ข่าวการศึกษา

คำราชาศัพท์ ที่ใช้สำหรับพระมหากษัตริย์ พระภิกษุ ในสังคมไทย ทุกหมวด พร้อมกับคำแปลหรือความหมาย

คำราชาศัพท์ ที่ใช้สำหรับพระมหากษัตริย์ พระภิกษุในสังคมไทย ทุกหมวด พร้อมกับคำแปลหรือความหมาย

คำราชาศัพท์ ที่ใช้สำหรับบุคคลสำคัญต่างของสังคมไทย เว็บไซต์ รักครู.com ได้รวบรวม เช่น คำราชาศัพท์สำหรับพระมหากษัตริย์ คำราชาศัพท์สำหรับพระบรมวงศานุวงศ์  คำราชาศัพท์สำหรับพระสังฆราช คำราชาศัพท์สำหรับพระราชาคณะ คำราชาศัพท์สำหรับพระภิกษุ โดยสามารถแบ่งเป็นหมวดหมู่ต่างๆ ได้หลายหมวดหมู่ ด้วยกันคือ

คำราชาศัพท์หมวดเครื่องใช้ คำราชาศัพท์หมวดร่างกาย คำราชาศัพท์หมวดอาหาร คำราชาศัพท์หมวดเครือญาติ คำราชาศัพท์หมวดกริยา คำราชาศัพท์หมวดสรรพนาม

ติดตามข่าวอื่น ๆ ได้ที่เพจ : https://www.facebook.com/rukkroo

ความหมายของคำราชาศัพท์

คำราชาศัพท์ คือ คำสุภาพที่ใช้ให้เหมาะสมกับฐานะของบุคคลต่างๆ คำราชาศัพท์เป็นการกำหนดคำและภาษาที่สะท้อนให้เห็นถึงวัฒนธรรมอันดีงามของไทย แม้คำราชาศัพท์จะมีโอกาสใช้ในชีวิตน้อย แต่เป็นสิ่งที่แสดงถึงความละเอียดอ่อนของภาษาไทยที่มีคำหลายรูปหลายเสียงในความหมายเดียวกัน และเป็น ลักษณะพิเศษของภาษาไทย โดยเฉพาะ

คำราชาศัพท์ใช้กับบุคคลใด

คำราชาศัพท์ใช้กับบุคคลกลุ่มต่างๆ ดังต่อไปนี้
1.  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ
2.  พระบรมวงศานุวงศ์
3.  พระภิกษุสงฆ์ สามเณร
4.  ขุนนาง ข้าราชการ
5.  สุภาพชน

ที่มาของคำราชาศัพท์

คำราชาศัพท์ นั้น มีที่มาอยู่ 2 อย่าง คือ
1.  รับมาจากภาษาอื่น ภาษาเขมร เช่น โปรด เขนย เสวย เสด็จ เป็นต้น ภาษาบาลี-สันสกฤต เช่น อาพาธ เนตร หัตถ์ โอรส  เป็นต้น
2.  การสร้างคำขึ้นใหม่ โดยการประสมคำ เช่น ลูกหลวงซับพระพักตร์ ตั้งเครื่อง เป็นต้น

ภาษาที่ใช้คำราชาศัพท์

คำราชาศัพท์ไม่ได้มีที่มาจากภาษาไทยภาษาเดียว ด้วยว่าการใช้คำราชาศัพท์เป็นการใช้ด้วยตั้งใจ จะทำให้เกิดความรู้สึกยกย่อง เทิดทูน จึงได้เจาะจงรับคำในภาษาต่างๆ ที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับไทยมาใช้เป็นพิเศษ โดยเฉพาะภาษาที่นับถือกันว่าเป็นภาษาสูงและศักดิ์สิทธิ์ คำราชาศัพท์ส่วนใหญ่จึงมีที่มาจากภาษาต่างประเทศมากมาย

อย่างไรก็ตามก็ยังมีคำราชาศัพท์จำนวนไม่น้อยที่ใช้คำภาษาไทยแท้ ซึ่งเป็นคำสามัญยกระดับขึ้นเป็น คำราชาศัพท์ ดังนั้นจึงอาจกล่าวได้ว่าคำราชาศัพท์นั้นมีที่มาจากทั้งภาษาต่างประเทศและภาษาไทยของเราเอง

ตั้งแต่สมัยโบราณมา คนไทยได้ติดต่อกับคนต่างชาติต่างภาษามากมาย ในบรรดาภาษาทั้งหลายเหล่านั้น มีบางภาษาที่เรายกย่องกันว่าเป็นภาษาสูงและศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งก็ได้แก่ ภาษาเขมร บาลี และสันกฤต ภาษาอื่นๆก็นำมาใช้เป็นคำราชาศัพท์บ้าง แต่ก็ไม่มากและสังเกตได้ชัดเจนเท่า 3 ภาษาที่กล่าวแล้ว

หมวดหมู่ของคำราชาศัพท์

  1. คำราชาศัพท์หมวดเครื่องใช้
  2. คำราชาศัพท์หมวดร่างกาย
  3. คำราชาศัพท์หมวดอาหาร
  4. คำราชาศัพท์หมวดเครือญาติ ราชตระกูล
  5. คำราชาศัพท์หมวดกริยา
  6. คำราชาศัพท์หมวดสรรพนาม
  7. คำราชาศัพท์หมวดพระสงฆ์

คำราชาศัพท์หมวดเครื่องใช้

พระวิสูตรหรือพระสูตร หมายถึง ม่านหรือมุ้ง
พระเขนย หมายถึง หมอน
พระทวาร หมายถึง ประตู
พระบัญชร หมายถึง หน้าต่าง
พระสุวรรณภิงคาร หมายถึง คนโทน้ำ
ฉลองพระหัตถ์ช้อน หมายถึง ช้อน
ฉลองพระหัตถ์ส้อม หมายถึง ส้อม
ฉลองพระหัตถ์ตะเกียบ หมายถึง ตะเกียบ
แก้วน้ำเสวย หมายถึง แก้วน้ำ
พระสาง หมายถึง หวี
พระแสงกรรบิด หมายถึง มีดโกน
ซับพระองค์ หมายถึง ผ้าเช็ดตัว
ซับพระพักตร์ หมายถึง ผ้าเช็ดหน้า
ผ้าพันพระศอ หมายถึง ผ้าพันคอ
พระภูษา หมายถึง ผ้านุ่ง
นาฬิกาข้อพระหัตถ์ หมายถึง นาฬิกาข้อมือ
พระฉาย หมายถึง กระจกส่อง
ธารพระกร หมายถึง ไม้เท้า
พระแท่นบรรทม หมายถึง เตียงนอน
พระราชอาสน์ หมายถึง ที่นั่ง
โต๊ะทรงพระอักษร หมายถึง โต๊ะเขียนหนังสือ
พระราชหัตถเลขา หมายถึง จดหมาย
ฉลองพระเนตร หมายถึง แว่นตา
พระที่นั่งเก้าอี้หรือเก้าอี้ประทับ หมายถึง เก้าอี้นั่ง
พระเขนย หมายถึง หมอนหนุน
เครื่องพระสุคนธ์ หมายถึง เครื่องหอม เช่น น้ำหอม แป้งผัดหน้า
เครื่องพระสำอาง หมายถึง เครื่องประทินผิวหรือเครื่องสำอาง
อ่างสรง หมายถึง อ่างอาบน้ำ
กระเป๋าทรง หมายถึง กระเป๋าถือ
พระแสงปนาค หมายถึง กรรไกร
พระวิสูตรหรือพระสูตร หมายถึง ม่านหรือมุ้ง
พระเขนย หมายถึง หมอน
พระทวาร หมายถึง ประตู
พระบัญชร หมายถึง หน้าต่าง
พระสุวรรณภิงคาร หมายถึง คนโทน้ำ
ฉลองพระหัตถ์ช้อน หมายถึง ช้อน
ฉลองพระหัตถ์ส้อม หมายถึง ส้อม
ฉลองพระหัตถ์ตะเกียบ หมายถึง ตะเกียบ
แก้วน้ำเสวย หมายถึง แก้วน้ำ
พระสาง หมายถึง หวี
พระแสงกรรบิด หมายถึง มีดโกน
ซับพระองค์ หมายถึง ผ้าเช็ดตัว
ซับพระพักตร์ หมายถึง ผ้าเช็ดหน้า
ผ้าพันพระศอ หมายถึง ผ้าพันคอ
พระภูษา หมายถึง ผ้านุ่ง
นาฬิกาข้อพระหัตถ์ หมายถึง นาฬิกาข้อมือ
พระฉาย หมายถึง กระจกส่อง
ธารพระกร หมายถึง ไม้เท้า
พระแท่นบรรทม หมายถึง เตียงนอน
พระราชอาสน์ หมายถึง ที่นั่ง
โต๊ะทรงพระอักษร หมายถึง โต๊ะเขียนหนังสือ
พระราชหัตถเลขา หมายถึง จดหมาย
ฉลองพระเนตร หมายถึง แว่นตา
พระที่นั่งเก้าอี้หรือเก้าอี้ประทับ หมายถึง เก้าอี้นั่ง
พระเขนย หมายถึง หมอนหนุน
เครื่องพระสุคนธ์ หมายถึง เครื่องหอม เช่น น้ำหอม แป้งผัดหน้า
เครื่องพระสำอาง หมายถึง เครื่องประทินผิวหรือเครื่องสำอาง
อ่างสรง หมายถึง อ่างอาบน้ำ
กระเป๋าทรง หมายถึง กระเป๋าถือ
พระแสงปนาค หมายถึง กรรไกร

เรื่องอื่นๆที่น่าสนใจ

Back to top button