ข่าวการศึกษา

ม.44 คำสั่ง คสช. ที่ 38/2559

สารบัญ (ทางลัด )

นายกรัฐมนตรี ใช้มาตรา 44 ออกคำสั่งเพิ่มเติมขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการในภูมิภาค หลังพบปัญหาต้องตีความอำนาจ การแต่งตั้ง อกศจ. อนุกรรมการ และคณะทำงานใน กศจ.

วันนี้( 13 ก.ค.) นพ.กำจร ตติยกวี ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 12 ก.ค.ที่ผ่านมา พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 44ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. 2557 ลงนามคำสั่ง คสช.ที่ 38/2559เรื่อง แก้ไขเพิ่มเติมคำสั่งหัวหน้าคสช. ที่10/2559และคำสั่งหัวหน้าคสช. ที่ 11/2559 โดยมีสาระสำคัญว่าตามที่มีคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 10 /2559 เรื่อง การขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการในภูมิภาค ลงวันที่ 21 มี.ค.พ.ศ.2559 และ คำสั่งหัวหน้าคสช. ที่ 11/2559เรื่อง การบริหารราชการของกระทรวงศึกษาธิการในภูมิภาค ลงวันที่ 21 มี.ค.พ.ศ.2559 นั้น ปรากฏว่ายังมีข้อขัดข้องในการดำเนินการจึงแก้ไขเพิ่มเติมคำสั่ง ดังนี้

ติดตามข่าวอื่น ๆ ได้ที่เพจ : https://www.facebook.com/rukkroo

ข้อ 1 ให้ยกเลิกความใน (7) ของข้อ2 ของคำสั่งหัวหน้าคสช. ที่10 /2559 เรื่อง การขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการในภูมิภาค ลงวันที่ 21 มีนาคม พุทธศักราช 2559 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(7) แต่งตั้งคณะอนุกรรมการศึกษาธิการจังหวัดตามข้อ 8”

ข้อ 2 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (9) ของข้อ2 ของคำสั่งหัวหน้าคสช. ที่ 11/2559 เรื่อง การขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการในภูมิภาค “(9) กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการบริหารจัดการการศึกษาในภูมิภาคเพื่อให้การดำเนินการตามคำ สั่งนี้มีความชัดเจนและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น”

ข้อ 3ให้ยกเลิกความใน (7) ของข้อ 7 ของคำสั่งหัวหน้าคสช. ที่ 10/2559 เรื่อง การขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการในภูมิภาค และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน  “(7) เสนอคณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการในภูมิภาค เพื่อแต่งตั้งคณะอนุกรรมการศึกษาธิการจังหวัดตามข้อ 8”

ข้อ 4ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (7/1) ของข้อ7ของคำสั่งหัวหน้าคสช. ที่ 10/2559 เรื่อง การขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการในภูมิภาค “(7/1) แต่งตั้งคณะอนุกรรมการหรือคณะทำงานตามความจำเป็น โดยคำนึงถึงวงเงิน งบ ประมาณที่ได้รับ ความคุ้มค่า และความประหยัด เพื่อช่วยเหลือการปฏิบัติงานของ กศจ. ในส่วนที่มิใช่การปฏิบัติหน้าที่ของคณะอนุกรรมการศึกษาธิการจังหวัดตามข้อ 8 วรรคหนึ่ง”

ข้อ 5 ให้ยกเลิกความในข้อ 8ของคำสั่งหัวหน้าคสช. ที่ 10/ 2559 เรื่อง การขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการในภูมิภาค  และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน  “ข้อ 8 ให้ กศจ. เสนอคณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ในภูมิภาค เพื่อแต่งตั้งคณะอนุกรรมการศึกษาธิการจังหวัด เรียกโดยย่อว่า “อกศจ.” ทำหน้าที่ช่วยเหลือ หรือกลั่นกรองงานเกี่ยวกับการบรรจุ การแต่งตั้ง การโยกย้าย การดำเนินการทางวินัย การกำหนดวิทยฐานะ หรือการกำหนดสิทธิประโยชน์ต่างๆ ของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในจังหวัดให้แก่ กศจ. ให้ อกศจ. ตามวรรคหนึ่ง ประกอบด้วย 1. กรรมการใน กศจ. จำนวนหนึ่งคน เป็นประธานอนุกรรมการ 2. กรรมการใน กศจ. จำนวนสองคน เป็นอนุกรรมการ 3.ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาหรือผู้อำนวยการสถานศึกษาในจังหวัด นั้น จำนวนสองคน เป็นอนุกรรมการ 4.ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวนไม่เกินสามคน เป็นอนุกรรมการ 5.ศึกษาธิการจังหวัด เป็นอนุกรรมการและเลขานุการ กรณีมีความจำเป็น กศจ. อาจเสนอแต่งตั้งข้าราชการในสำนักงานศึกษาธิการจังหวัด หรือสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาในจังหวัดจำนวนไม่เกินสองคนเป็นผู้ช่วย เลขานุการได้”

ข้อ 6ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของข้อ3 ของคำสั่งหัวหน้าคสช. ที่ 11/2559 เรื่อง การบริหารราชการของกระทรวงศึกษาธิการในภูมิภาค และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน  “ข้อ3ให้ มีศึกษาธิการภาค เป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการ พนักงานราชการ และลูกจ้าง ในสำนักงานศึกษาธิการภาค  ขึ้นตรงต่อรัฐมนตรีว่าการศธ. โดยอาจให้มีรองศึกษาธิการภาคเพื่อช่วยเหลืองานศึกษาธิการภาคก็ได้”

ข้อ 7 ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของข้อ 5 ของคำสั่งหัวหน้าคสช.ที่ 11/2559 เรื่อง การบริหารราชการของกระทรวงศึกษาธิการในภูมิภาคและให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 5 ให้มีศึกษาธิการจังหวัด เป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการ พนักงานราชการ และลูกจ้าง ในสำนักงานศึกษาธิการจังหวัด อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของศึกษาธิการภาค โดยอาจให้มี รองศึกษาธิการจังหวัดเพื่อช่วยเหลืองานศึกษาธิการจังหวัดก็ได้”

นพ.กำจร กล่าวด้วยว่า คำสั่งนี้ ออกมา เพื่อให้การทำงานมีความชัดเจน ว่า อำนาจ การแต่งตั้งอกศจ. อนุกรรมการ และคณะทำงาน ในกศจ. เป็นอำนาจของคปภ. และให้ศธภ. ขึ้นตรงต่อรัฐมนตรีว่าการศธ. โดยตรง เนื่องจากที่ผ่านมา มีการตีความในเรื่องนี้ จนทำให้เกิดความขัดแย้ง ทำให้การทำงานไม่เกิดความต่อเนื่อง.

ดาวน์โหลดไฟล์

เรื่องอื่นๆที่น่าสนใจ

Back to top button