การเรียนการสอน

ครูนอกกรอบกับห้องเรียนนอกแบบ : สรรพวิธีและสารพัดลูกบ้าในห้อง 56″ (Teach Like Your Hairs? on Fire: The Mehods and Madness inside Room 56 ) – รูเรฟ เอสควิท

ครูนอกกรอบกับห้องเรียนนอกแบบ : สรรพวิธีและสารพัดลูกบ้าในห้อง 56″ (Teach Like Your Hairs? on Fire: The Mehods and Madness inside Room 56 ) – รูเรฟ เอสควิท

174506r89p25f7578mpm2m

ติดตามข่าวอื่น ๆ ได้ที่เพจ : https://www.facebook.com/rukkroo

ในฐานะครูประจำชั้นประถม 5 ของโรงเรียนรัฐบาลแห่งหนึ่งกลางนครลอสแอนเจลีส ที่ซึ่งเขาสอนเด็กๆ จากครอบครัวผู้อพยพยากจนให้รู้จักบทละครเชกสเปียร์ เล่นดนตรีของวีวัลดี(Vivaldi) และร็อกแอนด์โรล ควบคู่ไปกับการเรียนคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ภูมิศาสตร์และประวัติศาสตร์ อย่างเข้มข้น จนเข้ามหาวิทยาลัยชั้นนำของประเทศได้
แต่สิ่งที่ครูเรฟให้ความสำคัญมากที่สุดคือ การปลูกฝังเด็กๆ ให้เติบโตเป็นคนดีมีคุณธรรม

เรฟ เอสควิท เล่าเรื่องด้วยภาษาง่ายๆ และเต็มไปด้วยอารมณ์ขัน เขาไม่เพียงแนะเทคนิคที่เขาพบว่าใช้ได้ผลดีในการอบรมเด็กๆ สำหรับครูและพ่อแม่ผู้ปกครองเท่านั้น แต่ยังสร้างแรงบันดาลใจและกำลังใจแก่เพื่อนร่วมอาชีพให้มีศรัทธาในสิ่งที่พวกเขากำลังทำในฐานะครู นั่นคือการสร้างคนดีมีคุณภาพให้แก่สังคม

สำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน (สสค.) ได้นำหลักการคิดของ เรฟ เอสควิท (Rafe Esquith) ครูประถมในสหรัฐอมริกามาประยุกต์ให้เห็นบทบาทและภาพที่ชัดของครูสอนดีไว้ 6 ประการด้วยกัน
ประการแรก หากครูต้องการให้เด็กขยัน เอาจริงเอาจังและตั้งใจเรียน ครูต้องทำให้เห็นว่าครูก็ขยัน เอาจริงเอาจังและตั้งใจสอนไม่ต่างกัน
ประการที่ 2 การสอบสำคัญก็จริง แต่ไม่สำคัญเท่ากับการที่ช่วยเด็กให้เติบโตเป็นคนที่เข้มแข็งและมีคุณค่า
ประการที่ 3 การเรียนการสอนต้องเป็นแบบบูรณาการทักษะต่างๆ ต้องเป็นประโยชน์ในชีวิตจริง ไม่ใช่เพียงเพื่อคะแนนสอบ
ประการ่ที่ 4 เด็กๆ จะกลายเป็นนักอ่านตลอดชีวิต หากเขาได้อ่านหนังสือดีๆ ที่ทำให้เขาร้องไห้หรือหัวเราะไปกับตัวละครได้
ประการที่ 5 ศิลปะแทบทุกแขนงเป็นเครื่องมือวิเศษในการสอนเด็กๆ ศิลปะเปิดโอกาสให้เด็กๆ รักษาความเป็นตัวของตัวเองในท่ามกลางสังคมที่สนใจแต่มาตรฐาน
ประการที่ 6 การสอนเปรียบเสมือนเป็นการเดินทางไกลที่ทรหดและยาวนาน แต่อย่าท้อถอยหรือล้มเลิกง่ายๆ ไม่มีทางลัดใดๆ (There Are No Shortcuts) ในการสร้างเยาวชนที่มีคุณภาพ

เรฟ เอสควิท คือ ครูประถมศึกษาโฮบาร์ตในสหรัฐอเมริกาที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 ในสหรัฐอเมริกา เขาปฏิเสธงานที่เสนอเงินเดือนมากกว่าถึงสี่เท่า เพียงเพื่อจะได้อยู่ในที่ๆ เด็กๆ ต้องการเขาสิ่งที่ได้พบเห็นในโรงเรียนแห่งนี้ทำให้ครูเรฟสะเทือนใจอย่างมาก

เด็กร้อยละ 90 มาจากครอบครัวผู้อพยพเชื้อสายลาตินและเกาหลี มีความเป็นอยู่ต่ำกว่าระดับความยากจนและไม่มีใครพูดภาษาอังกฤษเป็นภาษาแม่ อาศัยในย่านเสื่อมโทรม ที่เด็กสิบขวบบางคนพกอาวุธปืนมาโรงเรียน ส่วนแก๊งอันธพาลและยาเสพติดเป็นเรื่องที่พบเห็นเป็นเรื่องปกติในชีวิต

เด็กที่จบจากชั้นประถมเพียงร้อยละ 30 เท่านั้นที่อาจจะได้เรียนต่อจนจบมัธยมปลาย

“ผมทำใจไม่ได้ที่พบว่า ดินแดนที่เราเชื่อว่าเป็นดินแดนแห่งความเสมอภาคนี้ ความจริงแล้วไม่ได้เป็นเช่นนั้น” ด้วยเหตุนี้ “ผมจึงทำทุกอย่างเพื่อให้เด็กทุกคนได้รับโอกาสเท่าเทียมกันอย่างที่ รัฐธรรมนูญของเราให้คำมั่นไว้”

ในหนึ่งวันของครูเรฟยาวนานกว่าของครูคนอื่นๆ เขาเริ่มสอนตั้งแต่ 06:30 น. และสอนไม่หยุดจนกระทั่งเวลา 5 หรือ 6 โมงเย็น เด็กๆ ของครูเรฟก็เช่นเดียวกัน พวกเขาทำงานหนัก หลายคนสมัครใจมาเรียนก่อนนักเรียนห้องอื่นๆ ในโรงเรียนถึงสองชั่วโมง

พวกเขาเต็มใจที่จะมาเรียนแต่เช้า ฝึกซ้อมระหว่างเวลาหยุดพักทำงานอยู่จนเย็นและมาโรงเรียนในวันนหยุด โดยยอมแลกกับเวลาดูทีวีและเล่นนวิดีโอเกมตามที่สัญญาไว้กับครู
การที่ครูเรฟใช้เวลาอยู่กับเด็กๆ มากกว่าชั่วโมงเรียนตามปกติทำให้เขาขาสอนวิชาต่างๆ ที่จะต้องมีการการทดสอบมาตรฐานและสอนสิ่งที่เขารักเป็นเป็นชีวิตจิตใจ เชกสเปียร์, มาร์ก ทเวน และเบสบอล ควบคู่กันไปอย่างได้ผล

เขามีปรัชญาการสอนที่สะท้อนให้เห็นถึงความเข้าใจในธรรมชาติของเด็กและการให้เด็กเป็นศูนย์กลางของการเรียนการสอนอย่างแท้จริง ครูเรฟคิดค้นแนวการเรียนการสอนแบบใหม่ว่า ห้องเรียนต้องเป็นที่ๆ เด็กได้เรียนรู้และสนุกสนานไปพร้อมๆ กัน

ความตั้งใจจริงกับการเรียนรู้ความต้องการของเด็กนำมาประยุกต์การเรียนสอนในแบบฉบับของตัวเอง ทำให้ลูกศิษย์ของครูเรฟเป็นนักอ่านตัวยง พวกเขารักการอ่านเป็นชีวิตจิตใจ พวกเขาอ่านวรรณกรรมชั้นยอดปีละหลายสิบเล่ม พวกเขาไม่เพียงอ่านบทละครของเชกสเปียร์ แต่ยังสามารถเข้าถึงจิตวิญญาณของตัวละครได้อย่างน่าทึ่ง

เด็กนักเรียนของครูเรฟหรือคณะละครเชกสเปียร์แห่งโฮบาร์ตตามที่คนทั่วไปรู้จัก จะฝึกซ้อมอย่างหนักนานหลายเดือนก่อนเปิดการแสดงในเดือนมิถุนายนของทุกปี คณะละครน้อยนี้ไม่เพียงแต่โด่งดังไปทั่วประเทศ แต่มีชื่อเสียงไปถึงยุโรป รู้จักในนามละครเชกสเปียร์แต่ละเรื่องที่ห้อง 56

ตัวอย่างการเรียนการสอนของครูเรฟและนักเรียน..
ความล้มเหลวเป็นเรื่องดี
เมื่อ 2-3 ปีก่อน กลุ่มครูหนุ่มสาวจากโรงเรียนในการกำกับของรัญ(charter school) ซึ่งเป็นโรงเรียนที่มีความคล่องตัวในการบริหารจัดการแห่งหนึ่งมาใช้เวลาทั้งวันที่ห้อง 56 ครูเหล่านี้ยอดเยี่ยมมากพวกเขาทั้งกระตือรือร้น ฉลาด และเอาใขใส่ อย่างไรก็ได้ ผมสังเกตเห็นว่าแนวทางการสอนของพวกเขามีข้อผิดพลาดที่สำคัญอยู่อย่างหนึ่ง พวกเขามีความปรารถนาอย่างแรงกล้าที่จะช่วยให้เด็กรู้สึกดีกับตัวเองเสียจน ไม่ยอมให้นักเรียนตอบผิดหรือรับผิดชอบอะไรเลย
สัปดาห์นั้นเราทำจรวดกัน นักเรียนของผมทำงานเป็นกลุ่มๆ ละ 4 คน แต่ละกลุ่มทำจรวดโมเดลแบบไวกิง คู่มือ และวัสดุใช้ในการประกอบจรวด สิ่งที่ท้าทายสำหรับแต่ละทีมคือ การวัดขนาด วางแผน และประกอบจรวดอย่างถูกต้องแม่นยำ มีกลุ่มหนึ่งที่พยายามมากแต่ผิดพลาดในการจัดวางหัวจรวด ครู 2-3 คนคอยเข้าไปช่วยเด็ก เพื่อแสดงให้ดูว่าจะประกอบจรวดอย่างไรให้ถูกต้อง มีหลายครั้งทีเดียวที่ผมต้องขอร้องอย่างสุภาพแต่หนักแน่นให้อาคันตุกะเหล่า นั้นปล่อยให้เด็กทำเอง
ครู:  (กระซิบ) คุณไม่เข้าใจ เรฟ เด็กทำไม่ถูก
เรฟ: ผมเข้าใจ
ครู:  ปีกมันบิดนะ
เรฟ: ใช่
ครู:  ปุ่มปล่อยจรวด ก็ติดกาวใกล้ส่วนหัวเกินไป
เรฟ: ใช่
ครู:  จรวดมันยิงไม่ขึ้นน่ะสิ
เรฟ: ที่แรกก็งี้แหละ…
ครู: แต่….
เรฟ: แล้วในกลุ่มเขาก็จะคิดค้นกันเองแหละว่าทำไมจรวดมันถึงไม่ขึ้น เด็กๆ จะกลับมาที่ห้องแล้วช่วยกันขบคิด นี่เป็นสิ่งที่นักวิทยาศาสตร์ทำตลอดเวลา
เป็นเรื่องราวสำคัญที่ต้องจำไว้ว่า ครูอย่างเราให้คำจำกัดความคำว่า ล้มเหลว ต่างกันออกไปในห้องเรียน 56 จรวดที่บินไม่ขึ้นไม่ใช่ความล้มเหลว ความล้มเหลวจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อเด็กนักเรียนละความพยายามที่จะแก้ปัญหา มันอาจจะแก้ได้ใน 5 นาที หรืออาจใช้เวลา 2 เดือน อย่างในกรณีที่นักเรียนของผมพยายามสร้างรถไฟเหาะขนาดยักษ์ แต่ไม่สามารถสร้างทางโค้งที่มีแรงสู่ศูนย์กลางมากพอจะทำให้รถเคลื่อนไปตามรางอย่างปลอดภัยได้ แต่สองเดือนของการทดลองที่ล้มเหลวกลับเป็นเวลาที่เด็กๆ ได้อัศจรรย์ใจและสนุกตื่นเต้นกับวิทยาศาสตร์มากที่สุดในปีนั้นและเมื่อรถไฟ เหาะใช้การได้ในที่สุด เด็กๆ ก็พูดได้เต็มปากว่าพวกเขาทำด้วยตัวเอง พวกเขาเข้าใจฟิสิกส์ของรถไฟเหาะ ผมสอนได้ดีที่สุดในช่วงสองเดือนนั้นด้วยการเย็บปากตัวเองสนิทและปล่อยให้เด็กๆ ทำเอง

สอนคณิตฯ (ทักษะในการทำข้อสอบ)
ไม่มีใครอยากดูโง่ ทุกคนชอบความรู้สึกว่าตนฉลาด เช่นเดียวกัน แต่ละวันในชั่วโมงคณิตศาสตร์ ผมจะคิดเวลาที่เด็กๆ จะชอบมากเพียงเพราะเหตุผลที่ว่านี้ หลังจากที่เราเล่นเกมคณิตคิดในใจหรืออาจจะเล่นเกมบัซซ์ไปสักรอบแล้ว เราจะเริ่มทำโจทย์ทักษะแบบใดแบบหนึ่งสำหรับคาบนั้น ไม่ว่าจะเป็นโจทย์ง่ายๆ อย่างการบวก หรือซับซ้อนอย่างพีชคณิต ผมมักจะสอนทักษะก่อนแล้วให้เด็กลองพยายามทำโจทย์เองสัก 10-15 ข้อ สมมุติว่าผมสอนเรื่องการบวก ก่อนที่ผมจะให้โจทย์เด็ก ผมจะเขียนโจทย์อีกข้อหนึ่งบนกระดาน

63 +
28


ก.
ข.
ค.
ง.

เรฟ:   เอาละนักเรียนทุกคน สมมุติว่านี่เป็นแบบทดสอบสแตนฟอร์ด 9 ซึ่งเราทุกคนต่างรู้ดีว่ามันจะเป็นตัวกำหนดอนาคตของเธอไม่ว่าจะเป็นความสุข ความสำเร็จ และจำนวนเงินฝากในธนาคารของพวกเธอ(เด็กหัวเราะคิกคัก) ใครตอบได้บ้าง?
ทุกคน:  91
เรฟ: ดีมาก ลองเอาเลข 91 มาวางไว้ข้างข้อ ค. ใครอยากจะบอกครูบ้างว่าข้อ ก. จะเป็นตัวอะไรดี?
ไอเซล:  35
เรฟ:  เยี่ยมมาก!  ทำไมต้องเป็น  35  ล่ะไอเซล?
ไอเซล: สำหรับเด็กเอาไปลบแทนที่จะเอาไปบวก
เรฟ: ใช่แล้ว ใครมีคำตอบที่ผิดสำหรับข้อ ข. บ้าง?
เควิน:  81 ครับ  สำหรับคนที่ลืมทดเลข
เรฟ: ถูกต้องอีกแล้ว  ดูซิว่าครูมีนักสืบหัวเห็ดที่สามารถหาคำตอบข้อ ง.  ได้ไหม?
พลอ: 811 เป็นไงครับ สำหรับเด็กที่บวกอย่างเดียวโดยไม่ทด

เวลาเด็กห้อง 56 ทำข้อสอบแบบมีตัวเลือก ถ้ามีโจทย์ปัญหาอยู่ 20 ข้อ พวกเขาจะมองมันเป็นโจทย์ปัญหาที่มี 80 ข้อ หน้าที่ของพวกเขาคือค้นหาคำตอบที่ถูกต้อง 20 ข้อ และคำตอบที่ไม่ถูกอีก 60 ข้อ มันน่าขำสุดๆ เวลาได้ยินเสียงเด็กๆ ที่กำลังทำแบบทดสอบข้อสอบมาตรฐานคณิตศาสตร์อยู่ในห้อง เสียงที่ได้ยินบ่อยที่สุดจะเป็นเสียงหัวเราะคิดคักเบาๆ เมื่อเด็กๆ จับผิดอะไรได้บางอย่าง

เด็กๆ ชอบเอาชนะข้อสอบ จึงอดหัวเราะชอบใจไม่ได้เมื่อหากับดักเจออันแล้วอันเล่า

จึงไม่น่าแปลกใจที่ เรฟ เอสควิทได้รับการยกย่องและรางวัลมากมาย อาทิ
– Disney National Outstanding Teacher of the Year Award
– รางวัล Sigma Beta Delta Fellowship จากมหาวิทยาลัย John Hopkins
– รางวัล “Use Your Life Award” เป็นเงิน 100,000 ดอลลาร์สหรัฐ จากโอปราห์ วินฟรีย์
– รางวัล “As You Grow Award” จากนิตยสนิตยสาร,
– Parents Mag-zine zine เหรียญเชิดชูเกียรติ
– National Medal of Arts Natio และเครื่องราชอิสริยาภรณ์จากสมเด็จพระราชินีนาถจากเอลิซาเบธที่ 2

นอกจากนี้เขายังได้เขียนหนังสือเรื่อง “Teach Like Yo Your Hairs on Fire”หนังสือที่หนังสือพิมพ์นิวยอร์กไทมส์ ยกให้เป็นหนังสือที่ปลุกกระแสการ “ปฏิรูปวิธีการจัดการศึกษาของเด็ก ๆ ในอเมริกา” และ bestseller วิธีการจัดการศึกษาของเด็ก ๆ ในปี 2007

คำนิยมท้ายเล่ม..

“หนังสือเล่มนี้เขียนเล่าเรื่อง(storytelling) จึงมีพลังมาก เป็นหนังสือว่าด้วยวิธีการและศิลปะในการจัดให้นักเรียนได้เรียนรู้อย่างลึกและเชื่อมโยง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรียนจากการลงมือฝึก”
ศาสตราจารย์ นพ. วิจารณ์ พานิช

“(หนังสือเล่มนี้) คือ ตัวจุดประกายแรงใจเพื่อเอาชนะหลากหลายปัญหาของครูโดยแท้ ครูที่หมดไฟ หมดกำลังใจ มองไม่เห็นทางสู้ปัญหา ต้องอ่านหนังสือเล่มนี้”
ดร. วรากรณ์ สามโกเศศ

“ความมุ่งมั่นเพียรพยายามของครูคนหนึ่งที่จะเข้าใจ เข้าถึง และพัฒนานักเรียนอย่างจริงจัง การให้ความสำคัญและยึกมั่นในหลักการที่ว่านักเรียนเป็นศูนย์กลางของการเรียนการสอนอย่างแท้จริง ต่างหากที่เป็นหัวใจของเรื่องราวทั้งหมด”
ศรีวิการ์ เมฆธวัชชัยกุล

“ครูเรฟ เอสควิท มีวิธีการเขียนที่น่าสนใจติดตาม มีวิธีสอนที่ลึกซึ้ง มีเทคนิคใหม่ๆ ที่น่านำมาปรับปรุงใช้กับบริบทของไทย”
มานิจ สุขสมจิตร

ขอบคุณหนังสือเล่มนี้ที่ทำให้ผมรู้จักความเป็นครูดียิ่งขึ้นมาอีก การเป็นครูไม่ได้สอนเพียงความรู้ให้กับลูกศิษย์เท่านั้น การสอนคนให้เป็นคนนั้นมีคุณค่ายิ่งเสียกว่าอีก สอนให้ลูกศิษย์เป็นคนที่มีคุณภาพและพร้อมด้วยคุณธรรม มีความเมตตาสงสาร เห็นคุณค่าและการเชื่อมโยงของทุกๆ สรรพสิ่งในอนาคตภายภาคหน้า ช่วยพัฒนาท้องถิ่นและประเทศชาติ นั่นคือ “ครูเพื่อศิษย์” ที่แท้จริง

ดาวน์โหลดหนังสือ จาก สสค. คลิก
อ่านต้นฉบับได้ที่ : http://krunongkala.blogspot.com/2012/02/56-teach-like-your-hairs-on-fire-mehods.html#ixzz3AS7hiWDR
Under Creative Commons License: Attribution

ที่มา/เขียนโดย : ครูป้อม คนล่าฝัน

เรื่องอื่นๆที่น่าสนใจ

Back to top button