินที่ใช้ในการดำเนินการ
 ใช้จ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น วงเงิน 2,254.32 ล้านบาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการจ้างพนักงานราชการเฉพาะกิจ จำนวน 10,000 อัตรา สรุปได้ ดังนี้

รายการค่าใช้จ่ายในการจ้างพนักงานราชการเฉพาะกิจ
บาท/คนล้านบาท/เดือนล้านบาท/ปี
1) ค่าตอบแทนพนักงานราชการ18,0001802,160
2) เงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคม7507.590
3) เงินสมทบเข้ากองทุนเงินทดแทน360.364.32
รวมเป็นเงินทั้งสิ้น18,768187.862,254.32


สงป.
 แจ้งว่า นายกรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบให้หน่วยรับงบประมาณใช้จ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็นภายใต้กรอบวงเงินดังกล่าว โดย สงป. มีความเห็นเพิ่มเติม ดังนี้
6.1 ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องซึ่งมีฐานะเป็นหน่วยรับงบประมาณตามกฎหมายวิธีการงบประมาณและรับผิดชอบการจ้างพนักงานราชการเฉพาะกิจดังกล่าวเป็นผู้เสนอขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น ตามขั้นตอนของระเบียบต่อไป
6.2  ให้หน่วยรับงบประมาณที่เกี่ยวข้องเร่งดำเนินการให้เป็นไปตามขั้นตอน วิธีดำเนินการจ้างพนักงานราชการ และแผนการดำเนินงานที่ คพร. มีมติเห็นชอบเมื่อวันที่ 19 เมษายน 2564 อย่างเคร่งครัด โดยปรับแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณภายใต้แผนงานบุคลากรภาครัฐของแต่ละหน่วยรับงบประมาณก่อนเป็นลำดับแรก  รวมทั้งจัดทำแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ เพื่อขอทำความตกลงในรายละเอียดกับ สงป. ตามขั้นตอนต่อไป ตลอดจนเร่งดำเนินการจ้างพนักงานราชการเฉพาะกิจให้แล้วเสร็จภายในเดือนสิงหาคม 2564 โดยคำนึงประโยชน์สูงสุดของทางราชการและประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับ และเห็นสมควรให้สำนักงาน ก.พ. ในฐานะฝ่ายเลขานุการ คพร. ติดตามประเมินผลการดำเนินการ รวมถึงสรุปผลสัมฤทธิ์ ที่ได้รับจากการดำเนินการจ้างและรายงานผลการดำเนินการต่อคณะรัฐมนตรีต่อไปด้วย

ที่มา : รัฐบาลไทย/กรมประชาสัมพันธ์

เรื่องอื่นๆที่น่าสนใจ

Back to top button